วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ประวัติศาสตร์สังคม-วัฒนธรรม สยามประเทศไทย ในสุวรรณภูมิ ที่เมืองอู่ทอง

"กาลเมื่อก่อนนั้น
ก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน
ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด"

เมื่อครั้งกระโน้นมีสัตว์อยู่ก่อนแล้ว เช่น ควาย ฯลฯ ต่อมาควายแก่เฒ่าตายเป็นซากอยู่นาน้อยอ้อยหนู มีต้นหมากน้ำเต้าปุงงอกออกจากซากรูจมูกควายที่ตายแล้ว
หมากน้ำเต้าปุงเติบโตขึ้น มีลูกมีผลขนาดใหญ่ ข้างในหมากน้ำเต้าปุงมีฝูงคนแน่นขนัดอยู่ยัดเยียดเบียดเสียดกันวุ่นวาย

ผีปู่ตนหนึ่งเอาเหล็กแหลมเผาไฟแทงทะลุเนื้อหมากน้ำเต้าปุง ผู้คนฝูงหนึ่งทะลักไหลออกมา ครั้นเอาเหล็กสิ่วแทงอีก ผู้คนอีกฝูงหนึ่งก็ไหลทะลักออกมาอีก คนทั้งหมดล้วนเป็นพี่น้องกันแต่นั้นมา

มนุษย์เริ่มแรก
ในดินแดนสยาม

บริเวณที่เป็นประเทศไทยทุกวันนี้ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่าสยาม นับเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมนุษย์หลายเผ่าพันธุ์ปะปนอาศัยอยู่ด�วยกันมาช้านานนับล้านนับแสนนับหมื่นปีมาแล้ว

หลักฐานยืนยันความเก่าแก่ คือซากชีวิตที่ติดประทับกับหินผา และบรรดาเครื่องมือหิน รวมทั้งชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ที่หลงเหลืออยู่ใต้ดินบ้าง ตามเถื่อนถ้ำบ้าง กระจัดกระจายทั่วไป

มนุษย์ดึกดำบรรพ์เหล่านี้ยังชีพด้วยการร่อนเร่ลัดแลงแสวงหาอาหารตามธรรมชาติ เพราะยังไม่รู้จักปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ต่างพเนจรไปตามลำธารห้วยหนองคลองบึงน้อยใหญ่ ไม่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน เพราะยังไม่รู้จักสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย

เกือบหมื่นปีมาแล้ว มนุษย์ดึกดำบรรพ์ยังร่อนเร่พเนจร แสวงหาอาหารตามธรรมชาติ เช่น หัวกลอย หัวเผือก หัวมัน ฯลฯ แต่บางกลุ่มเริ่มหยุดสัญจรร่อนเร่ รู้จักเอาข้าวป่ามากินเป็นอาหาร แล้วรู้จักพักพิงอยู่ตามเพิงผาและเถื่อนถ้ำ

รู้จักทำภาชนะดินเผาอย่างง่ายๆ ขึ้นใช้เก็บใส่อาหาร ภาชนะบางชิ้นมีลวดลายคล้ายใบไม้หรือเปลือกไม้ที่ใช้ห่อหุ้มไว้เมื่อปั้นดินเหนียวก่อนตากแห้ง ครั้นเอาใบไม้หรือเปลือกไม้ออกจึงมีลวดลายเหล่านั้นประทับอยู่กับพื้นผิวภายนอก

เมื่อมีผู้ล้มหายตายจากก็มีพิธีทำศพ เอาคนตายไปฝังดิน ตกแต่งซากศพด้วยดินสีแดง แล้วเอาสิ่งของเครื่องใช้บางอย่างฝังรวมไปด้วย เช่น ภาชนะดินเผา ฯลฯ

ชุมชนหมู่บ้านยุคแรก
ครั้นต่อมาราว ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว มนุษย์ดึกดำบรรพ์บางพวกบางเผ่ารวมกลุ่มตั้งหลักแหล่งเป็นชมรมหมู่บ้านขึ้นตามวิถีธรรมชาติเป็นบางท้องถิ่น แล้วค่อยๆ มีมากขึ้นในที่ต่างๆ กัน

คนพวกนี้รู้จักปลูกสร้างที่อยู่อาศัยเป็นเครื่องผูก มีเสาสูง รู้จักปลูกข้าว ทำนาน้ำท่วม เลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ฯลฯ แต่งเครื่องมือหินด้วยการขัดผิวให้เรียบ ทำภาชนะใช้สอยด�วยดินเผา แล้วมีเครื่องรางประดับร่างกาย เช่น ลูกปัดดินเผา ลูกกระพรวนดินเผา ฯลฯ และมีผู้หญิงเป็นหมอผีทำหน้าที่หัวหน้าเผ่าพันธุ์

พันธุ์ข้าวสมัยแรกๆ เป็นพันธุ์ข้าวป่าเมล็ดป้อม อยู่ในตระกูลข้าวเหนียว

เริ่มรู้จักถลุงโลหะ
หลังจากนั้นเมื่อราว ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว คนกลุ่มหนึ่งที่มีหลักแหล่งบริเวณที่ราบผืนเล็กๆ ในหุบเขา ละแวกริมลำน้ำแควน้อยกับแควใหญ่ (จังหวัดกาญจนบุรี) ทำภาชนะดินเผาหลายรูปแบบอย่างชำนิชำนาญ มีแบบผิวสีดำกับแบบสามขา มีเครื่องมือจับปลาด้วย แล้วมีการติดต่อกับคนกลุ่มอื่นๆ ที่อยู่ใกล้ทะเล ลงไปทางใต้ถึงแหลมมลายู กินสัตว์ทะเลเป็นอาหาร เช่น หอย ฯลฯ

ช่วงเวลาไล่เลี่ยต่อจากนั้น คนบางกลุ่มมีความรู้ก้าวหน้าขึ้นจนสามารถถลุงโลหะ แล้วเอามาทำเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เบ็ดตกปลา หอก ฯลฯ พบมากที่บ้านเก่า (จังหวัดกาญจนบุรี) บ้านเชียง (จังหวัดอุดรธานี)

