วันศุกร์ที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ລາຍສືໄທຍ

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยหรือตัวหนังสือไทยขึ้นเมื่อมหาศักราช ๑๒๐๕ (พุทธศักราช ๑๘๒๖) นับมาถึงพุทธศักราช ๒๕๒๖ ได้ ๗๐๐ ปีพอดี ในระยะเวลาดังกล่าว ชาติไทยได้สะสมความรู้ทั้งทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ และได้ถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นสืบต่อกันมา โดยอาศัยลายสือไทยของพรองค์ท่านเป็นส่วนใหญ่ ก่อนสมัยสุโขทัย ชาติไทยเคยรุ่งเรืองอยู่ที่ไหนอย่างไร ไม่มีหลักฐานยืนยันให้ทราบแน่ชัด แต่เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้นแล้ว มีศิลาจารึกและพงศาวดารเหลืออยู่เป็นหลักฐานยืนยันว่า ชาติไทยเคยรุ่งเรืองมาอย่างไรบ้าในยุคสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ในโอกาสครบรอบ ๗๐๐ ปีนี้ คนไทยทุกคนจึงควรน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านโดยพร้อมเพรียงกัน

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีข้อความปรากฎว่า ?เมื่อก่อนลานสืไทนี๋บ่มี ๑๒๐๕ สก ปีมแมพ่ขุนรามคํแหงหาใคร่ใจในใจแล่ใศ่ลายสืไทนี๋ สายสืไทนี๋ จี่งมีเพื่อขุนผู๋น๋นนใศ่ไว๋? หา แปลว่า ด้วยตนเอง (ไทยขาวยังใช้อยู่) ใคร่ในใจ แปลว่า คำนึงในใจ (จากพจนานุกรมไทยอาหม) ข้อความที่อ้างถึงแสดงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยแบบที่จารึกไว้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖

ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ ได้กล่าวไว้ในตำนานอักษรไทย ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ว่า คำที่ใช้ในจารึกมีคำ นี้ อยู่ต่อคำ ลายสือ ทุกแห่ง (สามแห่ง) หมายความว่า หนังสือไทยอย่างนี้ไม่มีอยู่ก่อน มิได้ประสงค์จะทรงแสดงว่า หนังสือของชนชาติไทยพึ่งมีขึ้นต่อเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ เซเดส์ ยังเห็นว่า พวกไทยน้อยซึ่งมาอยู่ทางลำน้ำยม ชั้นแรกเห็นจะใช้อักษรไทยซึ่งได้แบบมาจากมอญ (ตำนานอักษรไทย หน้า ๑ หน้า ๖ และหน้า ๑๑) ต่อมาขอมมีอำนาจปกครองสุโขทัย พวกไทยคงจะศึกษาอักษรขอมหวัดที่ใช้ในทางราชการ แล้วจึงแปลอักษรเดิมของไทยมาเป็นรูปคล้ายตัวอักษรขอมหวัด ถ้าประสงค์จะสมมติว่าอักษรไทยเดิมเป็นอย่างไร ควรจะถือเอาอักษรอาหม (ใช้ในอัสสัม) กับอักษรไทยน้อย (ใช้ในอีสานและประเทศลาว) นี้เป็นหลัก นายฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้เขียนเรื่อง ?สันนิษฐานเทียบการเขียนอักษรไทยกับอักษรขอมในสมัยพ่อขุนรามคำหง? ไว้ และได้สันนิษฐานว่า อักษรพ่อขุนรามคำแหงทุกตัวดัดแปลงนาจากอักษรขอมหวัด

หนังสือจินดามณีเล่ม ๑ ของหอสมุดแห่งชาติเลขที่ 11 เป็นสมุดไทยดำ มีข้อคามเหมือนกับจินดามณีฉบับพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งนายขจร สุขพานิช ได้มาจากกรุงลอนดอน แต่คลาดเคลื่อนน้อยกว่า มีข้อความว่า ?อนึ่งมีในจดหมายแต่ก่อนว่า ศกราช ๖๔๕ มแมศก พญาร่วงเจ้า ได้เมืองศรีสัชนาไลยได้แต่งหนังสือไทย แล จ ได้แต่งรูปก็ดี แต่งแม่อักษรก็ดีมิได้ว่าไวแจ้ง อนึ่งแม่หนังสือแต่ ก กา กน ฯ,ฯ ถึงเกอยเมืองขอมก็แต่งมีอยู่แล้ว เห็นว่าพญาร่วงเจ้าจะแต่งแต่รูปอักษรไทย? แท้จริงพ่อขุนรามคำแหงมิได้ทรงแต่งแต่รูปอักษรไทยเท่านั้น แต่ยังได้ทรงเปลี่ยนอักษรวิธีการเขียนภาษาไทยให้ดีขึ้นกว่าเดินอีกปลายประการ ดังจะได้กล่าวถึงต่อไปข้างหน้านี้
มีหนังสือไทยเดิมก่อนลายสือไทยหรือไม่

ผู้เขียนเคยบรรยายไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ว่า ถ้าลายสือไทยนี้บ่อมี หมายความว่า หนังสือไทยชนิดนี้ไม่มี แต่คงจะมีหนังสือไทยแบบอื่นอยู่ก่อนแล้ว ในจารึกหลักเดียวกันนี้ได้กล่าวถึงเมืองสุโขทัย ๑๔ ครั้ง ทุกครั้งใช้คำ เมืองสุโขทัยนี้ จะตีความว่า มีเมืองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว แล้วจึงมาตั้งเมืองสุโขทัยขึ้นใหม่กระนั้นหรือ ผู้เขียนเห็นว่า นี้เป็นแต่คำชี้เฉพาะ ถ้าเทียบกับภาษาอังกฤษก็คงจะตรงกับ the เท่านั้น มิได้หมายความว่า this เพราะฉะนั้น ที่ว่า ลายสือไทยนี้บ่มี คงมิได้หมายความว่ามีลายสือไทยอื่นอยู่แล้ว แต่ผู้เขียนยอมรับว่าอาจจะมีหนังสือของไทยอาหมเกิดขึ้นทางอัสสัมในเวลาใกล้เคียงกับการก่อกำเนิดตัวหนังสือในสุโขทัยก็เป็นได้ (หนังสือรวมการบรรยายเรื่องตัวอักษรไทย หน้า ๕๕)

ประวัติไทยอาหมปรากฏอยู่ในหนังสือบูราณยี คำว่า ยี อาจจะตรงกับ สือ ในลายสือ หรือรากศัพท์เดียวกับ จื่อ ซึ่งใช้อยู่ในภาคเหนือและภาคอีสาน แปลว่า จดจำ เช่นได้จื่อจำไว้ บูราณยีบอกประวัติผู้ครองราชย์มาตั้งแต่ยุคที่นิยมแต่งตำนานเป็นเทพนิยายลงมา ศักราชแรกที่กล่าวถึง คือ พ.ศ. ๑๗๓๓ ส่วนใหญ่เผ่าอื่นเริ่มมีประวัติเป็นหลักเป็นฐานไม่เก่าไปกว่ายุคไทยอาหม หากเก่ากว่านั้นขึ้นไป จะเป็นเรื่องเทพนิยายแบบพงศาวดารเหนือหรือตำนานเก่า ๆ ของเรา ซึ่งเกี่ยวกับปาฏิหาริย์เป็นส่วนมาก ประวัติศาสตจร์ไทยทุกเผ่ามาเริ่มจดเป็นหลักเป็นฐานในยุคพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนี้ ผู้เขียนจึงเห็นว่าตัวหนังสือไทยคงจะเกิดขึ้นต้นยุคสุโขทัยนี้เอง เมื่อมีตัวหนังสือใช้แล้วก็อาจจะจดเรื่องราวย้อนหลังขึ้นไปได้อีกสองสามชั่วคน

อีกประการหนึ่ง ไม่เคยมีผู้พบจารึกภาษาไทยก่อนยุคสุโขทัยขึ้นไปเลย จริงอยู่เป็นไปได้ว่า คนไทยอาจจะมีตัวอักษรอื่นใช้อยู่ก่อนแล้ว แต่เผอิญจารึกหายไปหมด หรืออาจจะเขียนไว้บนไม้ไผ่ หรือสิ่งอื่นที่ผุพังไปได้ง่ายก็เป็นได้ แต่ถ้ามีตัวอักษรอื่นอยู่ก่อนแล้ว ตัวอักษรแบบนั้นก็น่าจะปรากฏขึ้นที่ใดที่หนึ่ง เพราะดินแดนตั้งแต่อัสสัมถึงเวียดนามและจีนตอนใต้ถึงมลายูมีคนไทยอาศัยอยู่ทั่วไป ทำไมจึงไม่ปรากฏตัวอักษรแบบดังกล่าวเลย ไม่ว่าจะจารึกไว้ในรูปลักษณะใด ๆ ทั้งสิ้น

ตัวหนังสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแพร่หลายเข้าไปในล้านนา ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๖๒ วัดพระยืนว่า พระมหาสุมนเถรนำศาสนาพุทธนิกายรามัญวงศ์ หรือนิกายลังกาวงศ์เก่าเข้าไปในล้านนา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๒ และได้เขียนจารึกด้วยตัวหนังสือสุโขทัยไว้เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๔ ต่อมาตัวหนังสือสุโขทัยนี้ได้เปลี่ยนรูปร่าง และอักขรวิธีไปบ้างกลายเป็นตัวหนังสือฝักขาม และล้านนายังใช้ตัวหนังสือชนิดนี้มาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

เชียงตุงและเมืองที่ใกล้เคียงในพม่ามีศิลาจารึกอักษรฝักขาม ซึ่งดัดแปลงไปจากลายสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอยู่กว่า 10 หลัก เริ่มแต่ศิลาจารึกวัดป่าแดง พ.ศ. ๑๙๙๔ เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังมีจารึกที่เจดีย์อานันทะในพุกามเขียนด้วยตัวหนังสือสุดขทัย ประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๐?๑๙๔๐ อยู่หลักหนึ่ง

ในประเทศลาวมีจารึกเขียนไว้ที่ผนังถ้ำนางอันใกล้หลวงพระบางด้วยตัวอักษรสุโขทัย ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวหนังสือสมัยพระเจ้าลิไทย (พ.ศ. ๑๘๙๐?๑๙๑๑)

ไทยขาว ไทยดำ ไทยแดง เจ้าไทยในตังเกี๋ย ผู้ไทยในญวน และลาวปัจจุบันนี้ยังใช้ตัวอักษรที่กลายไปจากลายสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ถ้าคนไทยมีตัวอักษรไทยเดิมอยู่แล้ว ก็คงจะไม่ยอมรับลายสือไทยเข้าไปใช้จนแพร่หลายกว้างขวางไปในหลายประเทศดังกล่าวมาแล้ว เพราะการเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากของที่เคยชินแล้วทำได้ยากมาก เป็นต้นว่า เราเคยเขียนคำว่า ?น้ำ? บัดนี้ออกเสียเป็น ?น้าม? แต่ก็มิได้เปลี่ยนวิธีเขียนให้ตรงกับเสียง