โลหะสำคัญครั้งนั้นคือสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกหรือตะกั่ว อีกอย่างหนึ่งคือเหล็ก ซึ่งมีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติ

เครื่องมือสัมฤทธิ์ที่สำคัญคือมโหระทึก บางแห่งเรียกฆ้องกบ ฆ้องบั้ง กลองทอง (แดง) กลองกบ ฯลฯ ถือเป็นลักษณะเฉพาะของภูมิภาคอุษาคเนย์ เพราะมีแพร่หลายกระจายไปทั่วผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ ตั้งแต่เหนือสุดที่มณฑลยูนนาน จนถึงใต้สุดที่หมู่เกาะอินโดนีเซีย ซึ่งนับเป็นอุษาคเนย์ทั้งหมด เมื่อราว ๔,๐๐๐-๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

เหล็กและเกลือ
ช่วงเวลา ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว มีการถลุงเหล็ก ทำเครื่องมือเครื่องใช้อย่างกว้างขวางเกือบทั่วไปหมด ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวย้ายหลักแหล่งไปมา เพื่อหาบริเวณที่มีแร่ธาตุและทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ เช่น เหล็ก และเกลือ แหล่งที่มีเหล็กและเกลืออยู่มากที่สุดคือ รอบๆ ทุ่งกุลาร้องไห้ (ในเขตอีสานใต้) จึงมีผู้คนจากที่อื่นเคลื่อนย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานถาวรเพื่อถลุงเหล็กและต้มเกลือ เป็นเหตุให้มีประชากรเผ่าพันธุ์ต่างๆ หนาแน่นกว่าเดิม ในจำนวนนี้มีพวกพูดตระกูลภาษาลาว-ไทยจำนวนหนึ่งเคลื่อนย้ายมาจากดินแดนฟากตะวันออกของแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของจีน เช่น มณฑลกวางสี-กวางตุ้ง และทางเหนือของเวียดนามปัจจุบันด้วย

เส้นทางเคลื่อนย้าย
"ทางบก-ทางทะเล"
อุษาคเนย์ส่วนที่เป็นผืนแผ่นดินใหญ่มีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุด ถือเป็นแกนของภูมิภาค
ผืนแผ่นดินใหญ่�อุษาคเนย์มีพื้นที่กว้างขวาง โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร และความหลากหลายทางชีวภาพ แต่มีผู้คนชนเผ่าเหล่ากอตั้งหลักแหล่งทำมาหากินกระจัดกระจายไม่มากนัก จึงเปิดที่ว่างจำนวนมากให้กลุ่มชนหลากหลายจากที่ต่างๆ ทั้งใกล้เคียงและห่างไกลเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนตั้งแต่ราว ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว

การเคลื่อนย้ายไม่ใช่การอพยพยกโขยง แต่มีลักษณะเคลื่อนไหวไปๆ มาๆ ทำให้เกิดความสัมพันธุ์ระหว่างที่ไปและที่มาอย่างต่อเนื่อง โดยมิได้ละทิ้งหลักแหล่งแห่งหนต้นเค้าดั้งเดิม

สิ่งที่ตามมาหรือติดมากับการเคลื่อนย้ายหรือเคลื่อนไหว คือระบบความเชื่อและวัตถุสิ่งของ ซึ่งมีหลักฐานสำคัญยืนยันคือกลองสัมฤทธิ์ที่เรียกมโหระทึกอันเป็นสัญลักษณ์ของพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ เชื่อว่าทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลที่มนุษย์ต้องการ แลวยังเปนเครื่องมือสำคัญแสดงสถานภาพของบุคคลสำคัญที่เป็นหัวหนาเผ่าพันธุ์ (Chiefdom) นั้นๆ

การเคลื่อนไหวย้ายหลักแหล่งดังกล่าวเข้ามาสู่บริเวณที่เป็นประเทศไทยไม่ได้มีทางเดียว แต่มีทั้งทางบกและทางทะเล ตลอดเวลา นับแต่ช่วงเวลา ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว สืบจนสมัยหลังๆ อย่างต่อเนื่องยาวนานมาก

ทางบก มาจากทุกทิศทาง โดยเฉพาะจากทางเหนือ (แถบมณฑลยูนนาน) และทางตะวันออก (แถบมณฑลกวางตุ้ง-กวางสี และภาคเหนือของเวียดนาม) เข้าสู่บริเวณที่ราบสองฝั่งแม่น้ำโขง แล้วต่อเนื่องไปที่อื่นๆ อีก

ทางทะเล มาจากทางตะวันตก ทางใต้ และทางตะวันออก โดยเฉพาะจากทางตะวันออก (แถบกวางตุ้ง-กวางสี-เวียดนาม) เดินเรือเล็กเลียบชายฝั่งเข้าสู่อ่าวไทยถึงบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

นับถือผีบูชางูและกบ
ระบบความเชื่อหรือ "ศาสนา" ของคนยุคนี้คือผี หรืออำนาจเหนือธรรมชาติ แต่ละชาติพันธุ์ชนเผ่าเหล่ากอมีผีต่างกันบ้าง ที่เชื่อร่วมกันก็มีงูและกบ

งู เป็นสัตว์มีพิษร้ายและรุนแรงเกินกว่าคนจะแก้ไขได้ ประกอบกับภูมิภาคนี้เป็นเขตร้อนชื้น มีสัตว์เลื้อยคลานชุกชุมโดยเฉพาะงู คนเลยกลัวงู แล้วบูชางูเป็นสิ่งมีอำนาจเหนือธรรมชาติ มีหลักแหล่งอยู่ในเรี้ยวในรูลึกลงไปในแผ่นดินที่ภายหลังเรียกบาดาล ที่นั่นเป็นแหล่งน้ำมหึมาที่งูเป็นเจ้าของ แล้วบันดาลให้ผุดไหลออกมาจากใต้ดินเรียกน้ำซึมน้ำซับ หรือซำ อำนวยความอุดมสมบูรณ์ให้ผู้คนในชุมชน เป็นเหตุให�คนทั้งหลายเซ่นวักงูเป็นผีศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์เดชคุ้มครองป้องกันและบันดาลความอุดมสมบูรณ์