ผู้เขียนเห็นว่า ในชั้นแรกเมื่อคนไทยมิได้เป็นชนชั้นปกครอง ก็จำเป็นจะต้องเรียนตัวหนังสือที่ทางราชการบ้านเมืองใช้อยู่ เพื่ออ่านประกาศของทางราชการให้เข้าใจ ถ้าจะประดิษฐ์ตัวหนังสือขึ้นใช้เอง จะไปบังคับใครให้มาเรียนหนังสือดังกล่าว เมื่อใดคนไทยได้เป็นชนชั้นปกครองขึ้น ก็น่าจะดัดแปลงตัวหนังสือ ที่ใช้กันอยู่ในถิ่นนั้นมาเป็นตัวหนังสือของไทย เช่น คนไทยในเมืองจีนคงดัดแปลงตัวหนังสือจีนมาใช้ คนไทยในล้านนาคงจะดัดแปลงตัวหนังสือมอญซึ่งนิยมใช้กันในถิ่นนี้มาก่อน ส่วนพ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็น่าจะดัดแปลงตัวหนังสือขอมซึ่งนิยมใช้กันอยู่แถวลุ่มน้ำเจ้าพระยามาแต่เดิม หากมีตัวอักษรไทยเดิมอยู่แล้ว พ่อขุนรามคำแหงมหาราชคงจะทรงใช้ตัวอักษรไทยเดิม หรือทรงดัดแปลงจากนั้นบ้างเล็กน้อยแทนที่จะดัดแปลงจากอักษรขอมเป็นส่วนใหญ่ แท้จริงนั้นมีเค้าเงื่อนอยู่ในพงศาวดารเหนือว่าพ่อขุนรามฯ ได้ทรงอาศัยนักปราชญ์ราชบัณฑิตที่เชี่ยวชาญตัวหนังสือชาติต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงไทย ยกเว้นแต่จีนเพราะจีนใช้หลักการเขียนหนังสือเป็นรูปภาพผิดกับหลักการเขียนเป็นรูปพยัญชนะและสระแบบของไทย รูปอักษรของพ่อขุนรามคำแหงคล้ายตัวหนังสือลังกา บังคลาเทศ ขอม และเทวนาครี ฯลฯ เป็นต้นว่า ตัว จ ฉ หันหน้าไปคนละทางกับอักษรขอม แต่หันไปทางเดียวกับตัวอักษรลังกาที่มีใช้อยู่ก่อนแล้ว

สมัยพ่อขุนรามคำแหงยังไม่มีไม้หันอากาศ แต่ใช้พยัญชนะตัวเดียวกันหรือวรรคเดียวกันเขียนติดกัน เช่น อนน แทน อัน และ อฏฐ แทน อัฏฐ

พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้น โดยมิได้ทรงทราบว่ามีตัวหนังสือไทยเดิมอยู่ก่อน ข้อพิสูจน์ข้อหนังคือ ไทยอาหมและไทยคำที่ (ขำตี้) ออกเสียงคำ อัน คล้ายกับคำ อาน แต่เสียงสระสั้นกว่า และออกเสียง อัก-อาก อังอาง อัด-อาด อับ-อาบ เหมือนกับตัวหนังสือของเราโดยออกเสียงคำตนสั้นกว่าคำหลังในคู่เดียวกัน แต่ออกเสียง อัว ว่า เอา เพราะถือหลักการที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า อัว คือ อาว ที่เสียงสระสั้นลง พ่อขุนรามคำแหงทรงใช้ อวา (คืออัว) เป็นสระ อัว แทนที่จะเป็นสระ เอา หากคนไทยเคยอ่าน อัว เป็น เอา ซึ่งถูกตามหลักภาษาศาสตร์มาแต่เดิมแล้วคงยากที่จะเปลี่ยนแก้ให้อ่านเป็น อัว ซึ่งขัดกับความเคยชิน ฉะนั้นจึงน่าเชื่อว่า พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยขึ้นโดยมิได้ทรงทราบว่ามีตัวหนังสือไทยเดิมอยู่ก่อนแล้ว

พ่อขุนมังรายมหาราช (เป็นพระนามที่ถูกต้องของพระยาเม็งราย) คงจะได้ดัดแปลงตัวอักษรมอญมากใช้เขียนหนังสือไทยในเวลาใกล้เคียง ดังตัวอย่างอักษรในจารึกลานทองสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๑๙

ส่วนไทยอาหมคงสร้างตัวหนังสือขึ้น ในระยะเวลาใกล้เคียงกับตัวหนังสือสุโขทัย ทั้งนี้เพราะคนไทยเริ่มจะสร้างอาณาจักรเป็นปึกแผ่นกว้างขวางออกไปในระยะนั้น อย่างไรก็ดี นักอ่านศิลาจารึกหลายท่านเชื่อว่า รูปตัวอักษรของไทยอาหมชี้ให้เห็นว่า อักษรไทยอาหมพึ่งเกิดใหม่หลังอักษรพ่อขุนรามคำแหงเป็นระยะเวลานานทีเดียว
คุณวิเศษของลายสือไทย

๑. ลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหราราชมีลักษณะพิเศษกว่าตัวอักษรของชาติอื่นซึ่งเป็นลูกศิษย์ของชาวอินเดียวกล่าวคือ ชาติอื่นขอยืมตัวหนังสือของอินเดียมาใช้โดยมิได้ประดิษฐ์พยัญชนะ และสระเพิ่มขึ้นให้พอกับเสียงพูดของคนในชาติ ยกตัวอย่างเช่น เขมรโบราณ เขียน เบก อ่านออกเสียงเป็น เบก แบก หรือ เบิก ก็ได้ ไทยใหญ่เขียน ปีน อ่านออกเสียเป็น ปีน เป็น หรือ แปน ก็ได้ เวลาอ่านจะต้องดูความหมายของประโยคก่อน จึงจะอ่านออกเสียให้ถูกต้อง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ตัวพยัญชนะสระอีกทั้งวรรณยุกต์ขึ้น เป็นต้นว่าได้เพิ่ม ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ สระอึ อือ แอ เอือ ฯลฯ ไม้เอก ไม้โท (ในรูปกากะบาท) จนทำให้สามารถเขียนคำไทยได้ทุกคำ
๒. อักขรวิธีที่ใช้ สามารถเขียน ตาก-ลม แยกออกไปจากตา-กลม ทำให้อ่านข้อความได้ถูกต้องไม่กำกวม กล่าวถือ ถ้าเป็นอักษรควบกล้ำให้เขียนติดกัน ส่วนตัวสะกดให้เขียนแยกห่างออกไป เช่น ตา-กลม เขียนเป็น ตา กลํ ส่วน ตาก-ลม เขียนเป็น ตา ก ลํ
๓. ตัวหนังสือแบบพ่อขุนรามฯ ยังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ นำสระมาเรียงอยู่ระดับเดียวกับพยัญชนะแบบเดียวกับตัวหนังสือของชาติตะวันตกทั้งหลาย น่าเสียดายที่สระเหล่านั้นถูกดึงกลับไปไว้ข้างบนตัวพยัญชนะบ้าง ข้างล่างบ้างในสมัยต่อมา ทั้งนี้เพราะคนไทยเคยชินกับวิธีเขียนข้างบนข้างล่างตามแบบขอมและอินเดีย ซึ่งเป็นต้นตำหรับดั้งเดิม ถ้ายังคงเขียนสระแบบพ่อขุนรามฯ อยู่ เราจะประหยัดเงินค่ากระดาษลงได้หนึ่งในสามทีเดียว เพราะทุกวันนี้จะต้องทิ้งช่องว่างระหว่างบรรทัดไว้เพื่อเขียนส่วนล่างของ ฏ ฐ สระ อุ อู วรรณยุกต์ และสระอือ รวมเป็นช่องว่างที่ต้องเตรียมไว้สี่ส่วนให้เขียนได้ไม่ซ้อนกัน ยิ่งมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ การเก็บข้อมูล และการค้นหาข้อมูลจะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายได้มหาศาล แต่ตัวอักษรไทยในปัจจุบันบรรทัดเดียวคอมพิวเตอร์จะต้องกวาดผ่านตลอดบรรทัดไปถึง ๔ ครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกกวาดพวกวรรณยุกต์ ครั้งที่สองกวาดพวกสระบน เช่น สระอี อึ ครั้งที่สามกวาดพวกพยัญชนะและครั้งที่สี่กวาดพวกสระล่าง คือ สระ อุ อู จึงทำให้เสียเวลาเป็นสี่เท่าของตัวอักษรของอังกฤษ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จะกวาดเพียงบรรทัดละครั้งเดียว ถ้าใช้อักขรวิธีแบบของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เครื่องคอมพิวเตอร์จะกวาดเพียงบรรทัดละสองครั้ง ลดเวลาและค่าใช้จ่ายลงได้กว่าครึ่ง ถ้ายิ่งดัดแปลงให้วรรณยุกต์ไปอยู่บรรทัดเดียวกับพยัญชนะเสียด้วย ก็จะลดค่าใช้จ่ายลงได้กว่าสี่เท่า
๔. ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของตัวหนังสือพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ พยัญชนะทุกตัวเขียนเรียงอยู่บรรทัดเดียวกัน ไม่มีตัวพยัญชนะซ้อนกันเหมือนตัวหนังสือของเขมร มอญ พม่า และไทยใหญ่ เช่น เขียน อฏฐ แทนที่จะเป็น อฏฐ เซเดย์ได้กล่าวไว้ว่า การที่พระองค์ได้ทรงแก้ไขตัวอักษรของชาวสุโขทัยให้เรียงเป็นแนวเดียวกันได้นั้นเป็นการสำคัญยิ่ง แลควรที่ชาวสยามในปัจจุบันนี้ จะรู้สึกพระคุณ และมีความเคารพนับถือที่พระองค์ได้ทรงจัดแบบอักษรไทยให้สะดวดขึ้น ข้อนี้ให้มาก อนึ่ง ในสยามประเทศทุกวันนี้การคิดแบบเครื่องพิมพ์ดีดและการพิมพ์หนังสือได้เจริญรุ่งเรือง เป็นประโยชน์ยิ่งในวิชาความรู้แลทางราชการนับว่าเพราะพ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงพระราชดำริเปลี่ยนรูปอักษรขอมและเรียงพยัญชนะเป็นแนวเดียวกันให้สะดวกไว้ ส่วนบรรดาประเทศที่ยังใช้วิธีซ้อนตัวพยัญชนะ เช่นประเทศเขมรและประเทศลาว การพิมพ์หนังสือของประเทศเหล่านั้นเป็นการยาก ไม่สู้จำเริญ แลยังไม้มีผู้ใดในชาตินั้น ๆ ได้คิดจะออกแบบพิมพ์ดีดสำหรับตัวอักษรของตน ๆ เลย (พ.ศ. ๒๔๖๘)
๕. ตัวอักษรทุกตัวสูงเท่ากัน หางจอง ศ ส ก็ขีดออกไปข้าง ๆ แทนที่จะสูงขั้นไปกว่าอักษรตัวอื่น ๆ หางของ ป และ ฝ สูงกว่าอักษรตัวอื่น ๆ เพียงนิดเดียว สระทุกตัวสูงเท่ากับพยัญชนะรวมทั้งสระ โอ ใอ และ ไอ ตัวอักษรแบบนี้เมื่อตีพิมพ์หางตัว ป และสระข้างล่าง ข้างบนจะไม่หักหายไปอย่างปัจจุบัน ไม่ต้องคอยตรวจซ่อมกันอยู่ตลอดเวลา
๖. พ่อขุนรามคำหงมหาราชทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยให้เขียนได้ง่ายและรวดเร็ว พยัญชนะแต่ละตัวต่อเป็นเส้นเดียวตลอด ในขณะที่ตัวหนังสือขอมต้องเขียนสองหรือสามเส้นต่อพยัญชนะตัวหนึ่ง
๗. ประการสุดท้าย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์รูปวรรณยุกต์ขึ้น ทำให้สามารถอ่านความหมายของคำได้ถูกต้องโดยไม่ต้องดูข้อความประกอบทั้งประโยค สมมติว่าเราเข้าใจภาษาไทยใหญ่เป็นอย่างดี แต่ถ้าจะอ่านภาษาไทยใหญ่ เขาเขียน ปีน คำเดียวอาจจะอ่านเป็น ปีน ปี่น ปี้น ปี๊น ปี๋น เป็น เป่น เป้น เป๊ เป๋น แปน แป่น แป้น แป๊น และ แป๋น รวมเป็น 15 คำ ถ้าไม่อ่านข้อความประกอบจะไม่ทราบว่าคำที่ถูกต้องเป็นคำใดกันแน่ แต่ตัวหนังสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อ่านได้เป็น ปีน แต่อย่างเดียว

ที่มา : ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร รวมบทความเรื่องภาษาและอักษรไทย กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร (๒๕๒๖)

วันจันทร์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ເວົ້າເຣື່ອງ "ສຍາມ, ໄທຍ, ໄທ ໃຫ້ຟັງ"

໑. ອາຍາຈັກອາຍຸທະຍານັ້ນ ເປັນອານາຈັກຂອງພວກ "ສຍາມ" ສະຖາປານາ ໒ ຄັ້ງ ຄື ພ.ສ ໑໘໙໓ ນັ້ນແມ່ນຣາມາທິບໍດີທີ ໑ (ອູ່ມອງ) ໄດ້ທຳການສະຖາປານາອານາຈັກ ອະໂຍທະຍາ ປ່ຽຍມາເປັນອາຍຸທຍາ ດ້ານຝັ່ງຕາເວັນອອກ (ສະໄໝດຽວກັບພຣະເຈົ້າຟ້າງຸ່ມຂອງເຮົາ).
໒. ສ່ວນສຸໂຂທັຍນັ້ນ ແມ່ນອານາຈັກຂອງໄທ(ບໍ່ມີໂຕ ຍ) ໃນປີ ພ.ສ ໑໗໘໑ ໂດຍຂຸນອິນທະຣາທິຕຍ໌ ແລະ ຂຸນບາງກາງທ້າວ, ຕໍ່ມາໃນ ພ.ສ ໑໘໒໒ ຂຸນຣາມຄຳແຫງກໍໄດ້ສະຖານປານາອີກ, ໃນປີ ພ.ສ ໑໙໒໑ ພຣະເຈົ້າທອງລັ່ນ ໄດ້ຍົກທັບໄປຕີເອົາ ສຸໂຂທັຍ ຂອງໄທ ໃນສະໄໝຂອງພຣະເຈົ້າ ໄສລືໄທ ສຸໂຂທັຍ ໄດ້ກາຍເປັນເມືອງຂຶ້ນຂອງອະຍຸທະຍາ (ສຍາມ) ເຫດການສອງອານາຈັກປ່ຽນແປງໄປຕາມເຫດການທາງປະຫວັດສາດ ໃນປີ ພ.ສ ໒໐໘໕ ແລະ ພ.ສ ໒໑໐໑ ທັງສອງອານາຈັກ ໄດ້ກາຍເປັນປະເທດຣາຊຂອງພະມ້າ ເລື້ອຍມາ ຈົນມາເຖິງປີ ພ.ສ ໒໓໑໐ ກໍເສັຍເອກຣາໃຫ້ພະມ້າອີກ ຈົນມາເຖິງສະໄໝພຣະເຈົ້າຕາກສິນ ໃນປີ ພ.ສ ໒໓໑໑ ກໍສະຖາປານາກຸງທົນບູຣີ ເປັນຣາຊະທານີ (ຮ່ວມສະໄໝກັບພຣະເຈົ້າສີຣິບຸນຍະສານ ລາວເສັຍເອກະຣາດໃຫ້ສຍາມ ໃນປີ ພ.ສ ໒໓໑໗ ໃນສະໄໝພຣະເຈົ້າສີຣິບຸນຍະສານນີ້ເອງ).
໓. ຕໍ່ມາໃນ ພ.ສ ໒໓໒໕ ພຣະເຈົ້າມະຫາກະສັດເສີກ ໄດ້ທຳການຣັດຖະປາຫານຂຶ້ນໃນກຸງທົນບູຣີ ຈັບເອົາພຣະເຈົ້າຕາກສິນປະຫານຊີວິດ ແລະ ຕັ້ງພຣະອົງເອງເປັນ "ພຣະພຸດທະຍອດຟ້າຈຸລາໂລກມະຫາ​ຣາຊ ຣ ໑) ແລະ ຍ້າຍນະຄອນຫຼວງຈາກບາງກອກ(ທົນບູຣີ)ແລ້ວຕັງກຸງເທບມະຫານະຄອນ ທີ່ຝັ່ງຕາເວັນອອກ, ສ້າງຕັ້ງອານາຈັກຂຶ້ນ ຊື່ວ່າ "ຣັດຕນະໂກສິນ" ໂດຍ ຖືຣືກຕາມພຣະແກ້ວມໍຣະກົດນັ້ນ. ທີ່ລາວສະໄໝນັ້ນກໍກົງກັບສະໄໝຂອງພຣະເຈົ້ານັນທະເສນ (ເປັນພຽງປະເທດຣາຊ ບໍ່ແມ່ນຫົວເມືອງຂຶ້ນ) ຈົນເຖິງສະໄໝພຣະເຈົາອະນຸວົງ(ໄຊເສດຖານທິຣາຊທີ ໓) ຄອງນະຄອນວຽງຈັນ ໃນປີ ພ.ສ ໒໓໔໗ ຈົນມາເຖິງປີ ພ.ສ ໒໓໖໙-໙໐ ລາວເສັຍເອກະຣາຊໃຫ້ແກ່ສຍາມໂດຍສິ້ນເຊິງ, ມາເຖິງຕອນນີ້ລາວກາຍເປັນ ຫົວເມືອງຂຶ້ນຂອງສຍາມເຕັມຕົວ.ໃນສະໄໝພຣະປິ່ນເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ ຣ ໓. ຕອນນີ້ຍັງຍັງຄົງຊື່ວ່າສຍາມຢູ່.
- ນັບແຕ່ນັ້ນມາສຍາມ ກໍໄດ້ວິວັດທະນາການຕາມຍຸກຂອງການລ່າອະນານິຄົມ ລາວເອງຍັງບໍ່ທັນເຄື່ອນໄຫວ້ໃນເວທີສາກົນເທົ່າທີ່ຄວນ ເພາະອຳນາດສ່ວນໃຫຍ່ຍັງຂຶ້ນກັບສຍາມ ຈົນມາເຖິງປີ ພ.ສ ໒໔໓໗ ລາວສ່ວນໜຶ່ງຂຶ້ນກັບຝຣັ່ງ ໃນສະໄໝພຣະຈຸນຈອມເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ ຣ.໕ ຕອນນີ້ ເຮົາຈະເຫັນວ່າຍັງເປັນປະເທດສຍາມຢູ່ ດັ່ງເຮົາຈະເຫັນສັນຍາຕ່າງທີ່ຝຣັ່ງທຳຂຶ້ນ ກ່ຽວກັບລາວຈະໃຫ້ຊື່ວ່າ "ສັນຍາຝຣັ່ງ-ສຍາມ" (ບໍ່ແມ່ນໄທຍ) ລຸເຖີງປີ ພ.ສ ໒໔໓໒ ສຍາມ ຈຶ່ງໄດ້ປ່ຽມຊື່ປະເທດມາເປັນ "ໄທຍ(ມີ ໂຕ ຍ)" ໃນສະໄໝພູມີພົນອະດູນຍະເດຊ ຣ ໙ (ປັດຈຸບັນ) ເຊິ່ງມີຫຼັກຖານດັ່ງນີ້ " อนึ่ง คำว่าสยามหมายถึงอาณาเขตของขัณทสีมา ที่ีอยู่ในความเป็นผู้ครอบครองของพระมหากษัตริย์ไทย ประเทศชื่อว่าราชอาณาจักรสยาม โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงค์จักรี แต่ต่อมาภายใต้การนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนชื่อสยามเป็น “ไทยแลนด์” เมื่อปี พ.ศ. 2432 และด้วยความเข้าใจผิดในอักษรโรมัน เขียนว่า Siam อ่านว่า เซียม หรือเสียม ซึ่งฝรั่งเองก็ฟังผิด สำเนียงสยามจึงถูกถ่ายทอดเป็น Siam และก็ไปตรงกับชื่อเมืองในเขมร ว่า เสียมเรียบ หรือเสียมราด โดยไม่ได้คิดถึงคำว่า “สยมภู” ซึ่งหมายถึง “แผ่นดินของพระผู้เป็นใหญ่” ຈາກນັ້ນເປັນຕົ້ນມາ ສຍາມ ກໍໄດ້ກາຍເປັນໄທຍ໌ ເປັນຕົ້ນມາ ແຕ່ບໍ່ແມ່ນ "ໄທ" ສາແລ້ວ ຄຳວ່າ ໄທ ໝາຍເຖິງ ຄົນເຜົ່າລາວທັງມວນ.
http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=319
www.sentangonline.com/sentangonline/021/textthai021@17.html