ฉะนั้นภาชนะดินเผาบางใบมีลายเป็นรูปงู และภาชนะดินเผาจำนวนมากมีลายเขียนสีสัญลักษณ์ของน้ำ เช่น ที่บ้านเชียง (จังหวัดอุดรธานี) แล้วทำสืบเนื่องต่อมาจนถึงสมัยหลังๆ เช่น ยุคทวารวดีซึ่งพบทั่วไป ภายหลังต�อมาค่อยๆ รวมถึงสัตว์ร้ายและรุนแรงอื่นๆ เช่น จระเข้ ฯลฯ

กบ เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มักพบเมื่อฝนตกทุกครั้งไป คนทั้งหลายเลยเชื่อว่ากบคือผู้นำน้ำจากท้องฟ้าให้ไหลหล่นลงมา อันเป็นสิ่งที่มนุษย์ในเขตร้อนชื้นต้องการเมื่อยามแล้งน้ำ ผู้คนก็ยกย่องกบเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์เดชบันดาลความอุดมสมบูรณ์ให้บังเกิดแก่ชุมชนได้ ก็พากันเซ่นวักกบทั้งหลายเป็นผีสำคัญแต่นั้นมา แล้วยังรวมไปถึงคางคก (คันคาก) ที่เป็นสัตว์กลุ่มเดียวกันด้วย จึงเกิดพิธีกรรมบูชากบ คือบูชายัญ แล้วมีการละเล่นเต้นฟ้อนด้วยการเอาโคลนมาทาเนื้อตัวแข้งขาให้มีลวดลายอย่างกบ แล้วทำท่าย่อขาแข้งเหมือนกบ พร้อมกับเซ่นวักเครื่องมือทำมาหากิน เช่น มีดพร้า ขวาน ไถ เป็นต้น

ฉะนั้นเครื่องมือสัมฤทธิ์ เช่น มโหระทึกจึงมีรูปกบเป็นสัญลักษณ์สำคัญประดับหน้ากลอง ฯลฯ และภาพเขียนบนเพิงผากับผนังถ้ำมีรูปคนทำท่าคล้ายกบ จะพบทั่วไปทั้งในบริเวณประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง แต่ที่มีมากและยิ่งใหญ่ที่สุดอยู่ในมณฑลกวางสี ทางตอนใต้ของจีน ซึ่งเป็นหลักแหล่งของกลุ่มชนพูดตระกูลภาษาไทย-ลาว เมื่อ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

ภาพเขียนสี ผู้คนยุคนี้มีสถานที่เป็นศูนย์กลางประกอบพิธีกรรมร่วมกัน ทั้งในระดับชุมชนทั่วไปและระดับท้องถิ่นกว้างและไกล สถานที่นั้นมักเป็นเพิงผาหรือโถงถ้ำมีลานกว้างพอสมควรอยู่ตรงนั้น หรืออยู�ใกล้เคียงก็ได้ เพื่อชุมนุมทำพิธีกรรมร่วมกัน แล้วร่วมกันเขียนภาพด้วยสีธรรมชาติจากยางไม้และดินสีเป็นรูปต่างๆ เช่น คน หมา กบ วัว ควาย ปลา ต้นข้าว แต่มีมากคือมือ เขียนด้วยสีแดง เรียกว่ามือแดง

ทั้งหมดเป็นภาพสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำมาหากิน ถือเป็นการเซ่นวักอำนาจเหนือธรรมชาติเพื่อขอความอุดมสมบูรณ์ เช�น ผาแต้ม (อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี) ประตูผา (ที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง) ภูปลาร้า (อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี) เขาจันทน์งาม (อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา) ถ้ำตาด้วง (อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี) เขาสามร้อยยอด (อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) เป็นต้น
บริเวณที่พบมากคือเทือกเขาภูพาน ตั้งแต่สุดแนวทางทิศตะวันออกไปจนสุดแนวทางทิศตะวันตก

หัวหน้าชุมชนเป็นผู้หญิง
ในยุคนี้ชุมชนหมู่บ้านแต่ละท้องถิ่นกระจายอยู่ทั่วทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ มีลักษณะกว้างๆ คล้ายคลึงกัน คือมีชุมชนขนาดใหญ่เป็นศูนย์กลาง และมีชุมชนขนาดเล็กเป็นบริวาร บางชุมชนเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน แต่บางชุมชนมีชาติพันธุ์ต่างกัน เพราะมีการเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งหลักแหล่งบริเวณอุดมสมบูรณ์แห่งเดียวกันอยู่เรื่อยๆ ตลอดเวลาไม่มีวันจบสิ้น ทำให้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ บางชุมชนมีการขยายตัวออกไปกว้างขวางกว่าเดิมอย่างต่อเนื่อง ชุมชนอย่างนี้สมัยหลังต่อมาเรียกว่าเมือง มีขนาดและความก้าวหน้าไม่เท่ากัน แต่ต่างเกี่ยวดองติดต่อไปมาหาสู่สัมพันธ์กัน

ชุมชนขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางมีผู้หญิงเป็นหัวหน้า ปกครองดูแลควบคุมไปถึงชุมชนที่เป็นบริวารด้วย ผู้ที่เป็นหัวหน้าภายหลังต่อมาอีกนานได้ชื่อเรียกว่าเจ้าเมือง นับเป็นหน่วยทางการเมืองยุคแรกเริ่มที่ผู้คนรวมตัวกันขึ้นมา

สิทธิพิเศษของหัวหน้าชุมชนอย่างนี้ คือมีที่ฝังศพของตระกูลอยู่บริเวณสำคัญ เช่น เนินดินศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน ฯลฯ สิ่งของที่พบจำนวนมากพร้อมโครงกระดูกบริเวณที่ฝังศพของโคตรตระกูลหัวหน้าชุมชน จึงมีบางอย่างเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ เช่น มโหระทึก แผ่นหินกลมๆ รูปหยักๆ คล้ายจักร ฯลฯ

หัวหน้าหรือเจ้าเมืองของชุมชนขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้ทะเล คือผู้มีสิทธิ์และอำนาจค้าขาย แลกเปลี่ยนสิ่งของกับคนต่างถิ่นและชาวต่างชาติที่มาทางทะเล เริ่มจากการค้าขนาดเล็กๆ แคบๆ ระยะทางสั้นๆ เลียบชายฝั่ง แล้วค่อยๆ เติบโตขยายกว้างขวางห่างไกลออกไปเรื่อยๆ ทั้งทางตะวันออก คือ เวียดนาม จีน และทางตะวันตก คือ ชมพูทวีป (อินเดีย) กับหมู่เกาะ ฯลฯ

นอกจากนั้นยังมีการค้าขายแลกเปลี่ยนสิ่งของกับชุมชนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ภายใน ตามเส้นทางแม่น้ำลำคลองและช่องเขาทางบกทุกทิศทาง เช่น ขึ้นไปถึงดินแดนเตียน หรือเทียน (ในเขตมณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของจีน) ลุ่มน้ำคง (หรือสาละวิน ในภาคเหนือของพม่า) ลุ่มน้ำดำ-แดง (ในภาคเหนือของเวียดนาม) ฯลฯ


สุวรรณภูมิในสยาม
บริเวณเมืองอู่ทอง
หรือแม่กลอง-ท่าจีน

ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว พ่อค้าชาวชมพูทวีป (อินเดีย) ที่เดินทางมาค้าขายแลกเปลี่ยนสิ่งของสินค้ากับหัวหน้าชุมชนในดินแดนอุษาคเนย์ ต่างมีความมั่งคั่งจากการค้าขายทางทะเล จึงมีคำบอกเล่ากล่าวขวัญถึงอุษาคเนย์ว่าเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารและมีแร่ธาตุสำคัญ เลยพากันเรียกภูมิภาคนี้ว่าสุวรรณทวีปบ้าง สุวรรณภูมิบ้าง ตั้งแต่ครั้งนั้นสืบมา

นอกจากค้าขายแลกเปลี่ยนสิ่งของสินค้าแล้ว คนพื้นเมืองโดยเฉพาะกลุ่มผู้นำยังรับเอาอารยธรรมจากชมพูทวีปคืออินเดียมาใช้ในชุมชนท้องถิ่นด้วย

ชาวอินเดียโบราณที่เดินเรือทะเลเลียบชายฝั่งเข้ามาติดต่อค้าขายกับชาวสุวรรณภูมิ นอกจากพ่อค้าที่มั่งคั่งแล้วยังมีชนวรรณะอื่นและกลุ่มอื่นด้วย คือ กษัตริย์ พราหมณ์ และนักบวช ฯลฯ ด้วยความต้องการต่างๆ กันไป บางพวกเข้ามาตั้งหลักแหล่งชั่วคราวไปๆ มาๆ แต่บางพวกตั้งถิ่นฐานถาวรด้วยเหตุผลหลายอย่าง เช่น ลี้ภัยทางการเมือง โจรสลัด เป็นต้น จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของคนพื้นเมืองก็มี บางพวกแต่งงานกับคนพื้นเมืองแล้วสืบโคตรตระกูลมีลูกหลานกลายเป็นคนพื้นเมืองไปก็ไม่น้อย

หลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วราวๆ ๓๐๐ ปี หรืออาจกล่าวได้ว่าระหว่าง พ.ศ. ๒๐๐-๓๐๐ มีพระสงฆ์ ๒ รูป คือ พระโสณะกับพระอุตตระ อาศัยเรือพ่อค้าเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกที่ดินแดนสุวรรณภูมิ ส่งผลให้พระพุทธศาสนาเริ่มประดิษฐานลงในภูมิภาคนี้เป็นครั้งแรก ตรงบริเวณที่อยู่ระหว่างลำน้ำแม่กลอง-ท่าจีน (ปัจจุบันคือเขตอำเภออู่ทอง-จังหวัดสุพรรณบุรี กับบ้านดอนตาเพชร เขตอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี)

พร้อมกันครั้งนั้นพวกพราหมณ์ก็เข้ามาเผยแผ่ศาสนาฮินดูด้วย ทำให้ชุมชนท้องถิ่นใกล้ทะเลบางแห่งรับพุทธศาสนา บางแห่งรับศาสนาฮินดู แต่มีบางชุมชนแรกรับพุทธแล้วเปลี่ยนเป็นฮินดู บางชุมชนแรกรับฮินดูแล้วเปลี่ยนเป็นพุทธ เป็นเหตุให้มีหลายแห่งรับทั้งพุทธและฮินดูปะปนอยู่ด้วยกันในชุมชนเดียวกัน

เหตุที่เป็นอย่างนั้น เพราะการจะรับหรือไม่รับสิ่งใด เป็นอำนาจหรือดุลยพินิจวิจารณญาณของหัวหน้าหรือเจ้าเมืองที่เป็นชนชั้นปกครอง ไม่ใช่อำนาจของพ่อค้าจากชมพูทวีป หรือนักบวช หรือพราหมณ์ ที่นำศาสนามาเผยแผ่


เริ่มมีชนชั้นในสังคม

เมื่อรับแบบแผนอารยธรรมอินเดียแล้ว ความแตกต่างของผู้คนเริ่มเห็นชัดเจน โดยแบ่งเป็นชนชั้นปกครองหรือชนชั้นสูง กับชนชั้นถูกปกครองหรือชนชั้นต่ำ

ชนชั้นสูง คือหัวหน้าหรือเจ้าเมือง เป็นกลุ่มแรกที่เลือกสรรรับอารยธรรมอินเดีย เช่น ศาสนา และสิ่งที่ต้องมากับศาสนา คือตัวอักษร ภาษา วรรณคดี ฯลฯ รวมเรียกว่าศิลปวิทยาการทั้งมวล ใช้ตัวอักษรปัลลวะ (ของทมิฬอินเดียใต้) สลักจารึกลงบนแผ่นอิฐหรือหิน

แต่ที่สำคัญคือระบบกษัตริย์ ที่เป็นประโยชน์ทางการปกครอง เป็นเหตุให้ชุมชนท้องถิ่นต่างๆ เติบโตก้าวหน้าขึ้นเป็นเมือง จากขนาดเล็กเป็นขนาดใหญ่โตขึ้น ในที่สุดก็เป็นรัฐ หรือแคว้น บรรดาหัวหน้าชาติพันธุ์กลายเป็นกษัตริย์ เปลี่ยนชื่อหรือพระนามตามอย่างกษัตริย์ในอินเดีย แม้ชื่อบ้านนามเมืองและสถานที่ก็เอาแบบจากอินเดียด้วย