วันศุกร์ที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ภูไท

ประวัติความเป็นมา
ในพงศาวดารเมืองแถง(แถน) กล่าวถึง การกำเนิดมนุษย์และถิ่นกำเนิดของชาวภูไทว่า เกิดจากเทพสามีภรรยา 5 คู่ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน เมื่อหมดอายุบนสวรรค์จึงอธิษฐานจิตเนรมิตน้ำเต้าขึ้นมา เทพทั้ง 5 คู่ ก็เข้าไปอยู่ในน้ำเต้า น้ำเต้าลอยจากสวรรค์มาตกบนภูเขาที่ทุ่งนาเตา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองแถงไปทางตะวันออกเป็นระยะทางเดิน 1 วัน น้ำเต้าได้แตกออก เทพได้กลายเป็นมนุษย์ 5 คู่ ออกมาจากน้ำเต้าทีละคู่ตามลำดับ คือ ข่า แจะ ภูไท ลาวพุงขาว ฮ่อ(จีน) และแกว(ญวน) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมนุษย์ 5 เผ่าพันธุ์ในเวลาต่อมาคนเหล่านี้ได้แยกย้ายกันตั้งรกรากในพื้นที่ต่าง ๆสำหรับชาวภูไทตั้งบ้านเรือนที่เมืองแถง มีขุนลอคำเป็นหัวหน้า ประชากรของภูไทได้เพิ่มจำนวนถึง 33,000 คนในเวลาต่อมา และขยายตัวไปตั้งรกรากหลายเมือง ขุนบรมราชบุตรของขุนลอคำ ได้เป็นเจ้าเมืองแถงใน พ.ศ. 1274 ขุนลอบุตรของขุนบรมราชาได้มาตั้งเมืองหลวงพระบางใน พ.ศ. 1283จากพงศาวดารเมืองไล กล่าวว่า ชาวภูไท ในดินแดนนี้ 2 พวกคือ
1. ภูไทขาว
อาศัยอยู่เมืองเจียน เมืองมุน เมืองบาง มีเมืองไลเป็นเมืองใหญ่ รวม 4 เมือง ดินแดนแถบนี้อยู่ใกล้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อากาศหนาว ชาวภูไทจึงมีผิวขาว อีกทั้งได้รับอารยธรรมจากจีน โดยเฉพาะการแต่งกายในพิธีศพ ซึ่งนิยมนุ่งขาว ห่มขาว จึงเรียกชาวภูไทกลุ่มนี้ว่า
ภูไทขาว”
2. ภูไทดำ
อาศัยอยู่เมือง ควาย,เมืองคุง เมืองม่วย, เมืองลา เมืองโมะเมืองหวัด เมืองซาง มีเมืองแถง(แถน) เป็นเมืองใหญ่ รวมเป็น 8 เมือง ชาวภูไทกลุ่มนี้มีผิวคล้ำกว่าภูไทตอนบน และนิยมแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองย้อมครามเข้ม และอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำดำ ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม จึงเรียกว่า ภูไทดำ”ชาวภูไททั้ง 2 กลุ่ม รวมกันแล้วเป็น 12 เมือง จึงเรียกว่า แคว้น สิบสองจุไทย”เมืองไล เมืองของชาวภูไทขาว ตั้งอยู่ในดินแดนคาบเกี่ยว หรือตะเข็บของลาว จีน และญวน เพื่อความอยู่รอด เมืองนี้จึงจำเป็นต้องอ่อนน้อมแก่ทั้ง 3 ฝ่าย ต้องส่งส่วยแก่ทุกฝ่ายเดิมแคว้นสิบสองจุไทย ขึ้นกับอาณาจักรน่านเจ้า ครั้นต่อมาไปขึ้นอยู่กับอาณาจักรโยนกเชียงแสน เมื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสน ถูกพวกภูไทมาทำลายลง สิบสองจุไทยได้ไปขึ้นกับแคว้นหิรัญเงินยวง (ต่อมาแคว้นนี้เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรลานนา)ใน พ.ศ.2250 อาณาจักรล้านช้างได้แตกเป็น 2 อาณาจักร คือทางเหนือ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ทางใต้ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ สิบสองจุไทยอยู่ภายใต้การดูแลของอาณาจักรแรกต่อมาบังเกิดการอัตคัดอดอยาก และความขัดแย้งระหว่างท้าวก่า หัวหน้าของชาวภูไท กับเจ้าเมืองนาน้อยอ้อยหนู (น้ำน้อยอ้อยหนู) ท้าวก่าจึงพา ชาวภูไทเป็นจำนวนมาก (ประมาณหมื่นคน) อพยพจากเมืองนาน้อยอ้อยหนูมาขอขึ้นกับเวียงจันทน์ โดยทางเวียงจันทน์ให้ไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองวัง (อยู่ทางตะวันออกของเมืองมุกดาหาร ห่างประมาณ 150 กิโลเมตร) ชาวภูไทกลุ่มนี้ ได้ส่งส่วยมีดโต้และขวานให้เวียงจันทน์ ปีละ 500 เล่ม แต่เนื่องจากเมืองวังอยู่ชายแดนอาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ แต่ใกล้พรมแดนเวียดนาม พวกเขาจึงได้ส่งส่วยขี้ผึ้ง 5 ปึก (ปึกหนึ่งหนัก 5 ชั่ง) ให้แก่ เจ้าเมืองคำรั้วของเวียดนามด้วย
การอพยพของชาวภูไทเข้าสู่ประเทศไทย มี 3 ระลอกด้วยกันคือ
ระลอกที่ 1
สมัยธนบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2321-2322 เมื่อกองทัพไทยซึ่งมีเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) กับเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ได้นำกองทัพไทยสองหมื่นคนตีหัวเมืองลาว ตั้งแต่จำปาศักดิ์ถึงเวียงจันทน์เอาไว้ได้ หลวงพระบางซึ่งไม่ถูกกับเวียงจันทน์มาก่อนก็นำกำลังมาช่วยตีเวียงจันทน์ด้วย แม่ทัพไทยได้ให้กองทัพหลวงพระบางไปตีเมืองทันต์ (ญวนเรียก ซือหวี)เมืองมวย ซึ่งเป็นเมืองของชาวภูไทดำได้ทั้งสองเมือง แล้วกวาดต้อนชาวภูไทดำ(ลาวทรงดำ) เป็นจำนวนมากมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองเพชรบุรี นับเป็นชาวภูไทรุ่นแรกที่มาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย
ระลอกที่ 2
สมัยรัชกาลที่ 1 ใน พ.ศ. 2335 กองทัพเวียงจันทน์ตีหลวงพระบางแตกและจับกษัตริย์หลวงพระบางส่งกรุงเทพ ฯ ใน พ.ศ.2335-2338 กองทัพเวียงจันทน์ได้ตีเมืองแถง และเมืองพวน ซึ่งแข็งข้อต่อเวียงจันทน์ กวาดต้อนชาวภูไทดำ ลาวพวนเป็นเชลยส่งมากรุงเทพ ฯ รัชกาลที่ 1 ทรงมีรับสั่งให้ชาวภูไทดำประมาณ 4,000 คนไปตั้งถิ่นฐานที่เพชรบุรีเช่นเดียวกับชาวภูไทดำรุ่นแรก
ระลอกที่ 3
สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นการอพยพประชากรครั้งใหญ่ที่สุดจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่ในประเทศไทย สาเหตุของการอพยพ คือ เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ใน พ.ศ. 2369 - 2371 และเกิดสงครามระหว่างไทยกับเวียดนามในระหว่างปี พ.ศ.2376-2490 ยุทธวิธีของสงครามสมัยนั้น คือ การตัดกำลังฝ่ายตรงข้ามทั้งฝ่ายไทยและเวียดนามต่างกวาดต้อนประชากรในดินแดนลาวมาไว้ในดินแดนของตนสำหรับประชากรในดินแดนลาวที่ถูกไทยกวาดต้อนมาอยู่ในประเทศไทยจะมีทั้ง ภูไท กะเลิง โซ่ ญ้อ แสก โย้ย ข่า ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกกวาดต้อนมาไว้ในภาคอีสาน ส่วนลาวพวน ลาวเวียง กวาดต้อนให้มาตั้งถิ่นฐานทั้งในภาคอีสานและภาคกลางของประเทศไทย แถบฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม เป็นต้นชาวภูไทที่ถูกกวาดต้อนมาในระลอกที่ 3 จะแยกเป็น 8 กลุ่มด้วยกัน สำหรับชาวภูไทในเขตจังหวัดสกลนคร เป็นพวกที่อพยพเข้ามาในกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 8 ดังนี้
กลุ่มที่ 3
อพยพมาจากเมืองวัง มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร (ใน พ.ศ.2513 อำเภอพรรณานิคม มี 7 ตำบล มีชาวภูไททั้ง 7 ตำบล รวม 65หมู่บ้าน 32,037 คน อำเภอเมืองสกลนคร มีภูไท 48 หมู่บ้าน ใน 13 ตำบล จาก 17 ตำบล อำเภอพังโคน มีภูไท 4 ตำบล 23 หมู่บ้าน อำเภอบ้านม่วง มีภูไท 3 ตำบล 16 หมู่บ้าน อำเภอวานรนิวาส มีภูไท 4 ตำบล 8 หมู่บ้าน อำเภอกุสุมาลย์ 2 ตำบล 4 หมู่บ้านอำเภอสว่างแดนดิน 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน อำเภอกุดบาก 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน อำเภอวาริชภูมิ 4 ตำบล 42 หมู่บ้าน รวมทั้งจังหวัดสกลนครมีภูไท 212 หมู่บ้าน 20,945 หลังคาเรือน 128,659 คน)
กลุ่มที่ 8
อพยพจากเมืองกะป๋อง มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านปลาเป้า บ้านนียกเป็นเมืองวาริชภูมิ และตั้งท้าวพระยาสุวรรณเป็นพระสุรินทรบริรักษ์ เป็นเจ้าเมืองคนแรก ใน พ.ศ. 2410 ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 (ใน พ.ศ.2513 มีภูไทในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร 4 ตำบล ตำบลวาริชภูมิ 1 หมู่บ้าน ตำบลคำบ่อ 12 หมู่บ้าน ตำบลปลาโหล 9 หมู่บ้าน และตำบลเมืองลาด 7 หมู่บ้าน รวม 42 หมู่บ้าน)ชาวภูไทที่ถูกกวาดต้อน-อพยพมาตั้งภูมิลำเนา ในจังหวัดสกลนคร อย่างเป็นปึกแผ่น ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข หัวหน้าแต่ละพวกที่แยกย้ายกันอยู่ ได้ติดต่อปรึกษากับเจ้าเมืองที่ตนอาศัยอยู่เพื่อขอตั้งเมือง เช่น เจ้าเมืองโฮงกลางสี ที่อยู่บ้านพังพร้าว ท้าวแก้ว อยู่ที่บ้านจำปา และท้าวราชนิกุล อยู่บ้านหนองหอย ก็ติดต่อกับเจ้าเมืองสกลนคร เพื่อตั้งหมู่บ้านที่ตนตั้งภูมิลำเนาอยู่เป็นเมือง คือ บ้านพังพร้าว ขอตั้งเป็นเมืองพรรณานิคมบ้านจำปา ขอตั้งเป็นเมืองจำปาชนบท และบ้านหนองหอย ขอตั้งเป็นเมืองวาริชภูมิ เป็นต้นสำหรับชาวภูไททั้ง 8 กลุ่ม ได้ขยายจำนวนออกไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคอีสานอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา รวมเป็น 9 จังหวัด 33 อำเภอ 494 หมู่บ้าน สรุปได้ดังนี้

1.จังหวัดสกลนคร 212 หมู่บ้าน 9 อำเภอ(พรรณานิคม เมืองสกลนครวาริชภูมิ พังโคน บ้านม่วง วานรนิวาส กุสุมาลย์ สว่างแดนดิน กุดบาก)
2. จังหวัดนครพนม 131 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (นาแก เรณูนคร ธาตุพนม
ศรีสงคราม เมืองนครพนม)
3. จังหวัดมุกดาหาร 68 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (คำชะอีก เมืองมุกดาหาร
นิคมคำสร้อย ดอนตาล หนองสูง)
4. จังหวัดกาฬสินธุ์ 63 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (เขาวง กุฉินารายณ์ คำม่วง สมเด็จ
สหัสขันธ์)
5. จังหวัดหนองคาย 6 หมู่บ้าน 3 อำเภอ(โซ่พิสัย บึงกาฬ พรเจริญ)
6. จังหวัดอำนาจเจริญ 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ (เสนางคนิคม ขานุมาน)
7. จังหวัดอุดรธานี 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ (วังสามหมอ ศรีธาตุ)
8. จังหวัดยโสธร 3 หมู่บ้าน 1 อำเภอ (เลิงนกทา)
9. จังหวัดร้อยเอ็ด 1 หมู่บ้าน (โพนทอง)