ส่วนชนชั้นต่ำ ยังคงมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ที่ต่อเนื่องมา คือนับถือระบบผี ซึ่งมีอำนาจเหนือธรรมชาติ เพราะยังไม่รู้จักพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูที่สมัยแรกยังเป็นสมบัติของกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น

นาค คือคนพื้นเมือง
ชาวอินเดียที่เอาศาสนาเข้ามาเผยแผ่ให้ชาวสุวรรณภูมิ เรียกคนพื้นเมืองด้วยคำอารยันว่านาค หมายถึงเปลือย หรือแก้ผ้า เพราะเห็นคนพื้นเมืองมีเครื่องนุ่งห่มน้อยชิ้นจนเกือบเปลือยเปล่าเหมือนงูเงี้ยวที่เป็นสัตว์ร้ายทั่วไป

การเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าไปสู่คนพื้นเมืองท้องถิ่นต่างๆ ย่อมยากลำบากและเกิดการขัดแย้งมากมาย เพราะระบบความเชื่อผีดั้งเดิมยังแข็งแรง แล้วยังมีปัญหาการสื่อสารด้วยภาษาที่ต่างกันด้วย เป็นเหตุให้สำนึกของคนแต่ก่อนบันทึกเหตุการณ์ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาทรมานนาค และปราบนาคตามท้องถิ่นหลายท้องที่ จนบรรดานาคทั้งหลายยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา แล้วน้อมรับทำหน้าที่ปกป้องพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาสืบมา

เมื่อคนพื้นเมืองผู้เลื่อมใสออกบวชเป็นภิกษุ จึงเกิดประเพณีบวชนาคอย่างพื้นเมืองขึ้นมา เช่น มีการทำขวัญนาค เป็นต้น ซึ่งไม่มีในพุทธบัญญัติและไม่เคยมีในอินเดีย แสดงว�าระบบความเชื่อของพื้นเมืองยังมีอิทธิพลจนพุทธศาสนาต�องยอมรับเข�ามาผสมผสานในพิธีกรรมของพุทธศาสนา

เส้นทางคมนาคม
ค้าขายแลกเปลี่ยน
กับจีน-อินเดีย

ระหว่าง พ.ศ. ๔๐๐-๕๐๐ พวกจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น ขยายการค้าแผ่เข้ามาสุวรรณภูมิทั้งทางบกและทางทะเล ทำให้สุวรรณภูมิกลายเป็นดินแดนที่อยู่กึ่งกลางระหว่างตะวันตก คืออินเดีย กับตะวันออก คือจีน เป็นเหตุให้ปริมาณการค้าขายแลกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้น มีผู้คนชาติพันธุ์อื่นๆ จากที่ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกเคลื่อนย้ายเข้ามาติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนมากขึ้นกว่าแต่ก่อน กับบางพวกเข้ามาตั้งหลักแหล่งถาวร กลายเป็นคนพื้นเมืองต่อไปจำนวนไม่น้อย

ความเคลื่อนไหวทางการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนครั้งสำคัญนี้ ทำให้มีเมืองท่าหรือสถานีการค้าทางทะเลเกิดขึ้น ๒ แห่งสำคัญ คือ คลองท่อม หรือตะโกลา (Takola ที่ควนลูกปัด อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่) ทางอ่าวพังงา ฝั่งทะเลตะวันตก กับออกแก้ว (Oc-eo) หรือฟูนัน (Funan) (ที่ปากแม่น้ำโขง ในเวียดนาม) ทางฝั่งทะเลตะวันออก

ในช่วงเวลานี้เอง บริเวณสุวรรณภูมิลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก็เกิดบ้านเมืองสำคัญขึ้นทางฟากตะวันตกของอ่าวไทย (หรือสมัยหลังต่อมา คือฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา) ตรงที่เป็นดินแดนระหว่างลำน้ำแม่กลองกับลำน้ำท่าจีน (ปัจจุบันมีลำน้ำสาขา เรียกลำน้ำจระเข้สามพัน) รู้จักกันต่อมาภายหลังในชื่อเมืองอู่ทอง (อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี)

เมืองอู่ทองนี่เองที่ชนชั้นสูงอันมีเจ้าเมืองเป็นผู้นำเลือกรับพระพุทธศาสนาแล้ว ก็น่าจะเริ่มสร้างสถูปเจดีย�เป็นครั้งแรกและแห่งแรกขึ้นที่นี่ หลังจากนั้นจึงมีการสร้างแผ่กระจายกว้างขวางออกไปยังที่อื่นๆ อย่างสืบเนื่องในภายหลัง (เช่น ที่นครปฐมโบราณ)

ชาดก-ไตรภูมิ
และรามายณะ-มหาภารตะ

ชนชั้นสูงของเมืองอู่ทองยุคแรกรับอารยธรรมจากอินเดีย เรียนรู้คัมภีร์สำคัญทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายพราหมณ์ (ฮินดู)
คัมภีร์ฝ่ายพุทธ ได้แก่ พระสูตร และชาดกหรือพุทธศาสนานิทาน เห็นได้จากจารึกและภาพปูนปั้นสมัยต่อไป
คัมภีร์ฝ่ายพราหมณ์ (ฮินดู) ได้แก่ มหากาพย์ ๒ เรื่อง คือ มหาภารตะกับรามายณะ เห็นได้จากชื่อบ้านเมืองและพระนามกษัตริย์สมัยต่อไป
คัมภีร์เหล่านี้จะสืบทอดสู่ยุคต่อไปดังปรากฏอยู่ในภาพปูนปั้นประดับศาสนสถาน และชื่อกษัตริย์ ตลอดจนชื่อรัฐที่ได้จากคัมภีร์เหล่านั้น สืบมาจนถึงปัจจุบัน

เริ่มต้นยุค "ทวารวดี"
สยามประเทศ

เมื่อถึงเรือน พ.ศ. ๑๐๐๐ และหลังจากนั้นต่อมา ภูมิภาคอุษาคเนย์ที่อยู่ใกล้ทะเลก็เต็มไปด้วยบ้านเมืองน้อยใหญ่ที่รับอารยธรรมอินเดีย แล้วค่อยๆ เติบโตก้าวหน้าขึ้นเป็นรัฐนับถือศาสนาต่างๆ กัน ทั้งพราหมณ์ (ฮินดู) และพุทธ

ระยะเริ่มแรกมีชุมชนบ้านเมืองเล็กๆ อยู่ก่อน แล้วค่อยๆ เติบโตขึ้นเป็นชุมชนสถานีการค้า เช่น บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งด้านตะวันตกทางเขตจังหวัดระนอง-พังงา กับด้านตะวันออกทางเขตจังหวัดปัตตานี-สงขลา-นครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี-ชุมพร แล้วข้ามไปทางจันทบุรี-ปราจีนบุรี

ที่ลึกเข้าไปในที่ราบลุ่มภาคกลางก็มีทางลุ่มน้ำป่าสัก บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์-ลพบุรี ที่เติบใหญ่ขึ้นเป็นเมืองศรีเทพ (อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์) และทางลุ่มน้ำลพบุรี มีเมืองจันเสน (อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์) เมืองละโว้ (อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี) แล้วเชื่อมโยงผ่านช่องเขาเข้าไปถึงบริเวณที่ราบสูงทางต้นน้ำมูน-ชี ในเขตจังหวัดนครราชสีมา-ชัยภูมิ ต่อเนื่องไปทางปลายน้ำที่สบกับแม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งล้วนเป็นเขตที่มีผู้คนตั้งหลักแหล่งอยู่ก่อนหน้านั้นราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

จนกระทั่งหลัง พ.ศ. ๑๑๐๐ ก็เกิดรัฐหรือบ้านเมืองใหญ่โตขึ้น แต่บางแห่งที่เติบโตมาก่อนต้องร่วงโรยลง เพราะเส้นทางคมนาคมเปลี่ยนแปลงไป เช่น ลำน้ำตื้นเขินจนเรือสินค้าขนาดใหญ่เข้า-ออกไม่สะดวก และยังมีเหตุอื่นๆ อีกหลายอย่าง จึงต้องย้ายศูนย์กลางความเจริญไปอยู่ที่ใหม่ เช่น เมืองนครชัยศรี (ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม) มีความสำคัญขึ้นมาแทนเมืองอู่ทอง ส่วนเมืองละโว� (ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี) มีความสำคัญขึ้นมาแทนเมืองศรีเทพ

ช่วงเวลานี้เองที่เอกสารจีนระบุว่ามีรัฐขนาดใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาคอุษาคเนย์ เริ่มจากทางตะวันออกของอินเดีย มีรัฐศรีเกษตร (ในเขตพม่า) ถัดไปทางตะวันออกเป็นรัฐหลั่งยะสิวกับโถโลโปตี (ในเขตไทย) ถัดไปทางตะวันออกเป็นอีสานปุระ (ในเขตกัมพูชา) และถัดไปทางตะวันออกเป็นจามปา (ในเขตเวียดนาม)

เฉพาะในเขตไทยมี ๒ รัฐใหญ่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาภาคกลาง คือ

หลั่งยะสิว มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครชัยศรี (หรือนครปฐมโบราณ ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม) ทางฟากตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเมืองขนาดใหญ่โตที่สุดของภูมิภาคในยุคเดียวกัน ยกย่องนับถือพุทธศาสนาเป็นสำคัญ มีสถูปใหญ่เป็น "มหาธาตุหลวง" (ที่ต่อมาคือพระปฐมเจดีย์) นิยมสร้างสถูปสถานตลอดจนธรรมจักรและกวางหมอบ โดยเฉพาะเสาธรรมจักรมีรูปสิงโตตามแบบงานช่างสมัยพระเจ้าอโศกของอินเดีย

โถโลโปตี ตรงกับชื่อทวารวดี มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้ (หรือลพบุรี ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี) ทางฟากตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา ยกย่องนับถือศาสนาพราหมณ์เป็นสำคัญ แต่ก็มีพุทธศาสนาปะปนอยู่ด้วย

รัฐเหล่านี้มั่งคั่งและใหญ่โตขึ้นมาเพราะ "ผูกขาด" ทำการค้ากับจีนและอินเดียเป็นสำคัญ แต่ทางตะวันตกก็เชื่อมโยงต่อเนื่องจากอินเดียไปถึงบ้านเมืองรอบอ่าวเปอร์เซียทางตะวันออกกลางด้วย เช่น เมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria)

นอกจากมีรัฐใหญ่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังมีรัฐเกิดขึ้นไล่เลี่ยหลังจากนั้นอีกทางลุ่มน้ำอื่นๆ เช่น รัฐลุ่มน้ำปิง-วังเรียกหริภุญไชย (จังหวัดลำพูน) รัฐลุ่มน้ำโขงที่ภายหลังเรียกเวียงจัน (ในลาว) รัฐลุ่มน้ำมูนที่ภายหลังเรียกพิมาย และศรีจนาศะ (ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์-นครราชสีมา) รวมทั้งรัฐลุ่มน้ำปัตตานีที่ภายหลังเรียกยะรัง (จังหวัดปัตตานี) ฯลฯ

ช่วงเวลานี้เองที่บ้านเมืองและแว่นแคว้นทางลุ่มน้ำเจ้าพระยาเริ่มปรับปรุงตัวอักษรปัลลวะจากอินเดียใต้ที่ใช้มาแต่เดิม ให้เป็นตัวอักษรพื้นเมืองอย่างใหม่ขึ้น นักปราชญ์สมัยหลังสมมุติชื่อเรียกว่าอักษรทวารวดี แต่มีประชากรส่วนหนึ่งพูดภาษาตระกูลไทย-ลาวคือพวกสาม (ต่อมาคือสยาม)

รัฐละโว้
สืบยุค "ทวารวดี"