วัฒนธรรมการแต่งกาย

โดยลักษณะทางสังคม ชาวภูไท(ผู้ไทย) เป็นกลุ่มที่มีความขยัน และอดออมเป็นพิเศษ และมีวัฒนธรรมในเรื่องการถักทอเสื้อผ้าเด่นชัด จึงปรากฎเสื้อผ้าชนิดต่างๆ ทั้งฝ้าฝ้าย ผ้าไหมในกลุ่มชาวภูไท(ผู้ไทย) โดยเฉพาะผ้าแพรวานับว่ามีวัฒนธรรมเรื่องเสื้อผ้าเด่นชัดมาก

ผ้าซิ่น วัฒนธรรมของกลุ่มภูไทที่เด่นชัด คือ การทอผ้าซิ่นหมี่ตีนต่อเป็นผืนเดียวกับผ้าผืน เช่น ตีนต่อขนาดเล็ก กว้าง 4 ถึง 5 นิ้ว (มือ) ที่เรียกว่า ตีนเต๊าะ เป็นที่นิยมในหมู่ภูไท ทอเป็นหมี่สาด มีหม้อย้อมคราม จนเป็นสีครามเกือบเป็นสีดำ แต่ชาวบ้านเรียกว่า“ผ้าดำ” หรือซิ่นดำ ลักษณะเด่นของซิ่นหมี่ชาวภูไท คือการทอและลวดลาย เช่น ทอเป็นลายขนาดเล็กๆ นอกจากนี้มีลายอื่น ๆ เช่น หมี่ปลา หมี่ตุ้ม หมี่กระจัง หมี่ข้อ ทำเป็นหมี่คั่น มิได้ทอเป็นหมี่ทั้งผืน แต่หากมีลายต่าง ๆ มาคั่นไว้ สีที่นิยมคือ สีเขียว สีน้ำเงิน สีแดง สีม่วง พื้นมักใช้เครือหูกฝ้ายสีเปลือกอ้อย นอกจากนี้ยังพบผ้ามัดหมี่ฝ้ายขาวสลับดำในกลุ่มผู้ไทย
เสื้อ
นิยมทำเป็นเสื้อแขนกระบอกสามส่วนติดกระดุมธรรมดา กระดุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ เช่น เหรียญสตางค์ห้า สตางค์สิบ มาติดเรียงเป็นแถว นิยมใช้เป็นผ้าย้อม ครามเข้มใน ราว พ.ศ. 2480 โดยมีผู้นำผ้าขลิบแดงติดชายเสื้อ เช่น ที่คอสาบเสื้อปลายแขนเพื่อใช้ในการฟ้อนภูไทสกลนคร และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

ผ้าห่ม การทอผ้าผืนเล็ก ๆ เป็นวัฒนธรรมของชาวกลุ่มพื้นอีสานมานานแล้วผ้าห่มใช้สำหรับห่มแทนเสื้อกันหนาว ใช้คลุมไหล่ เช่นเดียวกับไทยลาวที่นิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดไหล่ ผ้าห่มของกลุ่มชนต่าง ๆ ในเวลาต่อมามีขนาดเล็ก ทำเป็นผ้าสไบเป็นส่วนแทนประโยชน์ใช้สอย เดิมคือห่มกันหนาว หรือปกปิดร่างกายส่วนบน โดยการห่มทับเสื้อ ผ้าห่มของภูไทที่เรียกว่า ผ้าจ่อง เป็นผ้าทอด้ายยืน มีเครื่องลาย เครื่องพื้นหลายแบบนอกจากนี้ยังมีผ้าแพรวานอกจากผ้าจ่องแล้ว ชาวภูไทยังมีผ้าลาย ซึ่งใช้เป็นผ้ากั้นห้อง หรือใช้ห่มแทนเสื้อกันหนาวหรือต่อกลาง 2 ผืน เป็นผ้าห่มขนาดใหญ่พอสมควร แต่ผ้าลายที่มีชื่อคือผ้าลายบ้านนางอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร การแต่งกายของชาวภูไท ยังนิยมสายสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ข้อเท้า (ก้องแขน ก้องขา) ทำด้วยโลหะเงิน เกล้าผมเป็นมวยสูงตั้งตรงในสมัยโบราณใช้ผ้ามนหรือแพรมน ทำเป็นผ้าสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ม้วนผูกมวยผมอวดลายผ้าด้านหลังใน ปัจจุบันใช้ผ้าแถบเล็ก ๆ สีแดงผูกแทนแพรมน

เมืองแถน

เมืองแถน

หยุดวันอาทิตย์ไม่ได้อ่านหนังสือมาหลายอาทิตย์แล้ว (กล่าวคือ ไม่ได้หยุด :P) พอดีวันก่อนได้คุยกับคุณวีร์เรื่องเมืองแถน แต่นึกชื่อหนังสือที่พูดถึงไม่ออก วันนี้เลยลองค้นดู ก็ยังไม่พบเล่มที่ว่าอยู่ดีแหละ แต่ไปเจอพงศาวดารลาวแทน เนื้อหาก็อย่างเดียวกัน โดยเป็นฉบับของมหาสิลา วีระวง นักวิชาการลาว เรียบเรียงโดย ทองสืบ ศุภะมาร์ค ทั้งนี้ ได้เปรียบเทียบกับ ข้อมูลของไทย จากเว็บ หอมรดกไทย พบว่าเนื้อหาคล้ายกันมาก

(ค้นเว็บแล้ว เจอกระทู้ ต้นกำเนิดอาณาจักรล้านช้าง มีแผนที่ประกอบด้วย)

มหาสิลา บอกว่า “เมืองแถน” มีความหมายถึงสองอย่าง อย่างหนึ่งหมายถึงชื่อของอาณาจักรหนองแสเดิม (คืออาณาจักรเพงาย หรือปากอ้าย คนธรรมดาเรียกเมืองแถน) ที่ต่อมาถูกจีนตีแตก แล้วถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองยี่เจ้า” (เมืองสองเจ้า) เพราะมีการแตกเป็นสองส่วน คือพวกที่อยู่นครเพงาย เรียกว่า “อ้ายลาว” ส่วนพวกอยู่ทางใต้ เรียกว่า “งายลาว” ต่อมาเมื่อหลบมาตั้งอิสระที่หนองแสได้ ก็มีกษัตริย์ปกครองสืบมา จนถึงขุนบรมราชาธิราช (พีล่อโก๊ะ) ไม่ไว้ใจภัยคุกคามจากจีน จึงได้มาตั้งเมืองแถนขึ้นที่ทุ่งนาน้อยอ้อยหมู เป็น “เมืองแถน” ในความหมายที่สอง ชื่ออย่างเป็นทางการคือ “เมืองกาหลง”

หนองแส คือหนองน้ำอันกว้างใหญ่ อยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำโขง ในเขตมณฑลยูนนานของจีนในปัจจุบัน ในสมัยโบราณเรียกว่า “หนองแส” หรือ “หนองกระแสแสนย่าน” จีนเรียกว่า “ตาลีฟู”

เมื่อเมืองแถนแรก คือเพงายถูกจีนยึดครองนั้น คนไทส่วนมาก (ในพงศาวดารลาว จะใช้คำว่า “คนลาว” ไม่ใช่ “คนไท”) ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่หนองแสนี้ พอดีแผ่นดินจีนเกิดจลาจลสามก๊ก คนไทจึงมีโอกาสตั้งตัว โดยสร้างเมืองใหญ่ๆ ถึง ๖ เมือง คือ ซีล่ง ม่งเส ล่างกง มุ่งซุย เอี้ยแซ และเท่งเซี้ยง โดยที่ม่งเส (หนองแส) เป็นเมืองใหญ่และเป็นเมืองหลวงของประเทศ ชื่อของอาณาจักรใหม่นี้ จึงชื่อว่า อาณาจักรหนองแส หรือที่ฝ่ายจีนเรียกว่า “น่านเจ้า” แต่ต่อมาก็ถูกขงเบ้งรุกราน จนต้องตกเป็นเมืองขึ้นของจีน ก่อนจะมากู้อิสรภาพได้อีกครั้งใน พ.ศ. ๙๓๘

จากนั้น น่านเจ้าปกครองตนเองมาจนถึง พ.ศ. ๑๑๙๒ จึงมีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า “สินุโล” ได้รวบรวมการปกครองเมืองทั้งหกเข้าด้วยกัน ทำให้น่านเจ้าเป็นปึกแผ่น และเจริญขึ้นมาก พระเจ้าสินุโลได้ใช้นโยบายเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน เพื่อป้องกันการรุกราน ต่อจากนั้นก็มีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีก ๔ พระองค์ ก็มาถึงขุนบรมราชาธิราช (พีล่อโก๊ะ) ทรงเห็นว่า จีนมีกำลังทหารเข้มแข็ง แม้จะผูกไมตรีก็ยังไม่น่าไว้ใจ จึงเกณฑ์ไพร่พลลงมาสร้างเมืองใหม่ ที่ทุ่งนาน้อยอ้อยหมู ซึ่งก็คือ “เมืองแถน” แห่งใหม่ เรียกอีกชื่อว่าเมือง “กาหลง” นั่นเอง

ที่ตั้งของเมือง “กาหลง” นี้ มหาสิลาบอกว่า ได้แก่เมืองเชียงรุ้งในปัจจุบัน แต่พงศาวดารไทยของพระบริรักษ์เทพธานีกล่าวว่า เมืองกาหลงนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลฝาย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

ขุนบรม (พีล่อโก๊ะ) ได้ประทับที่เมืองกาหลงอยู่ ๘ ปี โดยในระหว่างนี้ได้ตีหัวเมืองจีนได้หลายเมือง และสั่งให้พวกม่านสีสร้างเมือง “ต้าหอ” แล้วเสด็จขึ้นไปประทับ

ขุนบรมเป็นกษัตริย์นักรบ ได้ขยายอาณาเขตน่านเจ้าไปมาก หลายเมืองมาอ่อนน้อม โดยได้สมัญญาว่า “ยูนนานอ๋อง” นโยบายขยายอาณาเขตอย่างหนึ่งคือ การส่งโอรส ๗ องค์ แยกย้ายไปปกครองเมืองทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้ คือ (ตามตำนานขุนบรม)

  • ขุนลอ ครองเมืองชวา (เชียงทอง หลวงพระบาง ล้านช้าง)
  • ผาล้าน ครองเมืองต้าหอ หรือหอแต (สิบสองปันนา)
  • ท้าวจูสง ครองเมืองจูฬนี คือเมืองญวน (หัวพันทั้งห้าทั้งหก)
  • ท้าวคำผง ครองเมืองโยนก คือล้านนา
  • ท้าวอิน ครองเมืองลานเพีย คืออยุธยา
  • ท้าวกม ครองเมืองหล้าคำม่วน (มอญ)
  • ท้าวเจือง ครองเมืองปะกันเชียงขวาง

ต่อมา ขุนบรมก็ย้ายมาประทับที่หนองแสตามเดิม ให้ผาล้านครองเมืองต้าหอแทน เมื่อขุนบรมสวรรคต ขุนลอ (โก๊ะล่อฝง) ก็เสด็จมาหนองแส ปกครองน่านเจ้าต่อ ก่อนจะย้ายมาเมืองกาหลง (เมืองแถน) โดยมอบราชสมบัติให้ อีเมาชีน โอรสท้าวผาล้าน ครองหนองแสต่อ

พอได้ไปอ่านหนังสือ “ชนชาติไทในนิทาน” ของ อ. ศิราพร ณ ถลาง ก็พบ “เมืองแถน” อีกอัน คือ เดียนเบียนฟู โดย “พงศาวดารเมืองแถง” ของไทดำ มีความสัมพันธ์กับ “เมืองแถน” ในพงศาวดารล้านช้างด้วย ในพงศาวดารล้านช้าง มีตำนานขุนบรมบอกว่า แถนจี้น้ำเต้าปุง ปรากฏว่ามีคนออกมาจากน้ำเต้า รุ่นแรกนั้นใช้เหล็กซีเจาะ ซึ่งได้รูเล็ก ผู้คนต้องเบียดเสียดกันออกมา ผิวกายติดเขม่าควันดำทำให้ผิวคล้ำ คือพวกข่า ขมุ รุ่นที่สองใช้สิ่วเจาะ ผิวเลยขาวกว่า เป็นพวกลาว ไทดำ ไทขาว ไทลื้อ จากนั้น แถนส่งขุนบรมมาปกครอง ขุนบรมมีลูก ๗ คน ไปสร้างบ้านแปลงเมือง ดังที่กล่าวมาข้างต้น ตรงนี้ มาตรงกับพงศาวดารเมืองแถง บอกว่าแถนเอาคนและสัตว์ใส่น้ำเต้าปุง เมื่อน้ำเต้าแตกออก มีคนออกมา ๕ พวก คือข่าแจะ ตามด้วยผู้ไทดำ ลาวพุงขาว ฮ่อ และแกว นอกจากนั้น พงศาวดารเมืองแถง ยังอ้างว่า เมืองแถงเป็นถิ่นกำเนิดของชนชาติไท เพราะบ้านน้ำเต้าปุง และนาน้อยอ้อยหนูที่อ้างถึงใน พงศาวดารเมืองแถง และ พงศาวดารล้านช้าง นั้น มีสถานที่จริงที่เมืองแถนในเวียดนามนั่นเอง

วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ผีตาแฮก : ความเชื่อของชาวนาอีสาน

ผีตาแฮก : ความเชื่อของชาวนาอีสาน

ารปลูกข้าวในยุคสมัยต่าง ๆ ตามแบบแผนวิถีชีวิตของคนไทย มุ่งปลูกข้าวเพื่อบริโภค เป็นหลัก เหลือบริโภคก็เก็บไว้ในยุ้งฉาง จะนำไปแลกเปลี่ยนกับปัจจัยอื่น ๆ บ้าง ก็เฉพาะสิ่งที่จำเป็น จริง ๆ เช่น แลกกับเสื้อผ้า อาหาร เกลือ ยารักษาโรค แต่ไม่นิยมขายข้าว ไม่แลกเปลี่ยนข้าวกับ เครื่องประหัตประหาร ทั้งนี้เพราะคนไทยเชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีบุญคุณ มีจิตวิญญาณ มีเทพธิดา ชื่อว่า "แม่โพสพ" ประจำอยู่ ในท้องถิ่นบางแห่งเรียกว่า "นางโคสก" หรือ "แม่โคสก" เชื่อกันว่า นางมีอิทธิฤทธิ์สามารถดลบันดาลความสมบูรณ์พูนสุขแก่ผู้ปฏิบัติชอบต่อนางได้ และถ้าปฏิบัติ ไม่ดีจะได้ผลตรงข้าม ในอดีตหลังการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแต่ละปี ชาวบ้านจึงต้องจัดพิธีบายศรี สู่ขวัญให้นาง และปฏิบัติต่อนางอย่างเคารพนอบน้อม

เทพเจ้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้าวและการทำนา
การทำนาให้ได้ผลดีนั้นจะต้องถือปฏิบัติเคารพบูชาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อของ ชาวบ้านแต่ละท้องถิ่น เทพเจ้า เทวดาอารักษ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำนาก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งการปฏิบัติบูชาเซ่นไหว้ก็จะทำในโอกาสหรือวาระต่าง ๆ กัน เช่น พิธีจรดพระนังคัญแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีหลวง จัดขึ้นเพื่อให้เป็นขวัญกำลังใจแก่คนในชาติ ส่วนคนในท้องถิ่นอื่นก็จะมีพิธีกรรม แตกต่างกัน สำหรับคนอีสานแล้วจะยึดถือเทวดา ภูตผี ดังนี้
ตาแฮก หรือ ผีตาแฮก
ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นผีเฝ้าไร่นา เมื่อชาวบ้านเข้าหักร้างถางพง เพื่อแปรสภาพที่ดินไปเป็น ที่นา พวกเขาจะทำพิธีเชิญผีตาแฮกตนหนึ่งมาเป็นผู้เฝ้ารักษาที่นาและข้าวกล้า แต่ละปีเจ้าของนา จะต้องทำพิธีเซ่นสังเวยก่อนลงไถนา และเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว จะต้องแบ่งข้าวสี่เกวียน (จำลอง เล็กๆ) ให้แก่ผีตาแฮกด้วย
ตาปู่ หรือ ปู่ตา
เป็นผีประจำหมู่บ้านอันเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน การสร้างหมู่บ้านจะต้องทำศาล ปู่ตา แล้วทำพิธีอัญเชิญปู่ตาซึ่งถือเป็นผีบรรพบุรุษ ให้มาอยู่ทำหน้าที่คอยพิทักษ์รักษามนุษย์ สัตว์ และพืชพันธุ์ธัญญาหารในหมู่บ้านให้ปลอดภัย การติดต่อระหว่างปู่ตากับชาวบ้านจะผ่านตัวแทน คือ คนทรง หรือที่เรียกว่า "จ้ำ" เมื่อถึงเดือนหก (ประมาณเดือนพฤษภาคม) ทุกปีจะมีพิธีบวงสรวง ปู่ตา และเสี่ยงทายเรื่องความสุขสบาย ความอุดมสมบูรณ์ของหมู่บ้าน และทำนายปริมาณน้ำฝน ในปีนั้น ๆ
แถน
เป็นเทวดาหรือผีฟ้าอยู่บนสวรรค์ มีอำนาจบันดาลให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ แก่มนุษย์ สัตว์ และพืชพันธุ์ธัญญาหารบนโลกได้ ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือแถนมาก ยามทุกข์ร้อนสิ่งใด มักจะบนบานให้แถนช่วยเหลือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำนา คือ ชาวบ้านเชื่อว่า แถนมีอำนาจสั่ง ให้ฝนตกได้ แต่ละปีจึงมีพิธีจุดบั้งไฟบูชาแถน เพื่อให้แถนสั่งให้ผู้มีหน้าที่ทำให้ฝนตก เช่น นาค พระพิรุณ ประทานฝนลงมาให้
เรื่องที่เกี่ยวข้อง บุญบั้งไฟ
นาค
เป็นสัตว์ในอุดมคติที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในโลกบาดาล งานหรือหน้าที่ของนาค คือ การพ่น ฝนให้ตกลงในจักรวาลนี้ อันประกอบด้วยมหาสมุทร มนุษย์โลก และป่าหิมพานต์ นาคเกี่ยวข้องกับ การทำนาในส่วนที่เป็นผู้ทำให้น้ำฝนตกลงในมนุษยโลก ทำให้มนุษย์ได้ทำนา นอกจากนี้ยังมีนาค อีกจำพวกหนึ่งที่เรียกว่า "นาคทรงแผ่นดิน" เมื่อทำพิธีแรกไถนา ชาวนาต้องดูวัน เดือน ปี และทิศ ที่จะบ่ายหน้าควาย ต้องไม่ให้ควายลากไถไปในทิศที่ทวนเกล็ดนาคหรือเสาะเกล็ดนาค เพราะถ้า เป็นอย่างนั้นการทำนาในปีนั้นจะทำให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ ขึ้น
นางธรณี
ชาวบ้านเชื่อกันว่า นางธรณีหรือแม่ธรณีเป็นเทพเจ้าแห่งพื้นดิน ก่อนจะไถนาหรือปลูก ข้าว ต้องบอกกล่าวขออนุญาตต่อนางเสียก่อน และทำพิธีเซ่นไหว้ด้วยพาหวาน (มีข้าวนึ่ง ไข่ไก่) 1 พา และขอให้นางธรณีช่วยปกป้องรักษาข้าวในนา อย่าให้มีศัตรูมาเบียดเบียน และขอให้ได้ทำนา ด้วยความสะดวกสบายตลอดฤดูกาล


พิธีแฮกไถนา
การแรกไถนาทำในเดือนหกวันฟูเวลาเช้า เจ้าของนาเป็นผู้ทำพิธี เทพเจ้าหลักที่อ้างถึงใน พิธีนี้คือ นางธรณี หรือ ผีตาแฮก แล้วแต่ใครจะนับถือองค์ไหน เทพเจ้าประกอบได้แก่ พระภูมิเจ้าที่ และ รุกขเทวดา กระทำพิธีในนาแปลงใดก็ได้ องค์ประกอบในพิธีมี พาหวาน 4 และ พายา 4 กอก (กรณี นับถือตาแฮก) องค์ประกอบนี้เปลี่ยนแปลงไปตามข้อปฏิบัติของแต่ละบุคคล
วิธีทำ นำเอาเครื่องประกอบเหล่านี้ไปเซ่นสังเวยบอกกล่าวว่า มื้อนี้เป็นมื้อสันต์วันดี จะทำการแฮกไถนา ขอให้เทพเจ้า (ออกชื่อ) จงช่วยคุ้มกันรักษา ขยับขยายที่ให้ได้ทำนา อย่างสุขสบาย แล้วเริ่มไถนาในทิศทางที่ตามเกล็ดนาค (ห้ามไถทวนเกล็ดนาค) ไถวน จำนวน 3 รอบแล้วหยุด ปล่อยควาย เป็นการเสร็จพิธี วันต่อไปจึงเริ่มไถเป็นปกติได้ พิธีนี้มีเป้าหมายเพื่อให้เทพเจ้าคุ้มครองรักษาทั้งคน สัตว์ ข้าวกล้า และขออนุญาตต่อเทพเจ้า เพื่อเตรียมดินปลูกข้าวในปีนั้น ๆ ตามความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติกันมา

พิธีแฮกดำนา หรือปลูกข้าวตาแฮก
การเลี้ยงผีตาแฮก

จัดขึ้นประมาณเดือนเจ็ดหรือเดือนแปด (มิถุนายน - กรกฎาคม) วันประกอบพิธีต้องเป็น วันฟู หรือวันจันทร์ หรือวันพฤหัสบดี หรือวันเกิดของเจ้าของนา แล้วแต่ใครจะเลือกนับถือ ทำพิธี เวลาเช้า พ่อบ้านหรือแม่บ้านเป็นผู้กระทำ เทพเจ้าที่อ้างถึงได้แก่ ผีตาแฮก หรือ นางธรณี แล้วแต่ ใครจะนับถือรูปใดก็บูชารูปนั้น สถานที่ที่ปลูกข้าวตาแฮกนั้นให้เลือกเอาบริเวณที่ใกล้ ๆ กับโพนนา (จอมปลวก) หรือใกล้กกไม้

การปักดำตาแฮก
วิธีทำ เตรียมดินให้กว้างพอจะปลูกข้าวแฮกประมาณ 7 หรือ 14 กอ แล้วสร้างร้านสี่เสา เล็ก ๆ ขึ้นพอจะเป็นที่วางเครื่องสังเวยได้ เอาเครื่องสังเวยซึ่งเป็นเช่นเดียวกับพิธีแฮกไถนาวางบน ร้าน จากนั้นจึงกล่าวคำอ้อนวอนว่า "มื้อนี้มื้อสันต์วันดี พวกข้าจะมาปักแฮก ขอให้ตาแฮก (หรือนางธรณี) ช่วยคุ้มครองรักษาให้ข้าวกล้าในนางอกงาม ไม่มีพวกช้าง พวกควาย หรือ ไพร่พลมาทำลาย" แล้วจึงปักข้าวแฮก 7 หรือ 14 กอ ตามแต่นับถือ เป็นอันเสร็จพิธี
เป้าหมายของพิธี คือ ต้องการให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองข้าวกล้าให้งอกงาม ไม่มีโรคภัยมา เบียดเบียน สำหรับกรณีผู้นับถือตาแฮกจะบนบานว่า หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้วจะแบ่งข้าวที่ได้ให้ ตาแฮก 4 เกวียน (เกวียนจำลอง)


พิธีเลี้ยงผีปู่ตาหรือผีตาปู่
จัดขึ้นในเดือนหก (ประมาณเดือนพฤษภาคม) วันพุธ (จะเป็นวันพุธสัปดาห์ไหนก็ได้) ตอนเช้า พิธีนี้มี "จ้ำ" เป็นผู้ดำเนินการ โดยป่าวประกาศให้ลูกบ้านทราบว่าจะทำพิธีวันไหน และให้ ลูกบ้านบริจาคเงิน ข้าวของตามศรัทธาให้แก่จ้ำ เพื่อจะได้นำไปซื้อเครื่องเซ่นมาทำพิธี ซึ่งมีไก่ 3 ตัว เหล้า 1 ขวด บุหรี่ ยาสูบ หมาก ผ้าซิ่น ดอกไม้ และธูปเทียน
การเลี้ยงผีปู่ตา เมื่อถึงวันพิธี ชาวบ้านทุกครอบครัวไปร่วมงาน ซึ่งจัดขึ้นเวลาเช้า ณ ศาลปู่ตาประจำ หมู่บ้าน ในพิธีมีการเสี่ยงทายโดยใช้ไก่ 3 ตัว เป็นเครื่องเสี่ยงทาย 3 กรณี คือ
  • ไก่ตัวที่ 1 เสี่ยงทายเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์
  • ไก่ตัวที่ 2 เสี่ยงทายเกี่ยวกับฝนฟ้าอากาศ
  • ไก่ตัวที่ 3 เสี่ยงทายเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงและพืชพันธุ์
โดยดูจากลักษณะปลายขากรรไกรล่างทั้งสองข้างของไก่ ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง การเสี่ยงทายอีกประการหนึ่ง คือ การเสี่ยงทายฟ้าฝนด้วยไม้วา โดยเอาไม้มาหนึ่งท่อนขนาดยาว 1 วาของจ้ำ (ผู้กระทำพิธี) นำมาเข้าพิธี โดยอธิษฐานว่า ถ้าฝนดีขอให้ไม้นี้ยาวกว่า 1 วาของจ้ำ ถ้า ฝนแล้งขอให้ไม้สั้นกว่า 1 วาของจ้ำ เมื่อทำพิธีอธิษฐานแล้วก็เอาไม้มาวัดเทียบกับวาของจ้ำ แล้วให้ ทำนายตามผลที่ปรากฏ
ส่วนการทำนายตามลักษณะไก่ คือ ดึงเอาขากรรไกร (ปากล่าง) ของไก่ที่บูชาตาแล้ว ออกมา แล้วดูว่าปลายขากรรไกรทั้งสองข้าง (ซึ่งมีลักษณะเป็นสองง่าม) เป็นอย่างไร
  1. ถ้าปลายง่ามห้อยตกลงหรือไม่เสมอกัน หมายถึงในปีนั้นสัตว์เลี้ยงจะไม่สบาย เกิดโรค ถ้าเกี่ยวกับคนทายว่าจะแตกความสามัคคี เจ็บไข้ได้ป่วย ถ้าเกี่ยวกับพืชพันธุ์ธัญญาหาร ก็จะไม่สมบูรณ์
  2. ถ้าง่ามขากรรไกรทั้งสองข้างยาวเท่ากัน จะหมายถึงมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งสัตว์เลี้ยง ผู้คน และพืชพันธุ์
  3. ถ้าขากรรไกรมีสีขาว แสดงว่า ฝนแล้ง
  4. ถ้าขากรรไกรมีสีดำ แสดงว่า ฝนฟ้าดี
พิธีเลี้ยงผีปู่ตาเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำนาปลูกข้าวอย่างใกล้ชิด ผลคำ ทำนายเป็นเช่นไร ชาวบ้านมักจะนำไปเป็นข้อมูลในการเตรียมตัวทำนาในปีนั้น ๆ นอกจากนั้นปู่ตา ยังมีความสำคัญกับหมู่บ้านเพราะเป็นที่พึ่งทางใจ เป็นผู้อนุรักษ์ป่าไม้ชุมชนของหมู่บ้านนั้น ๆ ให้ ยังคงอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหารเลี้ยงชุมชนตราบเท่าลูกหลาน
พิธีกรรมที่เกี่ยวกับข้าวยังมีอีกมาก จะได้นำมาเสนอในโอกาสต่อไปครับ

แถน

"แถน"
เป็นคำที่ใช้เรียกพ่อเกิดแม่เกิดของมนุษย์ ชาวเหนือเชื่อกันว่าคนที่จะเกิดเป็นมนุษย์ ได้ก็เพราะมีผู้กำหนดหรือส่งให้มาเกิด ผู้ที่ส่งให้มาเกิดนี้เรียกว่าปู่แถนย่าแถน อาศัยอยู่บนสวรรค์ ชั้นฟ้า มีอำนาจดลบันดาลให้มนุษย์อยู่ดีมีสุขหรือเกิดการเจ็บป่วย มีอันเป็นไปต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยเด็ก เมื่อได้รับเคราะห์ร้ายเจ็บป่วยจะทำพิธีส่งแถน เพื่อนำเครื่องเซ่นไปสังเวยหรือเป็นการบอกกล่าว ขออภัยปู่แถนย่าแถน แต่ถ้าหากปู่แถนย่าแถนไม่ให้อภัยก็จะเอาตัวกลับคืนไปผู้ที่เคราะห์ร้ายหรือเจ็บป่วยนั้นอาจถึงตายได้
ปัจจุบันชาวเหนือจำนวนมากยังมีความเชื่อเรื่องในการส่งแถนกันอยู่ แต่อาจารย์ที่เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมหายากขึ้น เพราะต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับคาถาอาคมและเข้าใจในการเตรียมสิ่งของตามพิธีจึงจะกระทำได้ เด็กที่ไม่สบายป่วยไข้บ่อย ๆ เมื่อได้ส่งแถนแล้วก็หายหรืออยู่สุขสบายดีขึ้น
การส่งแถนนับเป็นความเชื่อทางพิธีกรรมที่สามารถช่วยให้เด็ก ๆ หายจากอาการไม่สบาย ป่วยไข้บ่อย ๆ ได้อย่างหนึ่งหลังจากการรักษาทางแพทย์ แผนปัจจุบันแล้วไม่หาย ส่วนผู้ใหญ่อาจมีการส่งแถนบ้างเพื่อให้เกิดความสบายใจขึ้น

พิธีการส่งแถน
จะมีอาจารย์วัดหรือผู้ที่เคยบวชเรียนมาก่อน ( เรียกว่า"หนาน") ซึ่งมีคาถาอาคมเป็นผู้ประกอบพิธีให้ สิ่งของที่จัดเตรียมมี หมาก-พลู(ม้วนใบพลูมัดติดกับหมากเป็นคำ) บุหรี่ เมี่ยง ขนม ข้าวต้มมัด แกงส้มแกงหวาน ข้าวตอก ดอกไม้ ช่อกระดาษ ตุง เทียน หุ่นคนปั้น (ใช้แทนตัวผู้เจ็บป่วย) และเสื้อผ้านุ่ง ตัดด้วยเศษผ้าตัวเล็ก ๆ (แทนเสื้อผ้าของผู้ป่วย) สิ่งของทั้งหมดนี้นำมาจัดเรียงใส่สะโตง (ใช้กาบกล้วยมาหักทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีที่วางสิ่งของทั้งหลายเหล่านี้)
ในขณะทำพิธีผู้เจ็บป่วยจะฅ้องมานั่งไหว้ อาจารย์วัดก็จะท่องคำคาถาต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ เมื่อเสร็จพิธีอาจารย์วัดก็จะนำสะโตงไปแขวนไว้นอกบ้านหรือทางสามแพร่

ชาวอีสานมาจากไหน?



"เฮ็ดไฮ่" ใช้ไม่ไผ่ปลายแหลมแทงดินเป็นรู แล้วหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกลงรูดินที่แทงไว้ ลายเส้นนี้ ชาวยุโรปที่เขียนรูปคนพื้นเมืองแถบสองฝั่งโขง ภาพนี้เขียนโดย M. Mouhot พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1864 (พ.ศ. 2507) (ภาพจาก Travels in Siam, Cambodia and Laos 1858-1860. Henri Mouhot. Oxford University Press, 1989.)



ชาวนาไถนาลุ่มทางภาคกลาง สมัยรัชกาลที่ 5
(ภาพเก่าจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

ชาวอีสานมาจากไหน?

ชาวอีสานหรือคนอีสาน ไม่ใช่ชื่อชนชาติหรือเชื้อชาติเฉพาะของอีสาน แต่เป็นชื่อทางวัฒนธรรม มีที่มาจากภูมิศาสตร์บริเวณที่เรียกอีสาน หรือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (อันเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินใหญ่ สุวรรณภูมิหรืออุษาคเนย์โบราณ) เลยสมมุติเรียกคนกลุ่มนี้อย่างรวมๆ กว้างๆ ว่าชาวอีสาน หรือคนอีสาน

ชาวอีสานหรือคนอีสาน มีบรรพชนมาจากการประสมประสาน ของผู้คนชนเผ่าเหล่ากอ หลายชาติพันธุ์ ทั้งภายในและภายนอก ทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่ต่ำกว่า 5,000 ปีมาแล้ว (อาจถึง 10,000 ปีมาแล้วก็ได้) แล้วยังมีต่อเนื่องถึงทุกวันนี้ และอาจมีต่อไปในอนาคตอีกไม่รู้จบ

ผู้คนชนเผ่าเหล่ากอหลายชาติพันธุ์ ที่ประสมประสานกันเป็นชาวอีสาน มีบรรพชนอย่างน้อย 2 พวก คือ คนพื้นเมืองดั้งเดิมอยู่ภายในสุวรรณภูมิ กับคนภายนอกเคลื่อนย้ายเข้ามาภายหลังจากทิศทางต่างๆ มีร่องรอย และหลักฐานสรุปย่อๆ ได้ต่อไปนี้

1. คนพื้นเมืองดั้งเดิม 5,000 ปีมาแล้ว

ชาวอีสานดั้่งเดิม มีชีวิตร่อนเร่อยู่ในดินแดนอีสานนานมากกว่า 5,000 ปีมาแล้ว เพราะหลังจากนั้นมีหลักฐานทางโบราณคดียืนยันว่าคนพวกนี้ปลูกเรือนอยุ่เป็นที่ (ปัจจุบันคือบริเวณอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น) รุ้จักปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ เช่นหมูและวัว รู้จักทำภาชนะดินเผา ทำสัมฤทธิ์ เป็นเครื่องมือเครื่าองใช้ และมีประเพณีฝังศพ ฯลฯ (สุรพล นาถะพินธุ อ้างถึงผลการขุดค้นทางโบราณคดี ของศาสตราจารย์ วิลเฮล์ม จี. โซลไฮม์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยฮาไว สหรัฐ; บ้านเชียง, กรมศิลปากร จัดพิมพ์เนื่องในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง จังหวัดอุดระานี, 21 พฤศจิกายน 2530.)

ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า คนอีสานพวกแรกเหล่านี้เป็นชนกลุ่มไหน? เผ่าพันธ์ใด? แต่อย่างน้อยเป็นคน 2 พวก คือ พวกที่สูงกับพวกที่ราบดังนี้ :

ก. พวกที่สูง
พวกนี้อาศัยอยู่บริเวณป่าเขาลำเนสไพร มีแหล่งเพาะปลูกน้อย มีแหล่งน้ำหล่อเลี้ยง ไม่เพียงพอ เพาะปลูกด้วยระบบที่เรียกว่า เฮ็ดไฮ่ (ทำไร่) หรือแบบล้าหลัง คือเอาไฟเผาป่าให้ราบลง เป็นแปลงเท่าที่ต้องการ ไม่ต้องพรวน ไม่ต้องไถ อย่างดีก็เอาจอบช่วยเกลี่ยหน้าดินนิดหน่้อย แล้วก็เอาไม้ปลายแหลม แทงดินให้เป็นรู เอาเมล็ดพันธุ์พืชหยอดลงทีละรูๆ แล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ตามยถากรรม แล้วแต่ดิน ฝนและแดด แต่พันธุ์พืชหรือพันธุ์ข้าว ชนิดที่ปลูกก็เป็นพันธุ์ป่าชนิดที่ ไม่ต้องขวนขวายทดน้ำมาหล่อเลี้ยง พอพืชโตได้ที่มีดอกออกผลก็เก็บเกี่ยว แล้วก็ทิ้งดินแปลงนั้นให้หญ้า และต้นไม้ขึ้นรกชัฏไปตามเรื่อง ใช้ได้ครั้งเดียว ปีรุ่งขึ้นก็ขยับไปเผาป่าในที่ถัดออกไปใหม่ ขยับเวียนไปรอบทิศตามสะดวก ไม่มีใครหวงห้ามหรือจับจอง บางที 2-3 ปี ผ่านไปก็หันกลับมาเผาที่ตรงแปลงเดิมใหม่ แต่ถ้าหากดินจืด ใช้ไม่ได้ผล ก็ย้ายหมู่บ้านกันเสียที ไปเลือกทำเลใหม่ หอบไปแต่สิ่งของสำคัญๆ ไม่มีสมบัติ (จิตร ภูมิศักดิ์, ความเป็นมาของคำสยาม, พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2519, หน้า 238.)

ข. พวกที่ราบ
พวกนี้อาศัยบริเวณที่ราบลุ่มในหุบเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำ และที่ราบตามชายฝั่งทะเล ซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูก กว้างขวางกว่าเขตที่สูงมีน้ำท่วมถึง หรือมีการชักน้ำเข้ามาหล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ที่เพาะปลูกได้ ทำให้มีโคลนตะกอนจากที่อื่นๆ เข้ามาทับถมกลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติ ที่ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์เสมอๆ ทุกๆปี จนไม่ต้องโยกย้ายไปหาที่เพาะปลูกใหม่ และสามารถเก็บเกี่ยวพืชผลได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย พอเลี้ยงคนได้จำนวนมาก ทั้งมีส่วนเกินพอที่จะนำไปแลกเปลี่ยนสิ่งของกับชุมชนอื่นๆ ด้วย ทำให้ท้องถิ่นนั้นๆ มีผู้คนหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ

ในที่สุดก็แบ่งงานกันทำกิจกรรมเฉพาะ รวมทั้งมีโอกาส ร่วมมือในกิจการงานด้านต่างๆ เช่น ทดน้ำหรือระบายน้ำเพื่อการเพราะปลูก ติดต่อแลกเปลี่ยนสิ่งของกับชุมชนอื่น และขยายชุมชนไปยังบริเวณใกล้เคียง

ฉะนั้นเขตนี้มักมีพัฒนาการจาก หมู่บ้าน เป็น เมือง แล้วก้าวหน้าเป็น รัฐ และ อาณาจักร ได้ แต่ก็มิได้หมายความว่าทุกหนทุกแห่งในเขตที่ราบ จะมีโอกาสก้าวหน้าได้เหมือนกันหมด เพราะยังมีข้อแตกต่างกันด้านอื่นๆ ที่อาจจะเป็นทั้งสิ่งเอื้ออำนวย และข้อจำกัดอีก

ค. พวกที่สูง-ที่ราบ ผสมกลมกลืนกันเป็น "ชาวสยาม"
พวกที่สูง มีความรู้ และชำนาญในการถลุงโลหะ ส่วนพวกที่ราบมีความรู้ และชำนวญการทำนาปลูกข้าวในที่ลุ่ม ทั้งสองพวกนี้ มีการแลกเปลี่ยนสิ่งของกันตลอดเวลา จนถึงระยะเวลาหนึ่งพวกที่สูงก็ลงมาอยู่ที่ราบ แล้วผสมกลมกลืนทางสังคม และวัฒนธรรม มีร่องรอยอยุ่ในนิทานปรัมปราหลายเรื่อง

แต่นิทานเรื่องใหญ่ และสำคัญที่สะท้อนความสัมพันธ์ของชนกลุ่มต่างๆ ทั้งพวกที่สูงและพวกที่ราบทั่วสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะบริเวณ 2 ฝั่งโขง ทางล้านนากับล้านช้าง คือเรื่องท้าวฮุ่ง หรือ ขุนเจือง อาจมีบรรพบุรุษเป็นพวกที่สูง แต่เป็นวีรบุรุษข้ามพรมแดนทางเผ่าพันธุ์ เพราะแต่งงานกับพวกที่ราบด้วย แล้วกลายเป็นวีรบุรุษในอุดมคติของกลุ่มชน ทั้งพวกที่สูง และ พวกที่ราบ (สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ, ท้าวฮุ่งขุนเจือง มหากาพย์ของอุษาคเนย์, ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ, สำนักพิมพ์มติชน, 2538.)

คนที่สูงกับที่ราบ ผสมกลมกลืนกันทางเผ่าพันธุ์ สังคมวัฒนธรรม เมื่อนานเข้าก็เป็นพวกเดียวกัน ตั้งหลักแหล่งอยู่ร่วมกันในดินแดน ที่คนภายนอกเรียกสยาม คนพวกนี้เลยถูกเรียกอย่างรวมๆ เป็นชาวสยามด้วย

2. คนภายนอก 3,000 ปีมาแล้ว

คนภายนอก ที่เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งหลักแหล่งแห่งหน จนเป็นบรรพบุรุษมนุษย์สุวรรณภูมิ และบรรพชนคนอีสาน มาจากทุกทิศทางทั้งใกล้ - ไกลและทางบก - ทางทะเล

ก. ราว 3,000 ปีมาแล้ว มาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
คนพวกนี้มาจากทางตอนใต้ของจีนปัจจุบัน (แต่ครั้งนั้น 3,000 ปีมาแล้ว ยังไม่เป็นดินแดนของจีน) เช่น ยูนนาน กวางสี กวางตุ้ง เวียดนาม ฯลฯ รวมทั้งลาว

สิ่งสำคัญที่คนภายนอกพวกนี้นำเข้ามาด้วยคือ ภาษา ที่ปัจจุบันเรียกตระกูลไทย-ลาว มีหลักฐานแน่นหนาว่า เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว คนพื้นเมืองในกวางสี-กวางตุ้ง พูดภาษาตระกูลไทย-ลาวแล้ว และต่อมายอมรับเป็น ภาษาการค้า หรือภาษากลาง ในการติดต่อสื่อสารระหว่างชาติพันธุ์ต่างๆ

นอกจากนั้นยังมีสิ่งอื่นอีก เช่น ระบบความเชื่อ เรียก ศาสนาผี เช่น แถน ฯลฯ ประเพณีพิธีกรรมโดยเฉพาะ ประเพณีฝังศพครั้งที่ 2 และเทคโนโลยีสัมฤิทธิ์ เช่น มโหระทึก (หรือฆ้องบั้ง กลองทอง กลองกบ ฯลฯ)

คนพวกนี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่สองฝั่งโขงทั้งลาวและอีสาน แต่เคลื่อนย้ายไปมาแล้วแต่หลักแหล่ง กว้างไกลไปถึงลุ่มน้ำสาละวิน (เช่น ไทยใหญ่ ฯลฯ) ลุ่มน้ำน่าน-ยม (เช่น อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย ฯลฯ) บางพวกยังลงไปถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างทางลพบุรี และสุพรรณบุรีด้วย

ข. ราว 2,000 ปีมาแล้ว มาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
ราว 2,000 ปีมาแล้ว หรือราวหลัง พ.ศ. 500 มีคนจากทิศตะวันตกเฉียงใต้กลุ่มหนึ่ง จากชมพูทวีปและลังกาทวีป เดินทางทะเลอันดามันเข้ามาแลกเปลี่ยน ค้าขายกับคนพื้นเมืองสุวรรณภูมิ เพื่อส่งต่อถึงจีนฮั่น คนตะวันตกเฉียงใต้พวกนี้ มีทั้งพ่อค้า และนักบวช เป็นเหตุให้มีการเผยแผ่ศาสนาพราหมณ์ - พุทธ ผ่านชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทางที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา และปากแม่น้ำโขง ขึ้นมาถึงบริเวณ 2 ฝั่งโขง ทำให้มีคนตะวันตกเฉียงใต้บางพวก เข้ามาตั้งหลักแหล่งทางอีสานด้วย

นอกจากนั้นยังมีคนพื้นเมืองบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา อ่าวไทย (ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน) และจากปากแม่น้ำโขง (บริเวณกัมพูชา กับเวียดนามทุกวันนี้) ที่นับถือพราหมณ์ - พุทธมหายาน คนพวกนี้อาจเรียกรวมๆ อย่างยกย่องว่า ขอม เพราะมีความรู้ทางศาสนา อักษรศาสตร์ และเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น แกะสลักหิน สร้างปราสาทหิน ฯลฯ บางที่ยกย่องเป็นครู แล้วเรียกครูขอมก็มี หลักฐานมีทั่วไปในสมัยหลังๆ เช่น ปราสาทพิมาย ฝ่ายพุทธมหายาน (นครราชสีมา) ปราสาทพนมรุ้ง ฝ่ายพราหมณ์ (บุรีรัมย์) เป็นต้น

ที่มา : Amata Foundation Newsletter Vol.4 ฉบับพิเศษ มิถุนายน - กรกฎาคม 2549