ถึงหลัง พ.ศ. ๑๕๐๐ จีนคิดค้นความรู้ทางการเดินเรือด้วยเทคโนโลยีก้าวหน้าได้ดีขึ้น จึงปรับเปลี่ยนวิธีการค้าขายแลกเปลี่ยนสิ่งของสินค้า จากเดิมที่รอให้พ่อค้าและนักเสี่ยงโชคจากบ้านเมืองทางสุวรรณภูมิเดินทางเข้าไปค้าขายด้วย ก็ส่งเรือใหญ่แล่นเลียบชายฝั่งมาค้าขายเองอย่างกว้างขวาง

ผลจากการเปลี่ยนแปลงของจีน ทำให้บ้านเมืองขนาดเล็กมีโอกาสติดต่อค้าขายกับจีนโดยตรง ทำให้รัฐใหญ่ที่เคยเป็น "คนกลาง" คุมการค้าต้องเสื่อมโทรมลงทีละน้อยๆ รัฐใหญ่บางแห่งร่วงโรยลดความสำคัญ แต่บ้านเมืองขนาดเล็กที่เคยอาศัยรัฐใหญ่ก็เติบโตขึ้นแทนที่ เช่น เกิดรัฐเจนลีฟูขึ้นภายในทางลุ่มน้ำปิง (เขตจังหวัดนครสวรรค์) แต่รัฐทวารวดีทางลุ่มน้ำลพบุรี-ป่าสัก ปรับเปลี่ยนเชื้อวงศ์ชนชั้นสูงแล้วได้ชื่อรัฐใหม่ว่าละโว้ หรือกัมโพช ที่เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกับเมืองพระนครบริเวณทะเลสาบในกัมพูชา

ด้วยสภาพแวดล้อมและความจำเป็นทางศาสนา-การเมือง ทำให้รัฐที่อยู่ใกล้ทะเลต้องปรับปรุงตัวอักษรทวารวดีที่ใช้มาก่อน ให้มีลักษณะเฉพาะขึ้นมาอย่างน้อย ๒ พวก คืออักษรมอญของกลุ่มชนพูดภาษามอญ และอักษรขอมของกลุ่มชนพูดภาษาเขมร สิ่งนี้เองที่ทำให้เกิดอาณาจักรใหญ่ ๒ แห่ง คือ รามัญประเทศ ยกย่องพุทธศาสนาเถรวาท ทางทะเลอันดามัน (ในพม่า) กับกัมพุชเทศ ยกย่องศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ทางทะเลสาบ (ในกัมพูชา)

ในยุคนี้มีหลักฐานโบราณคดีระบุชัดเจนว่าเริ่มมีพันธุ์ข้าวต่างประเทศ เมล็ดเรียว แพร่หลายในกลุ่มชนชั้นสูง ต่อมาเรียกข้าวเจ้า แต่ประชากรส่วนใหญ่ยังกินข้าวเหนียว

ละโว้-อโยธยา
และรัฐ "เครือญาติ" สยาม

ครั้นหลัง พ.ศ. ๑๗๐๐ มีความเปลี่ยนแปลงทางศาสนา-การเมืองครั้งใหญ่ เพราะอาณาจักรกัมพูชาเปลี่ยนศาสนาจากยกย่องศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) มายกย่องนับถือพุทธศาสนามหายานเป็นใหญ่ มีศูนย์กลางอยู่ที่ศรียโสธรปุระ หรือนครธม แล้วส่งผลให้บ้านเมืองและรัฐเครือญาติทางลุ่มน้ำมูน-ชีกับลุ่มน้ำเจ้าพระยาต้องยอมรับนับถือมหายานตามไปด้วย ดังจะเห็นพุทธสถานมหายานยุคนี้อยู่ทั่วไป เช่น ที่ปรางค์สามยอด (ละโว้-ลพบุรี) ปราสาทกำแพงแลง (เพชรบุรี) ปราสาทเมืองสิงห์ (กาญจนบุรี) ฯลฯ

แต่ความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ทางศาสนา-การเมืองครั้งนี้ก็ก่อให้เกิดความขัดแย้งด้วย เพราะฝ่ายที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาทไม่อาจยอมรับได้ โดยเฉพาะพวกที่สืบตระกูลไทย-ลาว หรือสยามมาแต�เดิม เลยเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น เปลี่ยนราชวงศ์และย้ายศูนย์กลาง ดังกรณีรัฐละโว้ย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่อโยธยาศรีรามเทพนคร ทางริมแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนทางลุ่มน้ำยมก็เกิดรัฐสุโขทัยขึ้น พร้อมกับรัฐสุพรรณภูมิ (ที่สืบเนื่องพุทธเถรวาทจากอู่ทอง-นครชัยศรี) ทางลุ่มน้ำท่าจีน ฯลฯ รวมทั้งรัฐนครศรีธรรมราชทางภาคใต้ โดยยกย�องพุทธศาสนาเถรวาทตามประเพณีที่มีมาแต�ครั้งสุวรรณภูมิและทวารวดี

จนถึงเรือน พ.ศ. ๑๘๐๐ เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ คือกาฬโรค (Black Dead) หรือโรคห่า ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นก่ายกอง มีผลให้พระเจ้าแผ่นดินในบ้านเมืองและแว่นแคว้นที่เกิดโรคระบาดต้องขจัดปัดเป่าสิ่งเหล่านั้นให้หมดไป วิธีดีที่สุดคือสถาปนาบ้านเมืองเสียใหม่ด้วยพิธีกรรมความเชื่อทางศาสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สมเด็จพระรามาธิบดีสถาปนาพระราชวังอันเป็นศูนย์กลางของราชธานีอโยธยาศรีรามเทพเสียใหม่ แต่ยังอยู่ใกล้เคียงบริเวณเดิม เป็นต้น แล้วภายหลังต่อมารู้จักกันในชื่อพระนครศรีอยุธยา หรือกรุงศรีอยุธยา

หลังจากนั้นก็เกิดการรวมตัวของบ้านเล็กเมืองน้อยขึ้นเป็นรัฐ "เครือญาติ" อิสระ มีพระเจ้าแผ่นดินของตัวเองทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยยังไม�มีที่ใดมีอำนาจเป็น "อาณาจักร" (มีเมืองใดเมืองหนึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งเดียว แล้วแผ่อำนาจทางการเมืองเหนือบ้านเมืองอื่นๆ) แต่ต่างมีความสัมพันธ์ฉันเครือญาติด้วยการ "แต่งงาน" เชื่อมโยงวงศ์วานว่านเครือซึ่งกันและกัน

แว่นแคว้นหรือรัฐน้อยใหญ่ในเวลานั้นมีดังนี้

ภาคเหนือ มีรัฐโยนก ต่อมาขยายตัวเป็นรัฐล้านนา คู่กันมากับรัฐล้านช้าง (ในลาวเหนือ) นอกจากนั้นยังต่อเนื่องคาบเกี่ยวกับรัฐไทยใหญ่ทางลุ่มแม่น้ำสาละวิน (ทางตอนเหนือของพม่า) ด้วย

ภาคอีสาน มีรัฐศรีโคตรบูร ทางลุ�มแม�น้ำโขง ศูนย์กลางอยู่เวียงจัน แต่ควบคุมดินแดนเข้ามาถึงบางส่วนของอีสาน ส่วนทางลุ่มน้ำมูนมีบ้านเมือง เช่น เมืองพิมาย เมืองพนมรุ้ง ฯลฯ ต่อเนื่องถึงเมืองโคตรบอง เมืองเรอแดว (ทางตอนใต้ของลาว)

ภาคใต้ มีรัฐนครศรีธรรมราชกับรัฐปัตตานี เป็นสำคัญ

ภาคกลาง แบ่งเป็น ๒ ตอน คือ ตอนบนกับตอนล่าง

ตอนบน มีรัฐสุโขทัย ควบคุมพื้นที่ลุ่มน้ำปิง-ยม-น่าน ลงมาถึงเมืองพระบาง (นครสวรรค์) มีเส้นทางคมนาคมและการค้าเส้นหนึ่งไปทางทิศตะวันตกสู่อ่าวเมาะตะมะทางบ้านเมืองมอญ-รามัญประเทศ

ตอนล่าง มี ๒ ฟาก คือ ฟากตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา กับฟากตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา

ฟากตะวันตก มีรัฐสุพรรณภูมิ ควบคุมพื้นที่ตั้งแต่เมืองสรรค์บุรี (ชัยนาท) ลงไปถึงเมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี ฯลฯ เอกสารจีนเรียกพวกนี้ว่าเสียม หรือเสียน หมายถึงสยาม

ฟากตะวันออก มีรัฐอโยธยาศรีรามเทพ ควบคุมพื้นที่เดิมของรัฐละโว้ เอกสารจีนเรียกพวกนี้ว่าหลอหู หรือหลอฮก และเกี่ยวดองเป็นเครือญาติใกล้ชิดสนิทสนมกับอาณาจักรขอมแห่งเมืองพระนคร ในกัมพูชา

กรุงศรีอยุธยา
ราชอาณาจักรสยามแห่งแรก

บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีรัฐละโว้-อโยธยาศรีรามเทพอยู่ทางฟากตะวันออก กับรัฐสุพรรณภูมิอยู่ทางฟากตะวันตก ในกลุ่มชนชั้นสูงต่างเป็น "เครือญาติ" กันทางการแต่งงาน ทำให้มีการรวมตัวทางการเมืองอย่างหลวมๆ ดังเอกสารจีนเรียกชื่อรัฐอย่างรวมๆว่าเสียมหลอหู หรือเสียมหลอ แต่บางครั้งก็ขัดแย้งแย่งชิงอำนาจจนต้องแยกเป็นรัฐ "เครือญาติ" อิสระจากกัน

จนถึงหลัง พ.ศ. ๑๙๐๐ พระเจ้าแผ่นดินจากรัฐสุพรรณภูมิ (ที่เมืองสุพรรณบุรี) รวมกับรัฐสุโขทัย และมีจีนอุดหนุนอยู่ด้วย ใช้กำลังไพร่พลยึดอำนาจจากพระเจ้าแผ่นดินเชื้อสายราชวงศ์ละโว้ที่ปกครองอโยธยาศรีรามเทพอยู่ขณะนั้น แล้วขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินมีอำนาจกว้างไกลเหนือรัฐสุพรรณภูมิ รัฐนครศรีธรรมราช รัฐสุโขทัย รัฐอโยธยาศรีรามเทพ จนเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศทั้งปวงว่าเป็นราชอาณาจักรสยามอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก แล้วขนานนามอาณาจักรว่ากรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา แสดงรากเหง้าว่าสืบจากกรุงทวารวดีอันศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นที่รู้จักทั่วไปในชื่อกรุงศรีอยุธยา รุ่งเรืองขึ้นมาเพราะตั้งอยู่บนศูนย์กลางเส้นทางคมนาคม-การค้าของสุวรรณภูมิมาแต่เดิม โดยมีรัฐ "เครือญาติ" อิสระอยู่โดยรอบ คือ รัฐพม่ารามัญ รัฐล้านนา รัฐล้านช้าง-เวียงจัน รัฐจำปาสัก รัฐกัมพูชา

กรุงศรีอยุธยาล่มสลายลงเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้วเกิดศูนย์กลางราชอาณาจักรสยามแห่งใหม่ขึ้นที่กรุงธนบุรี แผ่อำนาจเหนือรัฐล้านนา รัฐล้านช้าง-เวียงจัน ฯลฯ จนถึง พ.ศ. ๒๓๒๕ สถาปนากรุงรัตนโกสินทร�ขึ้นใหม่ แต่บรรดานานาประเทศทั้งปวงรู้จักทั่วไปว่าสยาม หรือกรุงสยาม เขียนอย่างตะวันตกว่า SIAM กลุ�มประชากรทุกเผ่าพันธุ์ล้วนเป็นชาวสยามที่สืบมาแต�ดั้งเดิมดึกดำบรรพ�ครั้งสุวรรณภูมิหลายพันป มาแล้ว

จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนชื่อจากสยามเป็นประเทศไทย เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า THAILAND บรรดาชาวสยามก็กลายเป“นคนไทยสืบถึงปัจจุบัน

ที่มา สุจิตต์ วงษ์เทศ " เรื่องจากปก" ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 25 ฉบับที่ 03 วันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2547

ไม่มีความคิดเห็น: