วันจันทร์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ເວົ້າເຣື່ອງ "ສຍາມ, ໄທຍ, ໄທ ໃຫ້ຟັງ"

໑. ອາຍາຈັກອາຍຸທະຍານັ້ນ ເປັນອານາຈັກຂອງພວກ "ສຍາມ" ສະຖາປານາ ໒ ຄັ້ງ ຄື ພ.ສ ໑໘໙໓ ນັ້ນແມ່ນຣາມາທິບໍດີທີ ໑ (ອູ່ມອງ) ໄດ້ທຳການສະຖາປານາອານາຈັກ ອະໂຍທະຍາ ປ່ຽຍມາເປັນອາຍຸທຍາ ດ້ານຝັ່ງຕາເວັນອອກ (ສະໄໝດຽວກັບພຣະເຈົ້າຟ້າງຸ່ມຂອງເຮົາ).
໒. ສ່ວນສຸໂຂທັຍນັ້ນ ແມ່ນອານາຈັກຂອງໄທ(ບໍ່ມີໂຕ ຍ) ໃນປີ ພ.ສ ໑໗໘໑ ໂດຍຂຸນອິນທະຣາທິຕຍ໌ ແລະ ຂຸນບາງກາງທ້າວ, ຕໍ່ມາໃນ ພ.ສ ໑໘໒໒ ຂຸນຣາມຄຳແຫງກໍໄດ້ສະຖານປານາອີກ, ໃນປີ ພ.ສ ໑໙໒໑ ພຣະເຈົ້າທອງລັ່ນ ໄດ້ຍົກທັບໄປຕີເອົາ ສຸໂຂທັຍ ຂອງໄທ ໃນສະໄໝຂອງພຣະເຈົ້າ ໄສລືໄທ ສຸໂຂທັຍ ໄດ້ກາຍເປັນເມືອງຂຶ້ນຂອງອະຍຸທະຍາ (ສຍາມ) ເຫດການສອງອານາຈັກປ່ຽນແປງໄປຕາມເຫດການທາງປະຫວັດສາດ ໃນປີ ພ.ສ ໒໐໘໕ ແລະ ພ.ສ ໒໑໐໑ ທັງສອງອານາຈັກ ໄດ້ກາຍເປັນປະເທດຣາຊຂອງພະມ້າ ເລື້ອຍມາ ຈົນມາເຖິງປີ ພ.ສ ໒໓໑໐ ກໍເສັຍເອກຣາໃຫ້ພະມ້າອີກ ຈົນມາເຖິງສະໄໝພຣະເຈົ້າຕາກສິນ ໃນປີ ພ.ສ ໒໓໑໑ ກໍສະຖາປານາກຸງທົນບູຣີ ເປັນຣາຊະທານີ (ຮ່ວມສະໄໝກັບພຣະເຈົ້າສີຣິບຸນຍະສານ ລາວເສັຍເອກະຣາດໃຫ້ສຍາມ ໃນປີ ພ.ສ ໒໓໑໗ ໃນສະໄໝພຣະເຈົ້າສີຣິບຸນຍະສານນີ້ເອງ).
໓. ຕໍ່ມາໃນ ພ.ສ ໒໓໒໕ ພຣະເຈົ້າມະຫາກະສັດເສີກ ໄດ້ທຳການຣັດຖະປາຫານຂຶ້ນໃນກຸງທົນບູຣີ ຈັບເອົາພຣະເຈົ້າຕາກສິນປະຫານຊີວິດ ແລະ ຕັ້ງພຣະອົງເອງເປັນ "ພຣະພຸດທະຍອດຟ້າຈຸລາໂລກມະຫາ​ຣາຊ ຣ ໑) ແລະ ຍ້າຍນະຄອນຫຼວງຈາກບາງກອກ(ທົນບູຣີ)ແລ້ວຕັງກຸງເທບມະຫານະຄອນ ທີ່ຝັ່ງຕາເວັນອອກ, ສ້າງຕັ້ງອານາຈັກຂຶ້ນ ຊື່ວ່າ "ຣັດຕນະໂກສິນ" ໂດຍ ຖືຣືກຕາມພຣະແກ້ວມໍຣະກົດນັ້ນ. ທີ່ລາວສະໄໝນັ້ນກໍກົງກັບສະໄໝຂອງພຣະເຈົ້ານັນທະເສນ (ເປັນພຽງປະເທດຣາຊ ບໍ່ແມ່ນຫົວເມືອງຂຶ້ນ) ຈົນເຖິງສະໄໝພຣະເຈົາອະນຸວົງ(ໄຊເສດຖານທິຣາຊທີ ໓) ຄອງນະຄອນວຽງຈັນ ໃນປີ ພ.ສ ໒໓໔໗ ຈົນມາເຖິງປີ ພ.ສ ໒໓໖໙-໙໐ ລາວເສັຍເອກະຣາຊໃຫ້ແກ່ສຍາມໂດຍສິ້ນເຊິງ, ມາເຖິງຕອນນີ້ລາວກາຍເປັນ ຫົວເມືອງຂຶ້ນຂອງສຍາມເຕັມຕົວ.ໃນສະໄໝພຣະປິ່ນເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ ຣ ໓. ຕອນນີ້ຍັງຍັງຄົງຊື່ວ່າສຍາມຢູ່.
- ນັບແຕ່ນັ້ນມາສຍາມ ກໍໄດ້ວິວັດທະນາການຕາມຍຸກຂອງການລ່າອະນານິຄົມ ລາວເອງຍັງບໍ່ທັນເຄື່ອນໄຫວ້ໃນເວທີສາກົນເທົ່າທີ່ຄວນ ເພາະອຳນາດສ່ວນໃຫຍ່ຍັງຂຶ້ນກັບສຍາມ ຈົນມາເຖິງປີ ພ.ສ ໒໔໓໗ ລາວສ່ວນໜຶ່ງຂຶ້ນກັບຝຣັ່ງ ໃນສະໄໝພຣະຈຸນຈອມເກົ້າເຈົ້າຢູ່ຫົວ ຣ.໕ ຕອນນີ້ ເຮົາຈະເຫັນວ່າຍັງເປັນປະເທດສຍາມຢູ່ ດັ່ງເຮົາຈະເຫັນສັນຍາຕ່າງທີ່ຝຣັ່ງທຳຂຶ້ນ ກ່ຽວກັບລາວຈະໃຫ້ຊື່ວ່າ "ສັນຍາຝຣັ່ງ-ສຍາມ" (ບໍ່ແມ່ນໄທຍ) ລຸເຖີງປີ ພ.ສ ໒໔໓໒ ສຍາມ ຈຶ່ງໄດ້ປ່ຽມຊື່ປະເທດມາເປັນ "ໄທຍ(ມີ ໂຕ ຍ)" ໃນສະໄໝພູມີພົນອະດູນຍະເດຊ ຣ ໙ (ປັດຈຸບັນ) ເຊິ່ງມີຫຼັກຖານດັ່ງນີ້ " อนึ่ง คำว่าสยามหมายถึงอาณาเขตของขัณทสีมา ที่ีอยู่ในความเป็นผู้ครอบครองของพระมหากษัตริย์ไทย ประเทศชื่อว่าราชอาณาจักรสยาม โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงค์จักรี แต่ต่อมาภายใต้การนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนชื่อสยามเป็น “ไทยแลนด์” เมื่อปี พ.ศ. 2432 และด้วยความเข้าใจผิดในอักษรโรมัน เขียนว่า Siam อ่านว่า เซียม หรือเสียม ซึ่งฝรั่งเองก็ฟังผิด สำเนียงสยามจึงถูกถ่ายทอดเป็น Siam และก็ไปตรงกับชื่อเมืองในเขมร ว่า เสียมเรียบ หรือเสียมราด โดยไม่ได้คิดถึงคำว่า “สยมภู” ซึ่งหมายถึง “แผ่นดินของพระผู้เป็นใหญ่” ຈາກນັ້ນເປັນຕົ້ນມາ ສຍາມ ກໍໄດ້ກາຍເປັນໄທຍ໌ ເປັນຕົ້ນມາ ແຕ່ບໍ່ແມ່ນ "ໄທ" ສາແລ້ວ ຄຳວ່າ ໄທ ໝາຍເຖິງ ຄົນເຜົ່າລາວທັງມວນ.
http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=319
www.sentangonline.com/sentangonline/021/textthai021@17.html


วันศุกร์ที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ภูไท

ประวัติความเป็นมา
ในพงศาวดารเมืองแถง(แถน) กล่าวถึง การกำเนิดมนุษย์และถิ่นกำเนิดของชาวภูไทว่า เกิดจากเทพสามีภรรยา 5 คู่ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน เมื่อหมดอายุบนสวรรค์จึงอธิษฐานจิตเนรมิตน้ำเต้าขึ้นมา เทพทั้ง 5 คู่ ก็เข้าไปอยู่ในน้ำเต้า น้ำเต้าลอยจากสวรรค์มาตกบนภูเขาที่ทุ่งนาเตา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองแถงไปทางตะวันออกเป็นระยะทางเดิน 1 วัน น้ำเต้าได้แตกออก เทพได้กลายเป็นมนุษย์ 5 คู่ ออกมาจากน้ำเต้าทีละคู่ตามลำดับ คือ ข่า แจะ ภูไท ลาวพุงขาว ฮ่อ(จีน) และแกว(ญวน) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมนุษย์ 5 เผ่าพันธุ์ในเวลาต่อมาคนเหล่านี้ได้แยกย้ายกันตั้งรกรากในพื้นที่ต่าง ๆสำหรับชาวภูไทตั้งบ้านเรือนที่เมืองแถง มีขุนลอคำเป็นหัวหน้า ประชากรของภูไทได้เพิ่มจำนวนถึง 33,000 คนในเวลาต่อมา และขยายตัวไปตั้งรกรากหลายเมือง ขุนบรมราชบุตรของขุนลอคำ ได้เป็นเจ้าเมืองแถงใน พ.ศ. 1274 ขุนลอบุตรของขุนบรมราชาได้มาตั้งเมืองหลวงพระบางใน พ.ศ. 1283จากพงศาวดารเมืองไล กล่าวว่า ชาวภูไท ในดินแดนนี้ 2 พวกคือ
1. ภูไทขาว
อาศัยอยู่เมืองเจียน เมืองมุน เมืองบาง มีเมืองไลเป็นเมืองใหญ่ รวม 4 เมือง ดินแดนแถบนี้อยู่ใกล้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อากาศหนาว ชาวภูไทจึงมีผิวขาว อีกทั้งได้รับอารยธรรมจากจีน โดยเฉพาะการแต่งกายในพิธีศพ ซึ่งนิยมนุ่งขาว ห่มขาว จึงเรียกชาวภูไทกลุ่มนี้ว่า
ภูไทขาว”
2. ภูไทดำ
อาศัยอยู่เมือง ควาย,เมืองคุง เมืองม่วย, เมืองลา เมืองโมะเมืองหวัด เมืองซาง มีเมืองแถง(แถน) เป็นเมืองใหญ่ รวมเป็น 8 เมือง ชาวภูไทกลุ่มนี้มีผิวคล้ำกว่าภูไทตอนบน และนิยมแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองย้อมครามเข้ม และอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำดำ ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม จึงเรียกว่า ภูไทดำ”ชาวภูไททั้ง 2 กลุ่ม รวมกันแล้วเป็น 12 เมือง จึงเรียกว่า แคว้น สิบสองจุไทย”เมืองไล เมืองของชาวภูไทขาว ตั้งอยู่ในดินแดนคาบเกี่ยว หรือตะเข็บของลาว จีน และญวน เพื่อความอยู่รอด เมืองนี้จึงจำเป็นต้องอ่อนน้อมแก่ทั้ง 3 ฝ่าย ต้องส่งส่วยแก่ทุกฝ่ายเดิมแคว้นสิบสองจุไทย ขึ้นกับอาณาจักรน่านเจ้า ครั้นต่อมาไปขึ้นอยู่กับอาณาจักรโยนกเชียงแสน เมื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสน ถูกพวกภูไทมาทำลายลง สิบสองจุไทยได้ไปขึ้นกับแคว้นหิรัญเงินยวง (ต่อมาแคว้นนี้เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรลานนา)ใน พ.ศ.2250 อาณาจักรล้านช้างได้แตกเป็น 2 อาณาจักร คือทางเหนือ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ทางใต้ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ สิบสองจุไทยอยู่ภายใต้การดูแลของอาณาจักรแรกต่อมาบังเกิดการอัตคัดอดอยาก และความขัดแย้งระหว่างท้าวก่า หัวหน้าของชาวภูไท กับเจ้าเมืองนาน้อยอ้อยหนู (น้ำน้อยอ้อยหนู) ท้าวก่าจึงพา ชาวภูไทเป็นจำนวนมาก (ประมาณหมื่นคน) อพยพจากเมืองนาน้อยอ้อยหนูมาขอขึ้นกับเวียงจันทน์ โดยทางเวียงจันทน์ให้ไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองวัง (อยู่ทางตะวันออกของเมืองมุกดาหาร ห่างประมาณ 150 กิโลเมตร) ชาวภูไทกลุ่มนี้ ได้ส่งส่วยมีดโต้และขวานให้เวียงจันทน์ ปีละ 500 เล่ม แต่เนื่องจากเมืองวังอยู่ชายแดนอาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ แต่ใกล้พรมแดนเวียดนาม พวกเขาจึงได้ส่งส่วยขี้ผึ้ง 5 ปึก (ปึกหนึ่งหนัก 5 ชั่ง) ให้แก่ เจ้าเมืองคำรั้วของเวียดนามด้วย
การอพยพของชาวภูไทเข้าสู่ประเทศไทย มี 3 ระลอกด้วยกันคือ
ระลอกที่ 1
สมัยธนบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2321-2322 เมื่อกองทัพไทยซึ่งมีเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) กับเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ได้นำกองทัพไทยสองหมื่นคนตีหัวเมืองลาว ตั้งแต่จำปาศักดิ์ถึงเวียงจันทน์เอาไว้ได้ หลวงพระบางซึ่งไม่ถูกกับเวียงจันทน์มาก่อนก็นำกำลังมาช่วยตีเวียงจันทน์ด้วย แม่ทัพไทยได้ให้กองทัพหลวงพระบางไปตีเมืองทันต์ (ญวนเรียก ซือหวี)เมืองมวย ซึ่งเป็นเมืองของชาวภูไทดำได้ทั้งสองเมือง แล้วกวาดต้อนชาวภูไทดำ(ลาวทรงดำ) เป็นจำนวนมากมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองเพชรบุรี นับเป็นชาวภูไทรุ่นแรกที่มาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย
ระลอกที่ 2
สมัยรัชกาลที่ 1 ใน พ.ศ. 2335 กองทัพเวียงจันทน์ตีหลวงพระบางแตกและจับกษัตริย์หลวงพระบางส่งกรุงเทพ ฯ ใน พ.ศ.2335-2338 กองทัพเวียงจันทน์ได้ตีเมืองแถง และเมืองพวน ซึ่งแข็งข้อต่อเวียงจันทน์ กวาดต้อนชาวภูไทดำ ลาวพวนเป็นเชลยส่งมากรุงเทพ ฯ รัชกาลที่ 1 ทรงมีรับสั่งให้ชาวภูไทดำประมาณ 4,000 คนไปตั้งถิ่นฐานที่เพชรบุรีเช่นเดียวกับชาวภูไทดำรุ่นแรก
ระลอกที่ 3
สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นการอพยพประชากรครั้งใหญ่ที่สุดจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่ในประเทศไทย สาเหตุของการอพยพ คือ เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ใน พ.ศ. 2369 - 2371 และเกิดสงครามระหว่างไทยกับเวียดนามในระหว่างปี พ.ศ.2376-2490 ยุทธวิธีของสงครามสมัยนั้น คือ การตัดกำลังฝ่ายตรงข้ามทั้งฝ่ายไทยและเวียดนามต่างกวาดต้อนประชากรในดินแดนลาวมาไว้ในดินแดนของตนสำหรับประชากรในดินแดนลาวที่ถูกไทยกวาดต้อนมาอยู่ในประเทศไทยจะมีทั้ง ภูไท กะเลิง โซ่ ญ้อ แสก โย้ย ข่า ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกกวาดต้อนมาไว้ในภาคอีสาน ส่วนลาวพวน ลาวเวียง กวาดต้อนให้มาตั้งถิ่นฐานทั้งในภาคอีสานและภาคกลางของประเทศไทย แถบฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม เป็นต้นชาวภูไทที่ถูกกวาดต้อนมาในระลอกที่ 3 จะแยกเป็น 8 กลุ่มด้วยกัน สำหรับชาวภูไทในเขตจังหวัดสกลนคร เป็นพวกที่อพยพเข้ามาในกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 8 ดังนี้
กลุ่มที่ 3
อพยพมาจากเมืองวัง มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร (ใน พ.ศ.2513 อำเภอพรรณานิคม มี 7 ตำบล มีชาวภูไททั้ง 7 ตำบล รวม 65หมู่บ้าน 32,037 คน อำเภอเมืองสกลนคร มีภูไท 48 หมู่บ้าน ใน 13 ตำบล จาก 17 ตำบล อำเภอพังโคน มีภูไท 4 ตำบล 23 หมู่บ้าน อำเภอบ้านม่วง มีภูไท 3 ตำบล 16 หมู่บ้าน อำเภอวานรนิวาส มีภูไท 4 ตำบล 8 หมู่บ้าน อำเภอกุสุมาลย์ 2 ตำบล 4 หมู่บ้านอำเภอสว่างแดนดิน 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน อำเภอกุดบาก 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน อำเภอวาริชภูมิ 4 ตำบล 42 หมู่บ้าน รวมทั้งจังหวัดสกลนครมีภูไท 212 หมู่บ้าน 20,945 หลังคาเรือน 128,659 คน)
กลุ่มที่ 8
อพยพจากเมืองกะป๋อง มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านปลาเป้า บ้านนียกเป็นเมืองวาริชภูมิ และตั้งท้าวพระยาสุวรรณเป็นพระสุรินทรบริรักษ์ เป็นเจ้าเมืองคนแรก ใน พ.ศ. 2410 ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 (ใน พ.ศ.2513 มีภูไทในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร 4 ตำบล ตำบลวาริชภูมิ 1 หมู่บ้าน ตำบลคำบ่อ 12 หมู่บ้าน ตำบลปลาโหล 9 หมู่บ้าน และตำบลเมืองลาด 7 หมู่บ้าน รวม 42 หมู่บ้าน)ชาวภูไทที่ถูกกวาดต้อน-อพยพมาตั้งภูมิลำเนา ในจังหวัดสกลนคร อย่างเป็นปึกแผ่น ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข หัวหน้าแต่ละพวกที่แยกย้ายกันอยู่ ได้ติดต่อปรึกษากับเจ้าเมืองที่ตนอาศัยอยู่เพื่อขอตั้งเมือง เช่น เจ้าเมืองโฮงกลางสี ที่อยู่บ้านพังพร้าว ท้าวแก้ว อยู่ที่บ้านจำปา และท้าวราชนิกุล อยู่บ้านหนองหอย ก็ติดต่อกับเจ้าเมืองสกลนคร เพื่อตั้งหมู่บ้านที่ตนตั้งภูมิลำเนาอยู่เป็นเมือง คือ บ้านพังพร้าว ขอตั้งเป็นเมืองพรรณานิคมบ้านจำปา ขอตั้งเป็นเมืองจำปาชนบท และบ้านหนองหอย ขอตั้งเป็นเมืองวาริชภูมิ เป็นต้นสำหรับชาวภูไททั้ง 8 กลุ่ม ได้ขยายจำนวนออกไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคอีสานอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา รวมเป็น 9 จังหวัด 33 อำเภอ 494 หมู่บ้าน สรุปได้ดังนี้

1.จังหวัดสกลนคร 212 หมู่บ้าน 9 อำเภอ(พรรณานิคม เมืองสกลนครวาริชภูมิ พังโคน บ้านม่วง วานรนิวาส กุสุมาลย์ สว่างแดนดิน กุดบาก)
2. จังหวัดนครพนม 131 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (นาแก เรณูนคร ธาตุพนม
ศรีสงคราม เมืองนครพนม)
3. จังหวัดมุกดาหาร 68 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (คำชะอีก เมืองมุกดาหาร
นิคมคำสร้อย ดอนตาล หนองสูง)
4. จังหวัดกาฬสินธุ์ 63 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (เขาวง กุฉินารายณ์ คำม่วง สมเด็จ
สหัสขันธ์)
5. จังหวัดหนองคาย 6 หมู่บ้าน 3 อำเภอ(โซ่พิสัย บึงกาฬ พรเจริญ)
6. จังหวัดอำนาจเจริญ 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ (เสนางคนิคม ขานุมาน)
7. จังหวัดอุดรธานี 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ (วังสามหมอ ศรีธาตุ)
8. จังหวัดยโสธร 3 หมู่บ้าน 1 อำเภอ (เลิงนกทา)
9. จังหวัดร้อยเอ็ด 1 หมู่บ้าน (โพนทอง)

วัฒนธรรมการแต่งกาย

โดยลักษณะทางสังคม ชาวภูไท(ผู้ไทย) เป็นกลุ่มที่มีความขยัน และอดออมเป็นพิเศษ และมีวัฒนธรรมในเรื่องการถักทอเสื้อผ้าเด่นชัด จึงปรากฎเสื้อผ้าชนิดต่างๆ ทั้งฝ้าฝ้าย ผ้าไหมในกลุ่มชาวภูไท(ผู้ไทย) โดยเฉพาะผ้าแพรวานับว่ามีวัฒนธรรมเรื่องเสื้อผ้าเด่นชัดมาก

ผ้าซิ่น วัฒนธรรมของกลุ่มภูไทที่เด่นชัด คือ การทอผ้าซิ่นหมี่ตีนต่อเป็นผืนเดียวกับผ้าผืน เช่น ตีนต่อขนาดเล็ก กว้าง 4 ถึง 5 นิ้ว (มือ) ที่เรียกว่า ตีนเต๊าะ เป็นที่นิยมในหมู่ภูไท ทอเป็นหมี่สาด มีหม้อย้อมคราม จนเป็นสีครามเกือบเป็นสีดำ แต่ชาวบ้านเรียกว่า“ผ้าดำ” หรือซิ่นดำ ลักษณะเด่นของซิ่นหมี่ชาวภูไท คือการทอและลวดลาย เช่น ทอเป็นลายขนาดเล็กๆ นอกจากนี้มีลายอื่น ๆ เช่น หมี่ปลา หมี่ตุ้ม หมี่กระจัง หมี่ข้อ ทำเป็นหมี่คั่น มิได้ทอเป็นหมี่ทั้งผืน แต่หากมีลายต่าง ๆ มาคั่นไว้ สีที่นิยมคือ สีเขียว สีน้ำเงิน สีแดง สีม่วง พื้นมักใช้เครือหูกฝ้ายสีเปลือกอ้อย นอกจากนี้ยังพบผ้ามัดหมี่ฝ้ายขาวสลับดำในกลุ่มผู้ไทย
เสื้อ
นิยมทำเป็นเสื้อแขนกระบอกสามส่วนติดกระดุมธรรมดา กระดุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ เช่น เหรียญสตางค์ห้า สตางค์สิบ มาติดเรียงเป็นแถว นิยมใช้เป็นผ้าย้อม ครามเข้มใน ราว พ.ศ. 2480 โดยมีผู้นำผ้าขลิบแดงติดชายเสื้อ เช่น ที่คอสาบเสื้อปลายแขนเพื่อใช้ในการฟ้อนภูไทสกลนคร และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

ผ้าห่ม การทอผ้าผืนเล็ก ๆ เป็นวัฒนธรรมของชาวกลุ่มพื้นอีสานมานานแล้วผ้าห่มใช้สำหรับห่มแทนเสื้อกันหนาว ใช้คลุมไหล่ เช่นเดียวกับไทยลาวที่นิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดไหล่ ผ้าห่มของกลุ่มชนต่าง ๆ ในเวลาต่อมามีขนาดเล็ก ทำเป็นผ้าสไบเป็นส่วนแทนประโยชน์ใช้สอย เดิมคือห่มกันหนาว หรือปกปิดร่างกายส่วนบน โดยการห่มทับเสื้อ ผ้าห่มของภูไทที่เรียกว่า ผ้าจ่อง เป็นผ้าทอด้ายยืน มีเครื่องลาย เครื่องพื้นหลายแบบนอกจากนี้ยังมีผ้าแพรวานอกจากผ้าจ่องแล้ว ชาวภูไทยังมีผ้าลาย ซึ่งใช้เป็นผ้ากั้นห้อง หรือใช้ห่มแทนเสื้อกันหนาวหรือต่อกลาง 2 ผืน เป็นผ้าห่มขนาดใหญ่พอสมควร แต่ผ้าลายที่มีชื่อคือผ้าลายบ้านนางอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร การแต่งกายของชาวภูไท ยังนิยมสายสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ข้อเท้า (ก้องแขน ก้องขา) ทำด้วยโลหะเงิน เกล้าผมเป็นมวยสูงตั้งตรงในสมัยโบราณใช้ผ้ามนหรือแพรมน ทำเป็นผ้าสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ม้วนผูกมวยผมอวดลายผ้าด้านหลังใน ปัจจุบันใช้ผ้าแถบเล็ก ๆ สีแดงผูกแทนแพรมน

เมืองแถน

เมืองแถน

หยุดวันอาทิตย์ไม่ได้อ่านหนังสือมาหลายอาทิตย์แล้ว (กล่าวคือ ไม่ได้หยุด :P) พอดีวันก่อนได้คุยกับคุณวีร์เรื่องเมืองแถน แต่นึกชื่อหนังสือที่พูดถึงไม่ออก วันนี้เลยลองค้นดู ก็ยังไม่พบเล่มที่ว่าอยู่ดีแหละ แต่ไปเจอพงศาวดารลาวแทน เนื้อหาก็อย่างเดียวกัน โดยเป็นฉบับของมหาสิลา วีระวง นักวิชาการลาว เรียบเรียงโดย ทองสืบ ศุภะมาร์ค ทั้งนี้ ได้เปรียบเทียบกับ ข้อมูลของไทย จากเว็บ หอมรดกไทย พบว่าเนื้อหาคล้ายกันมาก

(ค้นเว็บแล้ว เจอกระทู้ ต้นกำเนิดอาณาจักรล้านช้าง มีแผนที่ประกอบด้วย)

มหาสิลา บอกว่า “เมืองแถน” มีความหมายถึงสองอย่าง อย่างหนึ่งหมายถึงชื่อของอาณาจักรหนองแสเดิม (คืออาณาจักรเพงาย หรือปากอ้าย คนธรรมดาเรียกเมืองแถน) ที่ต่อมาถูกจีนตีแตก แล้วถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองยี่เจ้า” (เมืองสองเจ้า) เพราะมีการแตกเป็นสองส่วน คือพวกที่อยู่นครเพงาย เรียกว่า “อ้ายลาว” ส่วนพวกอยู่ทางใต้ เรียกว่า “งายลาว” ต่อมาเมื่อหลบมาตั้งอิสระที่หนองแสได้ ก็มีกษัตริย์ปกครองสืบมา จนถึงขุนบรมราชาธิราช (พีล่อโก๊ะ) ไม่ไว้ใจภัยคุกคามจากจีน จึงได้มาตั้งเมืองแถนขึ้นที่ทุ่งนาน้อยอ้อยหมู เป็น “เมืองแถน” ในความหมายที่สอง ชื่ออย่างเป็นทางการคือ “เมืองกาหลง”

หนองแส คือหนองน้ำอันกว้างใหญ่ อยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำโขง ในเขตมณฑลยูนนานของจีนในปัจจุบัน ในสมัยโบราณเรียกว่า “หนองแส” หรือ “หนองกระแสแสนย่าน” จีนเรียกว่า “ตาลีฟู”

เมื่อเมืองแถนแรก คือเพงายถูกจีนยึดครองนั้น คนไทส่วนมาก (ในพงศาวดารลาว จะใช้คำว่า “คนลาว” ไม่ใช่ “คนไท”) ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่หนองแสนี้ พอดีแผ่นดินจีนเกิดจลาจลสามก๊ก คนไทจึงมีโอกาสตั้งตัว โดยสร้างเมืองใหญ่ๆ ถึง ๖ เมือง คือ ซีล่ง ม่งเส ล่างกง มุ่งซุย เอี้ยแซ และเท่งเซี้ยง โดยที่ม่งเส (หนองแส) เป็นเมืองใหญ่และเป็นเมืองหลวงของประเทศ ชื่อของอาณาจักรใหม่นี้ จึงชื่อว่า อาณาจักรหนองแส หรือที่ฝ่ายจีนเรียกว่า “น่านเจ้า” แต่ต่อมาก็ถูกขงเบ้งรุกราน จนต้องตกเป็นเมืองขึ้นของจีน ก่อนจะมากู้อิสรภาพได้อีกครั้งใน พ.ศ. ๙๓๘

จากนั้น น่านเจ้าปกครองตนเองมาจนถึง พ.ศ. ๑๑๙๒ จึงมีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า “สินุโล” ได้รวบรวมการปกครองเมืองทั้งหกเข้าด้วยกัน ทำให้น่านเจ้าเป็นปึกแผ่น และเจริญขึ้นมาก พระเจ้าสินุโลได้ใช้นโยบายเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน เพื่อป้องกันการรุกราน ต่อจากนั้นก็มีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีก ๔ พระองค์ ก็มาถึงขุนบรมราชาธิราช (พีล่อโก๊ะ) ทรงเห็นว่า จีนมีกำลังทหารเข้มแข็ง แม้จะผูกไมตรีก็ยังไม่น่าไว้ใจ จึงเกณฑ์ไพร่พลลงมาสร้างเมืองใหม่ ที่ทุ่งนาน้อยอ้อยหมู ซึ่งก็คือ “เมืองแถน” แห่งใหม่ เรียกอีกชื่อว่าเมือง “กาหลง” นั่นเอง

ที่ตั้งของเมือง “กาหลง” นี้ มหาสิลาบอกว่า ได้แก่เมืองเชียงรุ้งในปัจจุบัน แต่พงศาวดารไทยของพระบริรักษ์เทพธานีกล่าวว่า เมืองกาหลงนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลฝาย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

ขุนบรม (พีล่อโก๊ะ) ได้ประทับที่เมืองกาหลงอยู่ ๘ ปี โดยในระหว่างนี้ได้ตีหัวเมืองจีนได้หลายเมือง และสั่งให้พวกม่านสีสร้างเมือง “ต้าหอ” แล้วเสด็จขึ้นไปประทับ

ขุนบรมเป็นกษัตริย์นักรบ ได้ขยายอาณาเขตน่านเจ้าไปมาก หลายเมืองมาอ่อนน้อม โดยได้สมัญญาว่า “ยูนนานอ๋อง” นโยบายขยายอาณาเขตอย่างหนึ่งคือ การส่งโอรส ๗ องค์ แยกย้ายไปปกครองเมืองทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้ คือ (ตามตำนานขุนบรม)

  • ขุนลอ ครองเมืองชวา (เชียงทอง หลวงพระบาง ล้านช้าง)
  • ผาล้าน ครองเมืองต้าหอ หรือหอแต (สิบสองปันนา)
  • ท้าวจูสง ครองเมืองจูฬนี คือเมืองญวน (หัวพันทั้งห้าทั้งหก)
  • ท้าวคำผง ครองเมืองโยนก คือล้านนา
  • ท้าวอิน ครองเมืองลานเพีย คืออยุธยา
  • ท้าวกม ครองเมืองหล้าคำม่วน (มอญ)
  • ท้าวเจือง ครองเมืองปะกันเชียงขวาง

ต่อมา ขุนบรมก็ย้ายมาประทับที่หนองแสตามเดิม ให้ผาล้านครองเมืองต้าหอแทน เมื่อขุนบรมสวรรคต ขุนลอ (โก๊ะล่อฝง) ก็เสด็จมาหนองแส ปกครองน่านเจ้าต่อ ก่อนจะย้ายมาเมืองกาหลง (เมืองแถน) โดยมอบราชสมบัติให้ อีเมาชีน โอรสท้าวผาล้าน ครองหนองแสต่อ

พอได้ไปอ่านหนังสือ “ชนชาติไทในนิทาน” ของ อ. ศิราพร ณ ถลาง ก็พบ “เมืองแถน” อีกอัน คือ เดียนเบียนฟู โดย “พงศาวดารเมืองแถง” ของไทดำ มีความสัมพันธ์กับ “เมืองแถน” ในพงศาวดารล้านช้างด้วย ในพงศาวดารล้านช้าง มีตำนานขุนบรมบอกว่า แถนจี้น้ำเต้าปุง ปรากฏว่ามีคนออกมาจากน้ำเต้า รุ่นแรกนั้นใช้เหล็กซีเจาะ ซึ่งได้รูเล็ก ผู้คนต้องเบียดเสียดกันออกมา ผิวกายติดเขม่าควันดำทำให้ผิวคล้ำ คือพวกข่า ขมุ รุ่นที่สองใช้สิ่วเจาะ ผิวเลยขาวกว่า เป็นพวกลาว ไทดำ ไทขาว ไทลื้อ จากนั้น แถนส่งขุนบรมมาปกครอง ขุนบรมมีลูก ๗ คน ไปสร้างบ้านแปลงเมือง ดังที่กล่าวมาข้างต้น ตรงนี้ มาตรงกับพงศาวดารเมืองแถง บอกว่าแถนเอาคนและสัตว์ใส่น้ำเต้าปุง เมื่อน้ำเต้าแตกออก มีคนออกมา ๕ พวก คือข่าแจะ ตามด้วยผู้ไทดำ ลาวพุงขาว ฮ่อ และแกว นอกจากนั้น พงศาวดารเมืองแถง ยังอ้างว่า เมืองแถงเป็นถิ่นกำเนิดของชนชาติไท เพราะบ้านน้ำเต้าปุง และนาน้อยอ้อยหนูที่อ้างถึงใน พงศาวดารเมืองแถง และ พงศาวดารล้านช้าง นั้น มีสถานที่จริงที่เมืองแถนในเวียดนามนั่นเอง

วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ผีตาแฮก : ความเชื่อของชาวนาอีสาน

ผีตาแฮก : ความเชื่อของชาวนาอีสาน

ารปลูกข้าวในยุคสมัยต่าง ๆ ตามแบบแผนวิถีชีวิตของคนไทย มุ่งปลูกข้าวเพื่อบริโภค เป็นหลัก เหลือบริโภคก็เก็บไว้ในยุ้งฉาง จะนำไปแลกเปลี่ยนกับปัจจัยอื่น ๆ บ้าง ก็เฉพาะสิ่งที่จำเป็น จริง ๆ เช่น แลกกับเสื้อผ้า อาหาร เกลือ ยารักษาโรค แต่ไม่นิยมขายข้าว ไม่แลกเปลี่ยนข้าวกับ เครื่องประหัตประหาร ทั้งนี้เพราะคนไทยเชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีบุญคุณ มีจิตวิญญาณ มีเทพธิดา ชื่อว่า "แม่โพสพ" ประจำอยู่ ในท้องถิ่นบางแห่งเรียกว่า "นางโคสก" หรือ "แม่โคสก" เชื่อกันว่า นางมีอิทธิฤทธิ์สามารถดลบันดาลความสมบูรณ์พูนสุขแก่ผู้ปฏิบัติชอบต่อนางได้ และถ้าปฏิบัติ ไม่ดีจะได้ผลตรงข้าม ในอดีตหลังการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแต่ละปี ชาวบ้านจึงต้องจัดพิธีบายศรี สู่ขวัญให้นาง และปฏิบัติต่อนางอย่างเคารพนอบน้อม

เทพเจ้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้าวและการทำนา
การทำนาให้ได้ผลดีนั้นจะต้องถือปฏิบัติเคารพบูชาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อของ ชาวบ้านแต่ละท้องถิ่น เทพเจ้า เทวดาอารักษ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำนาก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งการปฏิบัติบูชาเซ่นไหว้ก็จะทำในโอกาสหรือวาระต่าง ๆ กัน เช่น พิธีจรดพระนังคัญแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีหลวง จัดขึ้นเพื่อให้เป็นขวัญกำลังใจแก่คนในชาติ ส่วนคนในท้องถิ่นอื่นก็จะมีพิธีกรรม แตกต่างกัน สำหรับคนอีสานแล้วจะยึดถือเทวดา ภูตผี ดังนี้
ตาแฮก หรือ ผีตาแฮก
ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นผีเฝ้าไร่นา เมื่อชาวบ้านเข้าหักร้างถางพง เพื่อแปรสภาพที่ดินไปเป็น ที่นา พวกเขาจะทำพิธีเชิญผีตาแฮกตนหนึ่งมาเป็นผู้เฝ้ารักษาที่นาและข้าวกล้า แต่ละปีเจ้าของนา จะต้องทำพิธีเซ่นสังเวยก่อนลงไถนา และเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว จะต้องแบ่งข้าวสี่เกวียน (จำลอง เล็กๆ) ให้แก่ผีตาแฮกด้วย
ตาปู่ หรือ ปู่ตา
เป็นผีประจำหมู่บ้านอันเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน การสร้างหมู่บ้านจะต้องทำศาล ปู่ตา แล้วทำพิธีอัญเชิญปู่ตาซึ่งถือเป็นผีบรรพบุรุษ ให้มาอยู่ทำหน้าที่คอยพิทักษ์รักษามนุษย์ สัตว์ และพืชพันธุ์ธัญญาหารในหมู่บ้านให้ปลอดภัย การติดต่อระหว่างปู่ตากับชาวบ้านจะผ่านตัวแทน คือ คนทรง หรือที่เรียกว่า "จ้ำ" เมื่อถึงเดือนหก (ประมาณเดือนพฤษภาคม) ทุกปีจะมีพิธีบวงสรวง ปู่ตา และเสี่ยงทายเรื่องความสุขสบาย ความอุดมสมบูรณ์ของหมู่บ้าน และทำนายปริมาณน้ำฝน ในปีนั้น ๆ
แถน
เป็นเทวดาหรือผีฟ้าอยู่บนสวรรค์ มีอำนาจบันดาลให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ แก่มนุษย์ สัตว์ และพืชพันธุ์ธัญญาหารบนโลกได้ ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือแถนมาก ยามทุกข์ร้อนสิ่งใด มักจะบนบานให้แถนช่วยเหลือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำนา คือ ชาวบ้านเชื่อว่า แถนมีอำนาจสั่ง ให้ฝนตกได้ แต่ละปีจึงมีพิธีจุดบั้งไฟบูชาแถน เพื่อให้แถนสั่งให้ผู้มีหน้าที่ทำให้ฝนตก เช่น นาค พระพิรุณ ประทานฝนลงมาให้
เรื่องที่เกี่ยวข้อง บุญบั้งไฟ
นาค
เป็นสัตว์ในอุดมคติที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในโลกบาดาล งานหรือหน้าที่ของนาค คือ การพ่น ฝนให้ตกลงในจักรวาลนี้ อันประกอบด้วยมหาสมุทร มนุษย์โลก และป่าหิมพานต์ นาคเกี่ยวข้องกับ การทำนาในส่วนที่เป็นผู้ทำให้น้ำฝนตกลงในมนุษยโลก ทำให้มนุษย์ได้ทำนา นอกจากนี้ยังมีนาค อีกจำพวกหนึ่งที่เรียกว่า "นาคทรงแผ่นดิน" เมื่อทำพิธีแรกไถนา ชาวนาต้องดูวัน เดือน ปี และทิศ ที่จะบ่ายหน้าควาย ต้องไม่ให้ควายลากไถไปในทิศที่ทวนเกล็ดนาคหรือเสาะเกล็ดนาค เพราะถ้า เป็นอย่างนั้นการทำนาในปีนั้นจะทำให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ ขึ้น
นางธรณี
ชาวบ้านเชื่อกันว่า นางธรณีหรือแม่ธรณีเป็นเทพเจ้าแห่งพื้นดิน ก่อนจะไถนาหรือปลูก ข้าว ต้องบอกกล่าวขออนุญาตต่อนางเสียก่อน และทำพิธีเซ่นไหว้ด้วยพาหวาน (มีข้าวนึ่ง ไข่ไก่) 1 พา และขอให้นางธรณีช่วยปกป้องรักษาข้าวในนา อย่าให้มีศัตรูมาเบียดเบียน และขอให้ได้ทำนา ด้วยความสะดวกสบายตลอดฤดูกาล


พิธีแฮกไถนา
การแรกไถนาทำในเดือนหกวันฟูเวลาเช้า เจ้าของนาเป็นผู้ทำพิธี เทพเจ้าหลักที่อ้างถึงใน พิธีนี้คือ นางธรณี หรือ ผีตาแฮก แล้วแต่ใครจะนับถือองค์ไหน เทพเจ้าประกอบได้แก่ พระภูมิเจ้าที่ และ รุกขเทวดา กระทำพิธีในนาแปลงใดก็ได้ องค์ประกอบในพิธีมี พาหวาน 4 และ พายา 4 กอก (กรณี นับถือตาแฮก) องค์ประกอบนี้เปลี่ยนแปลงไปตามข้อปฏิบัติของแต่ละบุคคล
วิธีทำ นำเอาเครื่องประกอบเหล่านี้ไปเซ่นสังเวยบอกกล่าวว่า มื้อนี้เป็นมื้อสันต์วันดี จะทำการแฮกไถนา ขอให้เทพเจ้า (ออกชื่อ) จงช่วยคุ้มกันรักษา ขยับขยายที่ให้ได้ทำนา อย่างสุขสบาย แล้วเริ่มไถนาในทิศทางที่ตามเกล็ดนาค (ห้ามไถทวนเกล็ดนาค) ไถวน จำนวน 3 รอบแล้วหยุด ปล่อยควาย เป็นการเสร็จพิธี วันต่อไปจึงเริ่มไถเป็นปกติได้ พิธีนี้มีเป้าหมายเพื่อให้เทพเจ้าคุ้มครองรักษาทั้งคน สัตว์ ข้าวกล้า และขออนุญาตต่อเทพเจ้า เพื่อเตรียมดินปลูกข้าวในปีนั้น ๆ ตามความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติกันมา

พิธีแฮกดำนา หรือปลูกข้าวตาแฮก
การเลี้ยงผีตาแฮก

จัดขึ้นประมาณเดือนเจ็ดหรือเดือนแปด (มิถุนายน - กรกฎาคม) วันประกอบพิธีต้องเป็น วันฟู หรือวันจันทร์ หรือวันพฤหัสบดี หรือวันเกิดของเจ้าของนา แล้วแต่ใครจะเลือกนับถือ ทำพิธี เวลาเช้า พ่อบ้านหรือแม่บ้านเป็นผู้กระทำ เทพเจ้าที่อ้างถึงได้แก่ ผีตาแฮก หรือ นางธรณี แล้วแต่ ใครจะนับถือรูปใดก็บูชารูปนั้น สถานที่ที่ปลูกข้าวตาแฮกนั้นให้เลือกเอาบริเวณที่ใกล้ ๆ กับโพนนา (จอมปลวก) หรือใกล้กกไม้

การปักดำตาแฮก
วิธีทำ เตรียมดินให้กว้างพอจะปลูกข้าวแฮกประมาณ 7 หรือ 14 กอ แล้วสร้างร้านสี่เสา เล็ก ๆ ขึ้นพอจะเป็นที่วางเครื่องสังเวยได้ เอาเครื่องสังเวยซึ่งเป็นเช่นเดียวกับพิธีแฮกไถนาวางบน ร้าน จากนั้นจึงกล่าวคำอ้อนวอนว่า "มื้อนี้มื้อสันต์วันดี พวกข้าจะมาปักแฮก ขอให้ตาแฮก (หรือนางธรณี) ช่วยคุ้มครองรักษาให้ข้าวกล้าในนางอกงาม ไม่มีพวกช้าง พวกควาย หรือ ไพร่พลมาทำลาย" แล้วจึงปักข้าวแฮก 7 หรือ 14 กอ ตามแต่นับถือ เป็นอันเสร็จพิธี
เป้าหมายของพิธี คือ ต้องการให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองข้าวกล้าให้งอกงาม ไม่มีโรคภัยมา เบียดเบียน สำหรับกรณีผู้นับถือตาแฮกจะบนบานว่า หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้วจะแบ่งข้าวที่ได้ให้ ตาแฮก 4 เกวียน (เกวียนจำลอง)


พิธีเลี้ยงผีปู่ตาหรือผีตาปู่
จัดขึ้นในเดือนหก (ประมาณเดือนพฤษภาคม) วันพุธ (จะเป็นวันพุธสัปดาห์ไหนก็ได้) ตอนเช้า พิธีนี้มี "จ้ำ" เป็นผู้ดำเนินการ โดยป่าวประกาศให้ลูกบ้านทราบว่าจะทำพิธีวันไหน และให้ ลูกบ้านบริจาคเงิน ข้าวของตามศรัทธาให้แก่จ้ำ เพื่อจะได้นำไปซื้อเครื่องเซ่นมาทำพิธี ซึ่งมีไก่ 3 ตัว เหล้า 1 ขวด บุหรี่ ยาสูบ หมาก ผ้าซิ่น ดอกไม้ และธูปเทียน
การเลี้ยงผีปู่ตา เมื่อถึงวันพิธี ชาวบ้านทุกครอบครัวไปร่วมงาน ซึ่งจัดขึ้นเวลาเช้า ณ ศาลปู่ตาประจำ หมู่บ้าน ในพิธีมีการเสี่ยงทายโดยใช้ไก่ 3 ตัว เป็นเครื่องเสี่ยงทาย 3 กรณี คือ
  • ไก่ตัวที่ 1 เสี่ยงทายเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์
  • ไก่ตัวที่ 2 เสี่ยงทายเกี่ยวกับฝนฟ้าอากาศ
  • ไก่ตัวที่ 3 เสี่ยงทายเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงและพืชพันธุ์
โดยดูจากลักษณะปลายขากรรไกรล่างทั้งสองข้างของไก่ ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง การเสี่ยงทายอีกประการหนึ่ง คือ การเสี่ยงทายฟ้าฝนด้วยไม้วา โดยเอาไม้มาหนึ่งท่อนขนาดยาว 1 วาของจ้ำ (ผู้กระทำพิธี) นำมาเข้าพิธี โดยอธิษฐานว่า ถ้าฝนดีขอให้ไม้นี้ยาวกว่า 1 วาของจ้ำ ถ้า ฝนแล้งขอให้ไม้สั้นกว่า 1 วาของจ้ำ เมื่อทำพิธีอธิษฐานแล้วก็เอาไม้มาวัดเทียบกับวาของจ้ำ แล้วให้ ทำนายตามผลที่ปรากฏ
ส่วนการทำนายตามลักษณะไก่ คือ ดึงเอาขากรรไกร (ปากล่าง) ของไก่ที่บูชาตาแล้ว ออกมา แล้วดูว่าปลายขากรรไกรทั้งสองข้าง (ซึ่งมีลักษณะเป็นสองง่าม) เป็นอย่างไร
  1. ถ้าปลายง่ามห้อยตกลงหรือไม่เสมอกัน หมายถึงในปีนั้นสัตว์เลี้ยงจะไม่สบาย เกิดโรค ถ้าเกี่ยวกับคนทายว่าจะแตกความสามัคคี เจ็บไข้ได้ป่วย ถ้าเกี่ยวกับพืชพันธุ์ธัญญาหาร ก็จะไม่สมบูรณ์
  2. ถ้าง่ามขากรรไกรทั้งสองข้างยาวเท่ากัน จะหมายถึงมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งสัตว์เลี้ยง ผู้คน และพืชพันธุ์
  3. ถ้าขากรรไกรมีสีขาว แสดงว่า ฝนแล้ง
  4. ถ้าขากรรไกรมีสีดำ แสดงว่า ฝนฟ้าดี
พิธีเลี้ยงผีปู่ตาเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำนาปลูกข้าวอย่างใกล้ชิด ผลคำ ทำนายเป็นเช่นไร ชาวบ้านมักจะนำไปเป็นข้อมูลในการเตรียมตัวทำนาในปีนั้น ๆ นอกจากนั้นปู่ตา ยังมีความสำคัญกับหมู่บ้านเพราะเป็นที่พึ่งทางใจ เป็นผู้อนุรักษ์ป่าไม้ชุมชนของหมู่บ้านนั้น ๆ ให้ ยังคงอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหารเลี้ยงชุมชนตราบเท่าลูกหลาน
พิธีกรรมที่เกี่ยวกับข้าวยังมีอีกมาก จะได้นำมาเสนอในโอกาสต่อไปครับ

แถน

"แถน"
เป็นคำที่ใช้เรียกพ่อเกิดแม่เกิดของมนุษย์ ชาวเหนือเชื่อกันว่าคนที่จะเกิดเป็นมนุษย์ ได้ก็เพราะมีผู้กำหนดหรือส่งให้มาเกิด ผู้ที่ส่งให้มาเกิดนี้เรียกว่าปู่แถนย่าแถน อาศัยอยู่บนสวรรค์ ชั้นฟ้า มีอำนาจดลบันดาลให้มนุษย์อยู่ดีมีสุขหรือเกิดการเจ็บป่วย มีอันเป็นไปต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยเด็ก เมื่อได้รับเคราะห์ร้ายเจ็บป่วยจะทำพิธีส่งแถน เพื่อนำเครื่องเซ่นไปสังเวยหรือเป็นการบอกกล่าว ขออภัยปู่แถนย่าแถน แต่ถ้าหากปู่แถนย่าแถนไม่ให้อภัยก็จะเอาตัวกลับคืนไปผู้ที่เคราะห์ร้ายหรือเจ็บป่วยนั้นอาจถึงตายได้
ปัจจุบันชาวเหนือจำนวนมากยังมีความเชื่อเรื่องในการส่งแถนกันอยู่ แต่อาจารย์ที่เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมหายากขึ้น เพราะต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับคาถาอาคมและเข้าใจในการเตรียมสิ่งของตามพิธีจึงจะกระทำได้ เด็กที่ไม่สบายป่วยไข้บ่อย ๆ เมื่อได้ส่งแถนแล้วก็หายหรืออยู่สุขสบายดีขึ้น
การส่งแถนนับเป็นความเชื่อทางพิธีกรรมที่สามารถช่วยให้เด็ก ๆ หายจากอาการไม่สบาย ป่วยไข้บ่อย ๆ ได้อย่างหนึ่งหลังจากการรักษาทางแพทย์ แผนปัจจุบันแล้วไม่หาย ส่วนผู้ใหญ่อาจมีการส่งแถนบ้างเพื่อให้เกิดความสบายใจขึ้น

พิธีการส่งแถน
จะมีอาจารย์วัดหรือผู้ที่เคยบวชเรียนมาก่อน ( เรียกว่า"หนาน") ซึ่งมีคาถาอาคมเป็นผู้ประกอบพิธีให้ สิ่งของที่จัดเตรียมมี หมาก-พลู(ม้วนใบพลูมัดติดกับหมากเป็นคำ) บุหรี่ เมี่ยง ขนม ข้าวต้มมัด แกงส้มแกงหวาน ข้าวตอก ดอกไม้ ช่อกระดาษ ตุง เทียน หุ่นคนปั้น (ใช้แทนตัวผู้เจ็บป่วย) และเสื้อผ้านุ่ง ตัดด้วยเศษผ้าตัวเล็ก ๆ (แทนเสื้อผ้าของผู้ป่วย) สิ่งของทั้งหมดนี้นำมาจัดเรียงใส่สะโตง (ใช้กาบกล้วยมาหักทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีที่วางสิ่งของทั้งหลายเหล่านี้)
ในขณะทำพิธีผู้เจ็บป่วยจะฅ้องมานั่งไหว้ อาจารย์วัดก็จะท่องคำคาถาต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ เมื่อเสร็จพิธีอาจารย์วัดก็จะนำสะโตงไปแขวนไว้นอกบ้านหรือทางสามแพร่

ชาวอีสานมาจากไหน?



"เฮ็ดไฮ่" ใช้ไม่ไผ่ปลายแหลมแทงดินเป็นรู แล้วหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกลงรูดินที่แทงไว้ ลายเส้นนี้ ชาวยุโรปที่เขียนรูปคนพื้นเมืองแถบสองฝั่งโขง ภาพนี้เขียนโดย M. Mouhot พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1864 (พ.ศ. 2507) (ภาพจาก Travels in Siam, Cambodia and Laos 1858-1860. Henri Mouhot. Oxford University Press, 1989.)



ชาวนาไถนาลุ่มทางภาคกลาง สมัยรัชกาลที่ 5
(ภาพเก่าจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

ชาวอีสานมาจากไหน?

ชาวอีสานหรือคนอีสาน ไม่ใช่ชื่อชนชาติหรือเชื้อชาติเฉพาะของอีสาน แต่เป็นชื่อทางวัฒนธรรม มีที่มาจากภูมิศาสตร์บริเวณที่เรียกอีสาน หรือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (อันเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินใหญ่ สุวรรณภูมิหรืออุษาคเนย์โบราณ) เลยสมมุติเรียกคนกลุ่มนี้อย่างรวมๆ กว้างๆ ว่าชาวอีสาน หรือคนอีสาน

ชาวอีสานหรือคนอีสาน มีบรรพชนมาจากการประสมประสาน ของผู้คนชนเผ่าเหล่ากอ หลายชาติพันธุ์ ทั้งภายในและภายนอก ทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่ต่ำกว่า 5,000 ปีมาแล้ว (อาจถึง 10,000 ปีมาแล้วก็ได้) แล้วยังมีต่อเนื่องถึงทุกวันนี้ และอาจมีต่อไปในอนาคตอีกไม่รู้จบ

ผู้คนชนเผ่าเหล่ากอหลายชาติพันธุ์ ที่ประสมประสานกันเป็นชาวอีสาน มีบรรพชนอย่างน้อย 2 พวก คือ คนพื้นเมืองดั้งเดิมอยู่ภายในสุวรรณภูมิ กับคนภายนอกเคลื่อนย้ายเข้ามาภายหลังจากทิศทางต่างๆ มีร่องรอย และหลักฐานสรุปย่อๆ ได้ต่อไปนี้

1. คนพื้นเมืองดั้งเดิม 5,000 ปีมาแล้ว

ชาวอีสานดั้่งเดิม มีชีวิตร่อนเร่อยู่ในดินแดนอีสานนานมากกว่า 5,000 ปีมาแล้ว เพราะหลังจากนั้นมีหลักฐานทางโบราณคดียืนยันว่าคนพวกนี้ปลูกเรือนอยุ่เป็นที่ (ปัจจุบันคือบริเวณอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น) รุ้จักปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ เช่นหมูและวัว รู้จักทำภาชนะดินเผา ทำสัมฤทธิ์ เป็นเครื่องมือเครื่าองใช้ และมีประเพณีฝังศพ ฯลฯ (สุรพล นาถะพินธุ อ้างถึงผลการขุดค้นทางโบราณคดี ของศาสตราจารย์ วิลเฮล์ม จี. โซลไฮม์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยฮาไว สหรัฐ; บ้านเชียง, กรมศิลปากร จัดพิมพ์เนื่องในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง จังหวัดอุดระานี, 21 พฤศจิกายน 2530.)

ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า คนอีสานพวกแรกเหล่านี้เป็นชนกลุ่มไหน? เผ่าพันธ์ใด? แต่อย่างน้อยเป็นคน 2 พวก คือ พวกที่สูงกับพวกที่ราบดังนี้ :

ก. พวกที่สูง
พวกนี้อาศัยอยู่บริเวณป่าเขาลำเนสไพร มีแหล่งเพาะปลูกน้อย มีแหล่งน้ำหล่อเลี้ยง ไม่เพียงพอ เพาะปลูกด้วยระบบที่เรียกว่า เฮ็ดไฮ่ (ทำไร่) หรือแบบล้าหลัง คือเอาไฟเผาป่าให้ราบลง เป็นแปลงเท่าที่ต้องการ ไม่ต้องพรวน ไม่ต้องไถ อย่างดีก็เอาจอบช่วยเกลี่ยหน้าดินนิดหน่้อย แล้วก็เอาไม้ปลายแหลม แทงดินให้เป็นรู เอาเมล็ดพันธุ์พืชหยอดลงทีละรูๆ แล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ตามยถากรรม แล้วแต่ดิน ฝนและแดด แต่พันธุ์พืชหรือพันธุ์ข้าว ชนิดที่ปลูกก็เป็นพันธุ์ป่าชนิดที่ ไม่ต้องขวนขวายทดน้ำมาหล่อเลี้ยง พอพืชโตได้ที่มีดอกออกผลก็เก็บเกี่ยว แล้วก็ทิ้งดินแปลงนั้นให้หญ้า และต้นไม้ขึ้นรกชัฏไปตามเรื่อง ใช้ได้ครั้งเดียว ปีรุ่งขึ้นก็ขยับไปเผาป่าในที่ถัดออกไปใหม่ ขยับเวียนไปรอบทิศตามสะดวก ไม่มีใครหวงห้ามหรือจับจอง บางที 2-3 ปี ผ่านไปก็หันกลับมาเผาที่ตรงแปลงเดิมใหม่ แต่ถ้าหากดินจืด ใช้ไม่ได้ผล ก็ย้ายหมู่บ้านกันเสียที ไปเลือกทำเลใหม่ หอบไปแต่สิ่งของสำคัญๆ ไม่มีสมบัติ (จิตร ภูมิศักดิ์, ความเป็นมาของคำสยาม, พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2519, หน้า 238.)

ข. พวกที่ราบ
พวกนี้อาศัยบริเวณที่ราบลุ่มในหุบเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำ และที่ราบตามชายฝั่งทะเล ซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูก กว้างขวางกว่าเขตที่สูงมีน้ำท่วมถึง หรือมีการชักน้ำเข้ามาหล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ที่เพาะปลูกได้ ทำให้มีโคลนตะกอนจากที่อื่นๆ เข้ามาทับถมกลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติ ที่ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์เสมอๆ ทุกๆปี จนไม่ต้องโยกย้ายไปหาที่เพาะปลูกใหม่ และสามารถเก็บเกี่ยวพืชผลได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย พอเลี้ยงคนได้จำนวนมาก ทั้งมีส่วนเกินพอที่จะนำไปแลกเปลี่ยนสิ่งของกับชุมชนอื่นๆ ด้วย ทำให้ท้องถิ่นนั้นๆ มีผู้คนหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ

ในที่สุดก็แบ่งงานกันทำกิจกรรมเฉพาะ รวมทั้งมีโอกาส ร่วมมือในกิจการงานด้านต่างๆ เช่น ทดน้ำหรือระบายน้ำเพื่อการเพราะปลูก ติดต่อแลกเปลี่ยนสิ่งของกับชุมชนอื่น และขยายชุมชนไปยังบริเวณใกล้เคียง

ฉะนั้นเขตนี้มักมีพัฒนาการจาก หมู่บ้าน เป็น เมือง แล้วก้าวหน้าเป็น รัฐ และ อาณาจักร ได้ แต่ก็มิได้หมายความว่าทุกหนทุกแห่งในเขตที่ราบ จะมีโอกาสก้าวหน้าได้เหมือนกันหมด เพราะยังมีข้อแตกต่างกันด้านอื่นๆ ที่อาจจะเป็นทั้งสิ่งเอื้ออำนวย และข้อจำกัดอีก

ค. พวกที่สูง-ที่ราบ ผสมกลมกลืนกันเป็น "ชาวสยาม"
พวกที่สูง มีความรู้ และชำนาญในการถลุงโลหะ ส่วนพวกที่ราบมีความรู้ และชำนวญการทำนาปลูกข้าวในที่ลุ่ม ทั้งสองพวกนี้ มีการแลกเปลี่ยนสิ่งของกันตลอดเวลา จนถึงระยะเวลาหนึ่งพวกที่สูงก็ลงมาอยู่ที่ราบ แล้วผสมกลมกลืนทางสังคม และวัฒนธรรม มีร่องรอยอยุ่ในนิทานปรัมปราหลายเรื่อง

แต่นิทานเรื่องใหญ่ และสำคัญที่สะท้อนความสัมพันธ์ของชนกลุ่มต่างๆ ทั้งพวกที่สูงและพวกที่ราบทั่วสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะบริเวณ 2 ฝั่งโขง ทางล้านนากับล้านช้าง คือเรื่องท้าวฮุ่ง หรือ ขุนเจือง อาจมีบรรพบุรุษเป็นพวกที่สูง แต่เป็นวีรบุรุษข้ามพรมแดนทางเผ่าพันธุ์ เพราะแต่งงานกับพวกที่ราบด้วย แล้วกลายเป็นวีรบุรุษในอุดมคติของกลุ่มชน ทั้งพวกที่สูง และ พวกที่ราบ (สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ, ท้าวฮุ่งขุนเจือง มหากาพย์ของอุษาคเนย์, ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ, สำนักพิมพ์มติชน, 2538.)

คนที่สูงกับที่ราบ ผสมกลมกลืนกันทางเผ่าพันธุ์ สังคมวัฒนธรรม เมื่อนานเข้าก็เป็นพวกเดียวกัน ตั้งหลักแหล่งอยู่ร่วมกันในดินแดน ที่คนภายนอกเรียกสยาม คนพวกนี้เลยถูกเรียกอย่างรวมๆ เป็นชาวสยามด้วย

2. คนภายนอก 3,000 ปีมาแล้ว

คนภายนอก ที่เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งหลักแหล่งแห่งหน จนเป็นบรรพบุรุษมนุษย์สุวรรณภูมิ และบรรพชนคนอีสาน มาจากทุกทิศทางทั้งใกล้ - ไกลและทางบก - ทางทะเล

ก. ราว 3,000 ปีมาแล้ว มาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
คนพวกนี้มาจากทางตอนใต้ของจีนปัจจุบัน (แต่ครั้งนั้น 3,000 ปีมาแล้ว ยังไม่เป็นดินแดนของจีน) เช่น ยูนนาน กวางสี กวางตุ้ง เวียดนาม ฯลฯ รวมทั้งลาว

สิ่งสำคัญที่คนภายนอกพวกนี้นำเข้ามาด้วยคือ ภาษา ที่ปัจจุบันเรียกตระกูลไทย-ลาว มีหลักฐานแน่นหนาว่า เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว คนพื้นเมืองในกวางสี-กวางตุ้ง พูดภาษาตระกูลไทย-ลาวแล้ว และต่อมายอมรับเป็น ภาษาการค้า หรือภาษากลาง ในการติดต่อสื่อสารระหว่างชาติพันธุ์ต่างๆ

นอกจากนั้นยังมีสิ่งอื่นอีก เช่น ระบบความเชื่อ เรียก ศาสนาผี เช่น แถน ฯลฯ ประเพณีพิธีกรรมโดยเฉพาะ ประเพณีฝังศพครั้งที่ 2 และเทคโนโลยีสัมฤิทธิ์ เช่น มโหระทึก (หรือฆ้องบั้ง กลองทอง กลองกบ ฯลฯ)

คนพวกนี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่สองฝั่งโขงทั้งลาวและอีสาน แต่เคลื่อนย้ายไปมาแล้วแต่หลักแหล่ง กว้างไกลไปถึงลุ่มน้ำสาละวิน (เช่น ไทยใหญ่ ฯลฯ) ลุ่มน้ำน่าน-ยม (เช่น อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย ฯลฯ) บางพวกยังลงไปถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างทางลพบุรี และสุพรรณบุรีด้วย

ข. ราว 2,000 ปีมาแล้ว มาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
ราว 2,000 ปีมาแล้ว หรือราวหลัง พ.ศ. 500 มีคนจากทิศตะวันตกเฉียงใต้กลุ่มหนึ่ง จากชมพูทวีปและลังกาทวีป เดินทางทะเลอันดามันเข้ามาแลกเปลี่ยน ค้าขายกับคนพื้นเมืองสุวรรณภูมิ เพื่อส่งต่อถึงจีนฮั่น คนตะวันตกเฉียงใต้พวกนี้ มีทั้งพ่อค้า และนักบวช เป็นเหตุให้มีการเผยแผ่ศาสนาพราหมณ์ - พุทธ ผ่านชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทางที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา และปากแม่น้ำโขง ขึ้นมาถึงบริเวณ 2 ฝั่งโขง ทำให้มีคนตะวันตกเฉียงใต้บางพวก เข้ามาตั้งหลักแหล่งทางอีสานด้วย

นอกจากนั้นยังมีคนพื้นเมืองบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา อ่าวไทย (ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน) และจากปากแม่น้ำโขง (บริเวณกัมพูชา กับเวียดนามทุกวันนี้) ที่นับถือพราหมณ์ - พุทธมหายาน คนพวกนี้อาจเรียกรวมๆ อย่างยกย่องว่า ขอม เพราะมีความรู้ทางศาสนา อักษรศาสตร์ และเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น แกะสลักหิน สร้างปราสาทหิน ฯลฯ บางที่ยกย่องเป็นครู แล้วเรียกครูขอมก็มี หลักฐานมีทั่วไปในสมัยหลังๆ เช่น ปราสาทพิมาย ฝ่ายพุทธมหายาน (นครราชสีมา) ปราสาทพนมรุ้ง ฝ่ายพราหมณ์ (บุรีรัมย์) เป็นต้น

ที่มา : Amata Foundation Newsletter Vol.4 ฉบับพิเศษ มิถุนายน - กรกฎาคม 2549

ประวัติศาสตร์สังคม-วัฒนธรรม สยามประเทศไทย ในสุวรรณภูมิ ที่เมืองอู่ทอง

"กาลเมื่อก่อนนั้น
ก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน
ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด"

เมื่อครั้งกระโน้นมีสัตว์อยู่ก่อนแล้ว เช่น ควาย ฯลฯ ต่อมาควายแก่เฒ่าตายเป็นซากอยู่นาน้อยอ้อยหนู มีต้นหมากน้ำเต้าปุงงอกออกจากซากรูจมูกควายที่ตายแล้ว
หมากน้ำเต้าปุงเติบโตขึ้น มีลูกมีผลขนาดใหญ่ ข้างในหมากน้ำเต้าปุงมีฝูงคนแน่นขนัดอยู่ยัดเยียดเบียดเสียดกันวุ่นวาย

ผีปู่ตนหนึ่งเอาเหล็กแหลมเผาไฟแทงทะลุเนื้อหมากน้ำเต้าปุง ผู้คนฝูงหนึ่งทะลักไหลออกมา ครั้นเอาเหล็กสิ่วแทงอีก ผู้คนอีกฝูงหนึ่งก็ไหลทะลักออกมาอีก คนทั้งหมดล้วนเป็นพี่น้องกันแต่นั้นมา

มนุษย์เริ่มแรก
ในดินแดนสยาม

บริเวณที่เป็นประเทศไทยทุกวันนี้ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่าสยาม นับเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมนุษย์หลายเผ่าพันธุ์ปะปนอาศัยอยู่ด�วยกันมาช้านานนับล้านนับแสนนับหมื่นปีมาแล้ว

หลักฐานยืนยันความเก่าแก่ คือซากชีวิตที่ติดประทับกับหินผา และบรรดาเครื่องมือหิน รวมทั้งชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ที่หลงเหลืออยู่ใต้ดินบ้าง ตามเถื่อนถ้ำบ้าง กระจัดกระจายทั่วไป

มนุษย์ดึกดำบรรพ์เหล่านี้ยังชีพด้วยการร่อนเร่ลัดแลงแสวงหาอาหารตามธรรมชาติ เพราะยังไม่รู้จักปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ต่างพเนจรไปตามลำธารห้วยหนองคลองบึงน้อยใหญ่ ไม่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน เพราะยังไม่รู้จักสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย

เกือบหมื่นปีมาแล้ว มนุษย์ดึกดำบรรพ์ยังร่อนเร่พเนจร แสวงหาอาหารตามธรรมชาติ เช่น หัวกลอย หัวเผือก หัวมัน ฯลฯ แต่บางกลุ่มเริ่มหยุดสัญจรร่อนเร่ รู้จักเอาข้าวป่ามากินเป็นอาหาร แล้วรู้จักพักพิงอยู่ตามเพิงผาและเถื่อนถ้ำ

รู้จักทำภาชนะดินเผาอย่างง่ายๆ ขึ้นใช้เก็บใส่อาหาร ภาชนะบางชิ้นมีลวดลายคล้ายใบไม้หรือเปลือกไม้ที่ใช้ห่อหุ้มไว้เมื่อปั้นดินเหนียวก่อนตากแห้ง ครั้นเอาใบไม้หรือเปลือกไม้ออกจึงมีลวดลายเหล่านั้นประทับอยู่กับพื้นผิวภายนอก

เมื่อมีผู้ล้มหายตายจากก็มีพิธีทำศพ เอาคนตายไปฝังดิน ตกแต่งซากศพด้วยดินสีแดง แล้วเอาสิ่งของเครื่องใช้บางอย่างฝังรวมไปด้วย เช่น ภาชนะดินเผา ฯลฯ

ชุมชนหมู่บ้านยุคแรก
ครั้นต่อมาราว ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว มนุษย์ดึกดำบรรพ์บางพวกบางเผ่ารวมกลุ่มตั้งหลักแหล่งเป็นชมรมหมู่บ้านขึ้นตามวิถีธรรมชาติเป็นบางท้องถิ่น แล้วค่อยๆ มีมากขึ้นในที่ต่างๆ กัน

คนพวกนี้รู้จักปลูกสร้างที่อยู่อาศัยเป็นเครื่องผูก มีเสาสูง รู้จักปลูกข้าว ทำนาน้ำท่วม เลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ฯลฯ แต่งเครื่องมือหินด้วยการขัดผิวให้เรียบ ทำภาชนะใช้สอยด�วยดินเผา แล้วมีเครื่องรางประดับร่างกาย เช่น ลูกปัดดินเผา ลูกกระพรวนดินเผา ฯลฯ และมีผู้หญิงเป็นหมอผีทำหน้าที่หัวหน้าเผ่าพันธุ์

พันธุ์ข้าวสมัยแรกๆ เป็นพันธุ์ข้าวป่าเมล็ดป้อม อยู่ในตระกูลข้าวเหนียว

เริ่มรู้จักถลุงโลหะ
หลังจากนั้นเมื่อราว ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว คนกลุ่มหนึ่งที่มีหลักแหล่งบริเวณที่ราบผืนเล็กๆ ในหุบเขา ละแวกริมลำน้ำแควน้อยกับแควใหญ่ (จังหวัดกาญจนบุรี) ทำภาชนะดินเผาหลายรูปแบบอย่างชำนิชำนาญ มีแบบผิวสีดำกับแบบสามขา มีเครื่องมือจับปลาด้วย แล้วมีการติดต่อกับคนกลุ่มอื่นๆ ที่อยู่ใกล้ทะเล ลงไปทางใต้ถึงแหลมมลายู กินสัตว์ทะเลเป็นอาหาร เช่น หอย ฯลฯ

ช่วงเวลาไล่เลี่ยต่อจากนั้น คนบางกลุ่มมีความรู้ก้าวหน้าขึ้นจนสามารถถลุงโลหะ แล้วเอามาทำเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เบ็ดตกปลา หอก ฯลฯ พบมากที่บ้านเก่า (จังหวัดกาญจนบุรี) บ้านเชียง (จังหวัดอุดรธานี)

โลหะสำคัญครั้งนั้นคือสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกหรือตะกั่ว อีกอย่างหนึ่งคือเหล็ก ซึ่งมีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติ

เครื่องมือสัมฤทธิ์ที่สำคัญคือมโหระทึก บางแห่งเรียกฆ้องกบ ฆ้องบั้ง กลองทอง (แดง) กลองกบ ฯลฯ ถือเป็นลักษณะเฉพาะของภูมิภาคอุษาคเนย์ เพราะมีแพร่หลายกระจายไปทั่วผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ ตั้งแต่เหนือสุดที่มณฑลยูนนาน จนถึงใต้สุดที่หมู่เกาะอินโดนีเซีย ซึ่งนับเป็นอุษาคเนย์ทั้งหมด เมื่อราว ๔,๐๐๐-๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

เหล็กและเกลือ
ช่วงเวลา ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว มีการถลุงเหล็ก ทำเครื่องมือเครื่องใช้อย่างกว้างขวางเกือบทั่วไปหมด ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวย้ายหลักแหล่งไปมา เพื่อหาบริเวณที่มีแร่ธาตุและทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ เช่น เหล็ก และเกลือ แหล่งที่มีเหล็กและเกลืออยู่มากที่สุดคือ รอบๆ ทุ่งกุลาร้องไห้ (ในเขตอีสานใต้) จึงมีผู้คนจากที่อื่นเคลื่อนย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานถาวรเพื่อถลุงเหล็กและต้มเกลือ เป็นเหตุให้มีประชากรเผ่าพันธุ์ต่างๆ หนาแน่นกว่าเดิม ในจำนวนนี้มีพวกพูดตระกูลภาษาลาว-ไทยจำนวนหนึ่งเคลื่อนย้ายมาจากดินแดนฟากตะวันออกของแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของจีน เช่น มณฑลกวางสี-กวางตุ้ง และทางเหนือของเวียดนามปัจจุบันด้วย

เส้นทางเคลื่อนย้าย
"ทางบก-ทางทะเล"
อุษาคเนย์ส่วนที่เป็นผืนแผ่นดินใหญ่มีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุด ถือเป็นแกนของภูมิภาค
ผืนแผ่นดินใหญ่�อุษาคเนย์มีพื้นที่กว้างขวาง โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร และความหลากหลายทางชีวภาพ แต่มีผู้คนชนเผ่าเหล่ากอตั้งหลักแหล่งทำมาหากินกระจัดกระจายไม่มากนัก จึงเปิดที่ว่างจำนวนมากให้กลุ่มชนหลากหลายจากที่ต่างๆ ทั้งใกล้เคียงและห่างไกลเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนตั้งแต่ราว ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว

การเคลื่อนย้ายไม่ใช่การอพยพยกโขยง แต่มีลักษณะเคลื่อนไหวไปๆ มาๆ ทำให้เกิดความสัมพันธุ์ระหว่างที่ไปและที่มาอย่างต่อเนื่อง โดยมิได้ละทิ้งหลักแหล่งแห่งหนต้นเค้าดั้งเดิม

สิ่งที่ตามมาหรือติดมากับการเคลื่อนย้ายหรือเคลื่อนไหว คือระบบความเชื่อและวัตถุสิ่งของ ซึ่งมีหลักฐานสำคัญยืนยันคือกลองสัมฤทธิ์ที่เรียกมโหระทึกอันเป็นสัญลักษณ์ของพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ เชื่อว่าทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลที่มนุษย์ต้องการ แลวยังเปนเครื่องมือสำคัญแสดงสถานภาพของบุคคลสำคัญที่เป็นหัวหนาเผ่าพันธุ์ (Chiefdom) นั้นๆ

การเคลื่อนไหวย้ายหลักแหล่งดังกล่าวเข้ามาสู่บริเวณที่เป็นประเทศไทยไม่ได้มีทางเดียว แต่มีทั้งทางบกและทางทะเล ตลอดเวลา นับแต่ช่วงเวลา ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว สืบจนสมัยหลังๆ อย่างต่อเนื่องยาวนานมาก

ทางบก มาจากทุกทิศทาง โดยเฉพาะจากทางเหนือ (แถบมณฑลยูนนาน) และทางตะวันออก (แถบมณฑลกวางตุ้ง-กวางสี และภาคเหนือของเวียดนาม) เข้าสู่บริเวณที่ราบสองฝั่งแม่น้ำโขง แล้วต่อเนื่องไปที่อื่นๆ อีก

ทางทะเล มาจากทางตะวันตก ทางใต้ และทางตะวันออก โดยเฉพาะจากทางตะวันออก (แถบกวางตุ้ง-กวางสี-เวียดนาม) เดินเรือเล็กเลียบชายฝั่งเข้าสู่อ่าวไทยถึงบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

นับถือผีบูชางูและกบ
ระบบความเชื่อหรือ "ศาสนา" ของคนยุคนี้คือผี หรืออำนาจเหนือธรรมชาติ แต่ละชาติพันธุ์ชนเผ่าเหล่ากอมีผีต่างกันบ้าง ที่เชื่อร่วมกันก็มีงูและกบ

งู เป็นสัตว์มีพิษร้ายและรุนแรงเกินกว่าคนจะแก้ไขได้ ประกอบกับภูมิภาคนี้เป็นเขตร้อนชื้น มีสัตว์เลื้อยคลานชุกชุมโดยเฉพาะงู คนเลยกลัวงู แล้วบูชางูเป็นสิ่งมีอำนาจเหนือธรรมชาติ มีหลักแหล่งอยู่ในเรี้ยวในรูลึกลงไปในแผ่นดินที่ภายหลังเรียกบาดาล ที่นั่นเป็นแหล่งน้ำมหึมาที่งูเป็นเจ้าของ แล้วบันดาลให้ผุดไหลออกมาจากใต้ดินเรียกน้ำซึมน้ำซับ หรือซำ อำนวยความอุดมสมบูรณ์ให้ผู้คนในชุมชน เป็นเหตุให�คนทั้งหลายเซ่นวักงูเป็นผีศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์เดชคุ้มครองป้องกันและบันดาลความอุดมสมบูรณ์

ฉะนั้นภาชนะดินเผาบางใบมีลายเป็นรูปงู และภาชนะดินเผาจำนวนมากมีลายเขียนสีสัญลักษณ์ของน้ำ เช่น ที่บ้านเชียง (จังหวัดอุดรธานี) แล้วทำสืบเนื่องต่อมาจนถึงสมัยหลังๆ เช่น ยุคทวารวดีซึ่งพบทั่วไป ภายหลังต�อมาค่อยๆ รวมถึงสัตว์ร้ายและรุนแรงอื่นๆ เช่น จระเข้ ฯลฯ

กบ เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มักพบเมื่อฝนตกทุกครั้งไป คนทั้งหลายเลยเชื่อว่ากบคือผู้นำน้ำจากท้องฟ้าให้ไหลหล่นลงมา อันเป็นสิ่งที่มนุษย์ในเขตร้อนชื้นต้องการเมื่อยามแล้งน้ำ ผู้คนก็ยกย่องกบเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์เดชบันดาลความอุดมสมบูรณ์ให้บังเกิดแก่ชุมชนได้ ก็พากันเซ่นวักกบทั้งหลายเป็นผีสำคัญแต่นั้นมา แล้วยังรวมไปถึงคางคก (คันคาก) ที่เป็นสัตว์กลุ่มเดียวกันด้วย จึงเกิดพิธีกรรมบูชากบ คือบูชายัญ แล้วมีการละเล่นเต้นฟ้อนด้วยการเอาโคลนมาทาเนื้อตัวแข้งขาให้มีลวดลายอย่างกบ แล้วทำท่าย่อขาแข้งเหมือนกบ พร้อมกับเซ่นวักเครื่องมือทำมาหากิน เช่น มีดพร้า ขวาน ไถ เป็นต้น

ฉะนั้นเครื่องมือสัมฤทธิ์ เช่น มโหระทึกจึงมีรูปกบเป็นสัญลักษณ์สำคัญประดับหน้ากลอง ฯลฯ และภาพเขียนบนเพิงผากับผนังถ้ำมีรูปคนทำท่าคล้ายกบ จะพบทั่วไปทั้งในบริเวณประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง แต่ที่มีมากและยิ่งใหญ่ที่สุดอยู่ในมณฑลกวางสี ทางตอนใต้ของจีน ซึ่งเป็นหลักแหล่งของกลุ่มชนพูดตระกูลภาษาไทย-ลาว เมื่อ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

ภาพเขียนสี ผู้คนยุคนี้มีสถานที่เป็นศูนย์กลางประกอบพิธีกรรมร่วมกัน ทั้งในระดับชุมชนทั่วไปและระดับท้องถิ่นกว้างและไกล สถานที่นั้นมักเป็นเพิงผาหรือโถงถ้ำมีลานกว้างพอสมควรอยู่ตรงนั้น หรืออยู�ใกล้เคียงก็ได้ เพื่อชุมนุมทำพิธีกรรมร่วมกัน แล้วร่วมกันเขียนภาพด้วยสีธรรมชาติจากยางไม้และดินสีเป็นรูปต่างๆ เช่น คน หมา กบ วัว ควาย ปลา ต้นข้าว แต่มีมากคือมือ เขียนด้วยสีแดง เรียกว่ามือแดง

ทั้งหมดเป็นภาพสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำมาหากิน ถือเป็นการเซ่นวักอำนาจเหนือธรรมชาติเพื่อขอความอุดมสมบูรณ์ เช�น ผาแต้ม (อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี) ประตูผา (ที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง) ภูปลาร้า (อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี) เขาจันทน์งาม (อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา) ถ้ำตาด้วง (อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี) เขาสามร้อยยอด (อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) เป็นต้น
บริเวณที่พบมากคือเทือกเขาภูพาน ตั้งแต่สุดแนวทางทิศตะวันออกไปจนสุดแนวทางทิศตะวันตก

หัวหน้าชุมชนเป็นผู้หญิง
ในยุคนี้ชุมชนหมู่บ้านแต่ละท้องถิ่นกระจายอยู่ทั่วทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ มีลักษณะกว้างๆ คล้ายคลึงกัน คือมีชุมชนขนาดใหญ่เป็นศูนย์กลาง และมีชุมชนขนาดเล็กเป็นบริวาร บางชุมชนเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน แต่บางชุมชนมีชาติพันธุ์ต่างกัน เพราะมีการเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งหลักแหล่งบริเวณอุดมสมบูรณ์แห่งเดียวกันอยู่เรื่อยๆ ตลอดเวลาไม่มีวันจบสิ้น ทำให้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ บางชุมชนมีการขยายตัวออกไปกว้างขวางกว่าเดิมอย่างต่อเนื่อง ชุมชนอย่างนี้สมัยหลังต่อมาเรียกว่าเมือง มีขนาดและความก้าวหน้าไม่เท่ากัน แต่ต่างเกี่ยวดองติดต่อไปมาหาสู่สัมพันธ์กัน

ชุมชนขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางมีผู้หญิงเป็นหัวหน้า ปกครองดูแลควบคุมไปถึงชุมชนที่เป็นบริวารด้วย ผู้ที่เป็นหัวหน้าภายหลังต่อมาอีกนานได้ชื่อเรียกว่าเจ้าเมือง นับเป็นหน่วยทางการเมืองยุคแรกเริ่มที่ผู้คนรวมตัวกันขึ้นมา

สิทธิพิเศษของหัวหน้าชุมชนอย่างนี้ คือมีที่ฝังศพของตระกูลอยู่บริเวณสำคัญ เช่น เนินดินศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน ฯลฯ สิ่งของที่พบจำนวนมากพร้อมโครงกระดูกบริเวณที่ฝังศพของโคตรตระกูลหัวหน้าชุมชน จึงมีบางอย่างเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ เช่น มโหระทึก แผ่นหินกลมๆ รูปหยักๆ คล้ายจักร ฯลฯ

หัวหน้าหรือเจ้าเมืองของชุมชนขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้ทะเล คือผู้มีสิทธิ์และอำนาจค้าขาย แลกเปลี่ยนสิ่งของกับคนต่างถิ่นและชาวต่างชาติที่มาทางทะเล เริ่มจากการค้าขนาดเล็กๆ แคบๆ ระยะทางสั้นๆ เลียบชายฝั่ง แล้วค่อยๆ เติบโตขยายกว้างขวางห่างไกลออกไปเรื่อยๆ ทั้งทางตะวันออก คือ เวียดนาม จีน และทางตะวันตก คือ ชมพูทวีป (อินเดีย) กับหมู่เกาะ ฯลฯ

นอกจากนั้นยังมีการค้าขายแลกเปลี่ยนสิ่งของกับชุมชนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ภายใน ตามเส้นทางแม่น้ำลำคลองและช่องเขาทางบกทุกทิศทาง เช่น ขึ้นไปถึงดินแดนเตียน หรือเทียน (ในเขตมณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของจีน) ลุ่มน้ำคง (หรือสาละวิน ในภาคเหนือของพม่า) ลุ่มน้ำดำ-แดง (ในภาคเหนือของเวียดนาม) ฯลฯ


สุวรรณภูมิในสยาม
บริเวณเมืองอู่ทอง
หรือแม่กลอง-ท่าจีน

ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว พ่อค้าชาวชมพูทวีป (อินเดีย) ที่เดินทางมาค้าขายแลกเปลี่ยนสิ่งของสินค้ากับหัวหน้าชุมชนในดินแดนอุษาคเนย์ ต่างมีความมั่งคั่งจากการค้าขายทางทะเล จึงมีคำบอกเล่ากล่าวขวัญถึงอุษาคเนย์ว่าเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารและมีแร่ธาตุสำคัญ เลยพากันเรียกภูมิภาคนี้ว่าสุวรรณทวีปบ้าง สุวรรณภูมิบ้าง ตั้งแต่ครั้งนั้นสืบมา

นอกจากค้าขายแลกเปลี่ยนสิ่งของสินค้าแล้ว คนพื้นเมืองโดยเฉพาะกลุ่มผู้นำยังรับเอาอารยธรรมจากชมพูทวีปคืออินเดียมาใช้ในชุมชนท้องถิ่นด้วย

ชาวอินเดียโบราณที่เดินเรือทะเลเลียบชายฝั่งเข้ามาติดต่อค้าขายกับชาวสุวรรณภูมิ นอกจากพ่อค้าที่มั่งคั่งแล้วยังมีชนวรรณะอื่นและกลุ่มอื่นด้วย คือ กษัตริย์ พราหมณ์ และนักบวช ฯลฯ ด้วยความต้องการต่างๆ กันไป บางพวกเข้ามาตั้งหลักแหล่งชั่วคราวไปๆ มาๆ แต่บางพวกตั้งถิ่นฐานถาวรด้วยเหตุผลหลายอย่าง เช่น ลี้ภัยทางการเมือง โจรสลัด เป็นต้น จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของคนพื้นเมืองก็มี บางพวกแต่งงานกับคนพื้นเมืองแล้วสืบโคตรตระกูลมีลูกหลานกลายเป็นคนพื้นเมืองไปก็ไม่น้อย

หลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วราวๆ ๓๐๐ ปี หรืออาจกล่าวได้ว่าระหว่าง พ.ศ. ๒๐๐-๓๐๐ มีพระสงฆ์ ๒ รูป คือ พระโสณะกับพระอุตตระ อาศัยเรือพ่อค้าเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกที่ดินแดนสุวรรณภูมิ ส่งผลให้พระพุทธศาสนาเริ่มประดิษฐานลงในภูมิภาคนี้เป็นครั้งแรก ตรงบริเวณที่อยู่ระหว่างลำน้ำแม่กลอง-ท่าจีน (ปัจจุบันคือเขตอำเภออู่ทอง-จังหวัดสุพรรณบุรี กับบ้านดอนตาเพชร เขตอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี)

พร้อมกันครั้งนั้นพวกพราหมณ์ก็เข้ามาเผยแผ่ศาสนาฮินดูด้วย ทำให้ชุมชนท้องถิ่นใกล้ทะเลบางแห่งรับพุทธศาสนา บางแห่งรับศาสนาฮินดู แต่มีบางชุมชนแรกรับพุทธแล้วเปลี่ยนเป็นฮินดู บางชุมชนแรกรับฮินดูแล้วเปลี่ยนเป็นพุทธ เป็นเหตุให้มีหลายแห่งรับทั้งพุทธและฮินดูปะปนอยู่ด้วยกันในชุมชนเดียวกัน

เหตุที่เป็นอย่างนั้น เพราะการจะรับหรือไม่รับสิ่งใด เป็นอำนาจหรือดุลยพินิจวิจารณญาณของหัวหน้าหรือเจ้าเมืองที่เป็นชนชั้นปกครอง ไม่ใช่อำนาจของพ่อค้าจากชมพูทวีป หรือนักบวช หรือพราหมณ์ ที่นำศาสนามาเผยแผ่


เริ่มมีชนชั้นในสังคม

เมื่อรับแบบแผนอารยธรรมอินเดียแล้ว ความแตกต่างของผู้คนเริ่มเห็นชัดเจน โดยแบ่งเป็นชนชั้นปกครองหรือชนชั้นสูง กับชนชั้นถูกปกครองหรือชนชั้นต่ำ

ชนชั้นสูง คือหัวหน้าหรือเจ้าเมือง เป็นกลุ่มแรกที่เลือกสรรรับอารยธรรมอินเดีย เช่น ศาสนา และสิ่งที่ต้องมากับศาสนา คือตัวอักษร ภาษา วรรณคดี ฯลฯ รวมเรียกว่าศิลปวิทยาการทั้งมวล ใช้ตัวอักษรปัลลวะ (ของทมิฬอินเดียใต้) สลักจารึกลงบนแผ่นอิฐหรือหิน

แต่ที่สำคัญคือระบบกษัตริย์ ที่เป็นประโยชน์ทางการปกครอง เป็นเหตุให้ชุมชนท้องถิ่นต่างๆ เติบโตก้าวหน้าขึ้นเป็นเมือง จากขนาดเล็กเป็นขนาดใหญ่โตขึ้น ในที่สุดก็เป็นรัฐ หรือแคว้น บรรดาหัวหน้าชาติพันธุ์กลายเป็นกษัตริย์ เปลี่ยนชื่อหรือพระนามตามอย่างกษัตริย์ในอินเดีย แม้ชื่อบ้านนามเมืองและสถานที่ก็เอาแบบจากอินเดียด้วย

ส่วนชนชั้นต่ำ ยังคงมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ที่ต่อเนื่องมา คือนับถือระบบผี ซึ่งมีอำนาจเหนือธรรมชาติ เพราะยังไม่รู้จักพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูที่สมัยแรกยังเป็นสมบัติของกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น

นาค คือคนพื้นเมือง
ชาวอินเดียที่เอาศาสนาเข้ามาเผยแผ่ให้ชาวสุวรรณภูมิ เรียกคนพื้นเมืองด้วยคำอารยันว่านาค หมายถึงเปลือย หรือแก้ผ้า เพราะเห็นคนพื้นเมืองมีเครื่องนุ่งห่มน้อยชิ้นจนเกือบเปลือยเปล่าเหมือนงูเงี้ยวที่เป็นสัตว์ร้ายทั่วไป

การเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าไปสู่คนพื้นเมืองท้องถิ่นต่างๆ ย่อมยากลำบากและเกิดการขัดแย้งมากมาย เพราะระบบความเชื่อผีดั้งเดิมยังแข็งแรง แล้วยังมีปัญหาการสื่อสารด้วยภาษาที่ต่างกันด้วย เป็นเหตุให้สำนึกของคนแต่ก่อนบันทึกเหตุการณ์ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาทรมานนาค และปราบนาคตามท้องถิ่นหลายท้องที่ จนบรรดานาคทั้งหลายยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา แล้วน้อมรับทำหน้าที่ปกป้องพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาสืบมา

เมื่อคนพื้นเมืองผู้เลื่อมใสออกบวชเป็นภิกษุ จึงเกิดประเพณีบวชนาคอย่างพื้นเมืองขึ้นมา เช่น มีการทำขวัญนาค เป็นต้น ซึ่งไม่มีในพุทธบัญญัติและไม่เคยมีในอินเดีย แสดงว�าระบบความเชื่อของพื้นเมืองยังมีอิทธิพลจนพุทธศาสนาต�องยอมรับเข�ามาผสมผสานในพิธีกรรมของพุทธศาสนา

เส้นทางคมนาคม
ค้าขายแลกเปลี่ยน
กับจีน-อินเดีย

ระหว่าง พ.ศ. ๔๐๐-๕๐๐ พวกจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น ขยายการค้าแผ่เข้ามาสุวรรณภูมิทั้งทางบกและทางทะเล ทำให้สุวรรณภูมิกลายเป็นดินแดนที่อยู่กึ่งกลางระหว่างตะวันตก คืออินเดีย กับตะวันออก คือจีน เป็นเหตุให้ปริมาณการค้าขายแลกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้น มีผู้คนชาติพันธุ์อื่นๆ จากที่ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกเคลื่อนย้ายเข้ามาติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนมากขึ้นกว่าแต่ก่อน กับบางพวกเข้ามาตั้งหลักแหล่งถาวร กลายเป็นคนพื้นเมืองต่อไปจำนวนไม่น้อย

ความเคลื่อนไหวทางการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนครั้งสำคัญนี้ ทำให้มีเมืองท่าหรือสถานีการค้าทางทะเลเกิดขึ้น ๒ แห่งสำคัญ คือ คลองท่อม หรือตะโกลา (Takola ที่ควนลูกปัด อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่) ทางอ่าวพังงา ฝั่งทะเลตะวันตก กับออกแก้ว (Oc-eo) หรือฟูนัน (Funan) (ที่ปากแม่น้ำโขง ในเวียดนาม) ทางฝั่งทะเลตะวันออก

ในช่วงเวลานี้เอง บริเวณสุวรรณภูมิลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก็เกิดบ้านเมืองสำคัญขึ้นทางฟากตะวันตกของอ่าวไทย (หรือสมัยหลังต่อมา คือฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา) ตรงที่เป็นดินแดนระหว่างลำน้ำแม่กลองกับลำน้ำท่าจีน (ปัจจุบันมีลำน้ำสาขา เรียกลำน้ำจระเข้สามพัน) รู้จักกันต่อมาภายหลังในชื่อเมืองอู่ทอง (อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี)

เมืองอู่ทองนี่เองที่ชนชั้นสูงอันมีเจ้าเมืองเป็นผู้นำเลือกรับพระพุทธศาสนาแล้ว ก็น่าจะเริ่มสร้างสถูปเจดีย�เป็นครั้งแรกและแห่งแรกขึ้นที่นี่ หลังจากนั้นจึงมีการสร้างแผ่กระจายกว้างขวางออกไปยังที่อื่นๆ อย่างสืบเนื่องในภายหลัง (เช่น ที่นครปฐมโบราณ)

ชาดก-ไตรภูมิ
และรามายณะ-มหาภารตะ

ชนชั้นสูงของเมืองอู่ทองยุคแรกรับอารยธรรมจากอินเดีย เรียนรู้คัมภีร์สำคัญทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายพราหมณ์ (ฮินดู)
คัมภีร์ฝ่ายพุทธ ได้แก่ พระสูตร และชาดกหรือพุทธศาสนานิทาน เห็นได้จากจารึกและภาพปูนปั้นสมัยต่อไป
คัมภีร์ฝ่ายพราหมณ์ (ฮินดู) ได้แก่ มหากาพย์ ๒ เรื่อง คือ มหาภารตะกับรามายณะ เห็นได้จากชื่อบ้านเมืองและพระนามกษัตริย์สมัยต่อไป
คัมภีร์เหล่านี้จะสืบทอดสู่ยุคต่อไปดังปรากฏอยู่ในภาพปูนปั้นประดับศาสนสถาน และชื่อกษัตริย์ ตลอดจนชื่อรัฐที่ได้จากคัมภีร์เหล่านั้น สืบมาจนถึงปัจจุบัน

เริ่มต้นยุค "ทวารวดี"
สยามประเทศ

เมื่อถึงเรือน พ.ศ. ๑๐๐๐ และหลังจากนั้นต่อมา ภูมิภาคอุษาคเนย์ที่อยู่ใกล้ทะเลก็เต็มไปด้วยบ้านเมืองน้อยใหญ่ที่รับอารยธรรมอินเดีย แล้วค่อยๆ เติบโตก้าวหน้าขึ้นเป็นรัฐนับถือศาสนาต่างๆ กัน ทั้งพราหมณ์ (ฮินดู) และพุทธ

ระยะเริ่มแรกมีชุมชนบ้านเมืองเล็กๆ อยู่ก่อน แล้วค่อยๆ เติบโตขึ้นเป็นชุมชนสถานีการค้า เช่น บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งด้านตะวันตกทางเขตจังหวัดระนอง-พังงา กับด้านตะวันออกทางเขตจังหวัดปัตตานี-สงขลา-นครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี-ชุมพร แล้วข้ามไปทางจันทบุรี-ปราจีนบุรี

ที่ลึกเข้าไปในที่ราบลุ่มภาคกลางก็มีทางลุ่มน้ำป่าสัก บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์-ลพบุรี ที่เติบใหญ่ขึ้นเป็นเมืองศรีเทพ (อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์) และทางลุ่มน้ำลพบุรี มีเมืองจันเสน (อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์) เมืองละโว้ (อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี) แล้วเชื่อมโยงผ่านช่องเขาเข้าไปถึงบริเวณที่ราบสูงทางต้นน้ำมูน-ชี ในเขตจังหวัดนครราชสีมา-ชัยภูมิ ต่อเนื่องไปทางปลายน้ำที่สบกับแม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งล้วนเป็นเขตที่มีผู้คนตั้งหลักแหล่งอยู่ก่อนหน้านั้นราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

จนกระทั่งหลัง พ.ศ. ๑๑๐๐ ก็เกิดรัฐหรือบ้านเมืองใหญ่โตขึ้น แต่บางแห่งที่เติบโตมาก่อนต้องร่วงโรยลง เพราะเส้นทางคมนาคมเปลี่ยนแปลงไป เช่น ลำน้ำตื้นเขินจนเรือสินค้าขนาดใหญ่เข้า-ออกไม่สะดวก และยังมีเหตุอื่นๆ อีกหลายอย่าง จึงต้องย้ายศูนย์กลางความเจริญไปอยู่ที่ใหม่ เช่น เมืองนครชัยศรี (ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม) มีความสำคัญขึ้นมาแทนเมืองอู่ทอง ส่วนเมืองละโว� (ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี) มีความสำคัญขึ้นมาแทนเมืองศรีเทพ

ช่วงเวลานี้เองที่เอกสารจีนระบุว่ามีรัฐขนาดใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาคอุษาคเนย์ เริ่มจากทางตะวันออกของอินเดีย มีรัฐศรีเกษตร (ในเขตพม่า) ถัดไปทางตะวันออกเป็นรัฐหลั่งยะสิวกับโถโลโปตี (ในเขตไทย) ถัดไปทางตะวันออกเป็นอีสานปุระ (ในเขตกัมพูชา) และถัดไปทางตะวันออกเป็นจามปา (ในเขตเวียดนาม)

เฉพาะในเขตไทยมี ๒ รัฐใหญ่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาภาคกลาง คือ

หลั่งยะสิว มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครชัยศรี (หรือนครปฐมโบราณ ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม) ทางฟากตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเมืองขนาดใหญ่โตที่สุดของภูมิภาคในยุคเดียวกัน ยกย่องนับถือพุทธศาสนาเป็นสำคัญ มีสถูปใหญ่เป็น "มหาธาตุหลวง" (ที่ต่อมาคือพระปฐมเจดีย์) นิยมสร้างสถูปสถานตลอดจนธรรมจักรและกวางหมอบ โดยเฉพาะเสาธรรมจักรมีรูปสิงโตตามแบบงานช่างสมัยพระเจ้าอโศกของอินเดีย

โถโลโปตี ตรงกับชื่อทวารวดี มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้ (หรือลพบุรี ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี) ทางฟากตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา ยกย่องนับถือศาสนาพราหมณ์เป็นสำคัญ แต่ก็มีพุทธศาสนาปะปนอยู่ด้วย

รัฐเหล่านี้มั่งคั่งและใหญ่โตขึ้นมาเพราะ "ผูกขาด" ทำการค้ากับจีนและอินเดียเป็นสำคัญ แต่ทางตะวันตกก็เชื่อมโยงต่อเนื่องจากอินเดียไปถึงบ้านเมืองรอบอ่าวเปอร์เซียทางตะวันออกกลางด้วย เช่น เมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria)

นอกจากมีรัฐใหญ่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังมีรัฐเกิดขึ้นไล่เลี่ยหลังจากนั้นอีกทางลุ่มน้ำอื่นๆ เช่น รัฐลุ่มน้ำปิง-วังเรียกหริภุญไชย (จังหวัดลำพูน) รัฐลุ่มน้ำโขงที่ภายหลังเรียกเวียงจัน (ในลาว) รัฐลุ่มน้ำมูนที่ภายหลังเรียกพิมาย และศรีจนาศะ (ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์-นครราชสีมา) รวมทั้งรัฐลุ่มน้ำปัตตานีที่ภายหลังเรียกยะรัง (จังหวัดปัตตานี) ฯลฯ

ช่วงเวลานี้เองที่บ้านเมืองและแว่นแคว้นทางลุ่มน้ำเจ้าพระยาเริ่มปรับปรุงตัวอักษรปัลลวะจากอินเดียใต้ที่ใช้มาแต่เดิม ให้เป็นตัวอักษรพื้นเมืองอย่างใหม่ขึ้น นักปราชญ์สมัยหลังสมมุติชื่อเรียกว่าอักษรทวารวดี แต่มีประชากรส่วนหนึ่งพูดภาษาตระกูลไทย-ลาวคือพวกสาม (ต่อมาคือสยาม)

รัฐละโว้
สืบยุค "ทวารวดี"

ถึงหลัง พ.ศ. ๑๕๐๐ จีนคิดค้นความรู้ทางการเดินเรือด้วยเทคโนโลยีก้าวหน้าได้ดีขึ้น จึงปรับเปลี่ยนวิธีการค้าขายแลกเปลี่ยนสิ่งของสินค้า จากเดิมที่รอให้พ่อค้าและนักเสี่ยงโชคจากบ้านเมืองทางสุวรรณภูมิเดินทางเข้าไปค้าขายด้วย ก็ส่งเรือใหญ่แล่นเลียบชายฝั่งมาค้าขายเองอย่างกว้างขวาง

ผลจากการเปลี่ยนแปลงของจีน ทำให้บ้านเมืองขนาดเล็กมีโอกาสติดต่อค้าขายกับจีนโดยตรง ทำให้รัฐใหญ่ที่เคยเป็น "คนกลาง" คุมการค้าต้องเสื่อมโทรมลงทีละน้อยๆ รัฐใหญ่บางแห่งร่วงโรยลดความสำคัญ แต่บ้านเมืองขนาดเล็กที่เคยอาศัยรัฐใหญ่ก็เติบโตขึ้นแทนที่ เช่น เกิดรัฐเจนลีฟูขึ้นภายในทางลุ่มน้ำปิง (เขตจังหวัดนครสวรรค์) แต่รัฐทวารวดีทางลุ่มน้ำลพบุรี-ป่าสัก ปรับเปลี่ยนเชื้อวงศ์ชนชั้นสูงแล้วได้ชื่อรัฐใหม่ว่าละโว้ หรือกัมโพช ที่เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกับเมืองพระนครบริเวณทะเลสาบในกัมพูชา

ด้วยสภาพแวดล้อมและความจำเป็นทางศาสนา-การเมือง ทำให้รัฐที่อยู่ใกล้ทะเลต้องปรับปรุงตัวอักษรทวารวดีที่ใช้มาก่อน ให้มีลักษณะเฉพาะขึ้นมาอย่างน้อย ๒ พวก คืออักษรมอญของกลุ่มชนพูดภาษามอญ และอักษรขอมของกลุ่มชนพูดภาษาเขมร สิ่งนี้เองที่ทำให้เกิดอาณาจักรใหญ่ ๒ แห่ง คือ รามัญประเทศ ยกย่องพุทธศาสนาเถรวาท ทางทะเลอันดามัน (ในพม่า) กับกัมพุชเทศ ยกย่องศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ทางทะเลสาบ (ในกัมพูชา)

ในยุคนี้มีหลักฐานโบราณคดีระบุชัดเจนว่าเริ่มมีพันธุ์ข้าวต่างประเทศ เมล็ดเรียว แพร่หลายในกลุ่มชนชั้นสูง ต่อมาเรียกข้าวเจ้า แต่ประชากรส่วนใหญ่ยังกินข้าวเหนียว

ละโว้-อโยธยา
และรัฐ "เครือญาติ" สยาม

ครั้นหลัง พ.ศ. ๑๗๐๐ มีความเปลี่ยนแปลงทางศาสนา-การเมืองครั้งใหญ่ เพราะอาณาจักรกัมพูชาเปลี่ยนศาสนาจากยกย่องศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) มายกย่องนับถือพุทธศาสนามหายานเป็นใหญ่ มีศูนย์กลางอยู่ที่ศรียโสธรปุระ หรือนครธม แล้วส่งผลให้บ้านเมืองและรัฐเครือญาติทางลุ่มน้ำมูน-ชีกับลุ่มน้ำเจ้าพระยาต้องยอมรับนับถือมหายานตามไปด้วย ดังจะเห็นพุทธสถานมหายานยุคนี้อยู่ทั่วไป เช่น ที่ปรางค์สามยอด (ละโว้-ลพบุรี) ปราสาทกำแพงแลง (เพชรบุรี) ปราสาทเมืองสิงห์ (กาญจนบุรี) ฯลฯ

แต่ความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ทางศาสนา-การเมืองครั้งนี้ก็ก่อให้เกิดความขัดแย้งด้วย เพราะฝ่ายที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาทไม่อาจยอมรับได้ โดยเฉพาะพวกที่สืบตระกูลไทย-ลาว หรือสยามมาแต�เดิม เลยเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น เปลี่ยนราชวงศ์และย้ายศูนย์กลาง ดังกรณีรัฐละโว้ย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่อโยธยาศรีรามเทพนคร ทางริมแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนทางลุ่มน้ำยมก็เกิดรัฐสุโขทัยขึ้น พร้อมกับรัฐสุพรรณภูมิ (ที่สืบเนื่องพุทธเถรวาทจากอู่ทอง-นครชัยศรี) ทางลุ่มน้ำท่าจีน ฯลฯ รวมทั้งรัฐนครศรีธรรมราชทางภาคใต้ โดยยกย�องพุทธศาสนาเถรวาทตามประเพณีที่มีมาแต�ครั้งสุวรรณภูมิและทวารวดี

จนถึงเรือน พ.ศ. ๑๘๐๐ เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ คือกาฬโรค (Black Dead) หรือโรคห่า ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นก่ายกอง มีผลให้พระเจ้าแผ่นดินในบ้านเมืองและแว่นแคว้นที่เกิดโรคระบาดต้องขจัดปัดเป่าสิ่งเหล่านั้นให้หมดไป วิธีดีที่สุดคือสถาปนาบ้านเมืองเสียใหม่ด้วยพิธีกรรมความเชื่อทางศาสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สมเด็จพระรามาธิบดีสถาปนาพระราชวังอันเป็นศูนย์กลางของราชธานีอโยธยาศรีรามเทพเสียใหม่ แต่ยังอยู่ใกล้เคียงบริเวณเดิม เป็นต้น แล้วภายหลังต่อมารู้จักกันในชื่อพระนครศรีอยุธยา หรือกรุงศรีอยุธยา

หลังจากนั้นก็เกิดการรวมตัวของบ้านเล็กเมืองน้อยขึ้นเป็นรัฐ "เครือญาติ" อิสระ มีพระเจ้าแผ่นดินของตัวเองทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยยังไม�มีที่ใดมีอำนาจเป็น "อาณาจักร" (มีเมืองใดเมืองหนึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งเดียว แล้วแผ่อำนาจทางการเมืองเหนือบ้านเมืองอื่นๆ) แต่ต่างมีความสัมพันธ์ฉันเครือญาติด้วยการ "แต่งงาน" เชื่อมโยงวงศ์วานว่านเครือซึ่งกันและกัน

แว่นแคว้นหรือรัฐน้อยใหญ่ในเวลานั้นมีดังนี้

ภาคเหนือ มีรัฐโยนก ต่อมาขยายตัวเป็นรัฐล้านนา คู่กันมากับรัฐล้านช้าง (ในลาวเหนือ) นอกจากนั้นยังต่อเนื่องคาบเกี่ยวกับรัฐไทยใหญ่ทางลุ่มแม่น้ำสาละวิน (ทางตอนเหนือของพม่า) ด้วย

ภาคอีสาน มีรัฐศรีโคตรบูร ทางลุ�มแม�น้ำโขง ศูนย์กลางอยู่เวียงจัน แต่ควบคุมดินแดนเข้ามาถึงบางส่วนของอีสาน ส่วนทางลุ่มน้ำมูนมีบ้านเมือง เช่น เมืองพิมาย เมืองพนมรุ้ง ฯลฯ ต่อเนื่องถึงเมืองโคตรบอง เมืองเรอแดว (ทางตอนใต้ของลาว)

ภาคใต้ มีรัฐนครศรีธรรมราชกับรัฐปัตตานี เป็นสำคัญ

ภาคกลาง แบ่งเป็น ๒ ตอน คือ ตอนบนกับตอนล่าง

ตอนบน มีรัฐสุโขทัย ควบคุมพื้นที่ลุ่มน้ำปิง-ยม-น่าน ลงมาถึงเมืองพระบาง (นครสวรรค์) มีเส้นทางคมนาคมและการค้าเส้นหนึ่งไปทางทิศตะวันตกสู่อ่าวเมาะตะมะทางบ้านเมืองมอญ-รามัญประเทศ

ตอนล่าง มี ๒ ฟาก คือ ฟากตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา กับฟากตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา

ฟากตะวันตก มีรัฐสุพรรณภูมิ ควบคุมพื้นที่ตั้งแต่เมืองสรรค์บุรี (ชัยนาท) ลงไปถึงเมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี ฯลฯ เอกสารจีนเรียกพวกนี้ว่าเสียม หรือเสียน หมายถึงสยาม

ฟากตะวันออก มีรัฐอโยธยาศรีรามเทพ ควบคุมพื้นที่เดิมของรัฐละโว้ เอกสารจีนเรียกพวกนี้ว่าหลอหู หรือหลอฮก และเกี่ยวดองเป็นเครือญาติใกล้ชิดสนิทสนมกับอาณาจักรขอมแห่งเมืองพระนคร ในกัมพูชา

กรุงศรีอยุธยา
ราชอาณาจักรสยามแห่งแรก

บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีรัฐละโว้-อโยธยาศรีรามเทพอยู่ทางฟากตะวันออก กับรัฐสุพรรณภูมิอยู่ทางฟากตะวันตก ในกลุ่มชนชั้นสูงต่างเป็น "เครือญาติ" กันทางการแต่งงาน ทำให้มีการรวมตัวทางการเมืองอย่างหลวมๆ ดังเอกสารจีนเรียกชื่อรัฐอย่างรวมๆว่าเสียมหลอหู หรือเสียมหลอ แต่บางครั้งก็ขัดแย้งแย่งชิงอำนาจจนต้องแยกเป็นรัฐ "เครือญาติ" อิสระจากกัน

จนถึงหลัง พ.ศ. ๑๙๐๐ พระเจ้าแผ่นดินจากรัฐสุพรรณภูมิ (ที่เมืองสุพรรณบุรี) รวมกับรัฐสุโขทัย และมีจีนอุดหนุนอยู่ด้วย ใช้กำลังไพร่พลยึดอำนาจจากพระเจ้าแผ่นดินเชื้อสายราชวงศ์ละโว้ที่ปกครองอโยธยาศรีรามเทพอยู่ขณะนั้น แล้วขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินมีอำนาจกว้างไกลเหนือรัฐสุพรรณภูมิ รัฐนครศรีธรรมราช รัฐสุโขทัย รัฐอโยธยาศรีรามเทพ จนเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศทั้งปวงว่าเป็นราชอาณาจักรสยามอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก แล้วขนานนามอาณาจักรว่ากรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา แสดงรากเหง้าว่าสืบจากกรุงทวารวดีอันศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นที่รู้จักทั่วไปในชื่อกรุงศรีอยุธยา รุ่งเรืองขึ้นมาเพราะตั้งอยู่บนศูนย์กลางเส้นทางคมนาคม-การค้าของสุวรรณภูมิมาแต่เดิม โดยมีรัฐ "เครือญาติ" อิสระอยู่โดยรอบ คือ รัฐพม่ารามัญ รัฐล้านนา รัฐล้านช้าง-เวียงจัน รัฐจำปาสัก รัฐกัมพูชา

กรุงศรีอยุธยาล่มสลายลงเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้วเกิดศูนย์กลางราชอาณาจักรสยามแห่งใหม่ขึ้นที่กรุงธนบุรี แผ่อำนาจเหนือรัฐล้านนา รัฐล้านช้าง-เวียงจัน ฯลฯ จนถึง พ.ศ. ๒๓๒๕ สถาปนากรุงรัตนโกสินทร�ขึ้นใหม่ แต่บรรดานานาประเทศทั้งปวงรู้จักทั่วไปว่าสยาม หรือกรุงสยาม เขียนอย่างตะวันตกว่า SIAM กลุ�มประชากรทุกเผ่าพันธุ์ล้วนเป็นชาวสยามที่สืบมาแต�ดั้งเดิมดึกดำบรรพ�ครั้งสุวรรณภูมิหลายพันป มาแล้ว

จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนชื่อจากสยามเป็นประเทศไทย เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า THAILAND บรรดาชาวสยามก็กลายเป“นคนไทยสืบถึงปัจจุบัน

ที่มา สุจิตต์ วงษ์เทศ " เรื่องจากปก" ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 25 ฉบับที่ 03 วันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2547

วันศุกร์ที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ฮีตคลองประเพณี


ฮีตคลองประเพณี (ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.lannaworld.com/nation/thaidam.htm )

ประเพณีการเกิด

นับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงวันคลอด ผู้เป็นแม่คงทำงานตามปกติไม่มีการพักผ่อน โดยเชื่อว่าการออกใช้แรงงานนั้นจะทำให้คลอดลูกง่าย เมื่อมีอาการเจ็บท้องก่อนคลอดจะทำพิธีเซ่นผีเรือนเรียกว่า "วานขวัญผีเรือน" การประกอบพิธีกรรมให้หมอขวัญเป็นผู้ทำพิธีฆ่าไก่ ๑ ตัว เซ่นให้ผีญาติพี่น้องที่ตายทั้งกลมหรือตายในขณะคลอดลูกกินก่อน เพื่อไม่ให้มารังควาญรบกวนในขณะคลอด เมื่อเด็กคลอดพ้นจากครรภ์มารดาแล้ว ก็จะตัดสายรกซึ่งเรียกว่าสายแห่ยาวประมาณ ๒ ข้อมือ อาบน้ำเด็กน้อยด้วยน้ำอุ่น แล้วนำไปวางไว้ในกระด้ง รอจนกระทั่งสายรกหลุดออกมา เมื่อสายรกหลุดพ้นออกจากครรภ์แล้วนำไปล้างบรรจุใส่กระบอกไม้ไผ่ที่เตรียมไว้แล้วนำไปแขวนที่คบไม้ใหญ่ในป่าบั้งแห่ซึ่งเป็นป่าสำหรับทิ้งรกเด็กแรกเกิด โดยแขวนสูงจากพื้นดินระดับเสมอศีรษะคนเดินผ่าน ส่วนแม่ก็ให้ล้างชำระทำความสะอาดร่างกายเล็กน้อยแล้วนั่งอยู่ไฟเรียกว่า "อยู่กำเดือน" เมื่อถึงเตาไฟให้หันหน้าเข้าหาเตาไฟ เอามือควักเขม่าควันไฟมากิน หลังจากนั้นดื่มน้ำร้อนอยู่ไฟและอาบน้ำร้อนที่ต้มผสมใบไม้ซึ่งเป็นสมุนไพรพื้นบ้านจนครบเดือน
การอยู่กำหรืออยู่ไฟ ภายหลังคลอดเริ่มอยู่ไฟตั้งแต่วันแรกเป็นเวลา ๓๐ วัน ในระยะแรก การอยู่ไฟจะนั่งอยู่ที่เตาไฟตลอดเวลา ๓ วัน เรียกว่า "อยู่กำไฟ" แม่กำเดือนหรือหญิงที่อยู่ไฟจะต้องระมัดระวังเรื่องอาหาร รับประทานได้แต่ข้าวเหนียวนึ่งกับเกลือคั่วหรือเกลือเผาจนครบ ๓ วัน จึงจะ"ออกกำไฟ" ในระยะนี้จะมีญาติพี่น้องและผู้ใกล้ชิดมาเยี่ยมเยือนและอยู่เป็นเพื่อนตลอดเวลา เมื่อออกกำไฟแล้ว ให้ไปสระผมที่ท่าน้ำแต่จะไม่อาบน้ำ ใช้ผ้ารัดเอวไว้ผืนหนึ่งพร้อมกับคาด"ผ้าฮ้ายฝั้นใต้ไฟ"(ชุดติดไฟ) ทับไว้อยู่ข้างนอกเพื่อให้เกิดความอบอุ่นแก่ร่างกาย เมื่อกลับมาถึงเรือนแล้วทำพิธีเซ่นผีย่าไฟโดยใช้ไข่ไก่ ๑ ฟอง ไปวางไว้ตรงที่ทารกคลอด ทำพิธีสู่ขวัญให้แก่เด็กน้อย สู่ขวัญนมและสู่ขวัญที่นอนเพื่อขอให้ช่วยดูแลกรักษาและเลี้ยงดูเด็กน้อยที่เกิดใหม่ ส่วนแม่ใช้ไก่ต้ม ข้าวต้ม ขนม จัดใส่สำรับทำพิธีสู่ขวัญ หลังจากนั้นเมื่อถึงเวลากลางคืนก็ให้แม่และเด็กน้อยย้ายไปนอนบริเวณที่นอนตามปกติ แต่ผู้เป็นแม่จะต้องอยู่ไฟ ต่อไปจนกระทั่งครบ ๓๐ วัน จึงออกจาก"อยู่กำเดือน"
อาหารการกิน ในเวลาอยู่ไฟจะไม่รับประทานเนื้อสัตว์ทั่วไป มีแต่ผักและปลาบางชนิด เช่น ปลาคิง ปลาแก้ม โดยนำมาปิ้งเมื่อครบ ๒๐ วัน ฆ่าเป็ด ๑ ตัว ทำพิธีเซ่นผีเต่ท่า จากนั้นจึงเริ่มรับประทานเนื้อสัตว์ได้ โดยเริ่มจากเป็ดก่อนต่อมาเป็นไก่ หมู ปลาย่าง ปลาไหลย่าง ห้ามรับประทานเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย จนกว่าจะออกจากกำเดือน โดยเฉพาะเนื้อควายเผือกห้ามรับประทานเด็ดขาด เพราะจะทำให้มีอาการแสลงอาจถึงตายได้

ความเชื่อของลาวโซ่ง

ส่วนใหญ่มีความเชื่อในเรื่องผี และขวัญอยู่มาก เชื่อว่าผีนั้นเป็นเทพยดาที่ให้ความคุ้มครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผีเรือน หากทำสิ่งไม่ดีจะเป็นการผิดผี ซึ่งผีเรือนอาจจะลงโทษได้

ลาวโซ่งมีการนับถือผี
การนับถือผีจะ มีการบวงสรวงผีเป็นประจำ เช่น ผีบรรพบุรุษ ที่มุมหนึ่งในบ้านจะใช้เป็นที่บูชาผีบรรพบุรุษ เรียกว่า “กะล่อหอง” นอกจากนี้ยังมีการนับถือ “แถน” คือผู้ให้คุณและโทษ
ผีแถนหรือผีฟ้า เชื่อว่าเป็นเทวดาอยู่บนฟ้า สามารถบันดาลความเป็นไปแก่มนุษย์ทั้งด้านดีและด้านร้าย ต้องปฎิบัติตนให้ถูกต้องตามความประสงค์ของแถน เพื่อจะได้รับความเมตตาได้รับความสุข
ผีบ้านผีเรือน เป็นผีที่คุ้มครองป้องกันบ้านเรือนให้ร่มเย็นเป็นสุขและอุดมสมบูรณ์ อาจสิงสถิตอยู่ตามป่า ภูเขาหรือต้นไม้บางแห่ง ก็สร้างศาลให้อยู่บริเวณที่มีหลักเมือง ถือว่าเป็นเขตหวงห้ามใช้เฉพาะการประกอบพิธีเซ่นไหว้ หรือที่เรียกว่า เสน เท่านั้น ส่วนผีประจำหมู่บ้านให้อยู่ต่างหากเรียกว่สา ศาลเจ้าปู่ หรือศาลตาปู่ และต้องทำพิธีเซ่นไหว้ทุกปี
ผีบรรพบุรุษ เป็นผีของปู่ย่า ตายาย หรือพ่อแม่ที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว จะถูกเชิญขึ้นไว้บนเรือน ณ ห้องผีเรือน หรือห้องของบรรพบุรุษที่เรียกว่า กะล่อท่อง และต้องจัดพิธีเซ่นไหว้ทุกปี เรียกว่า พิธีเสนเรือน
ผีป่าขวง และผีอื่น ๆ ที่สถิตอยู่ตามป่า ภูเขา แม่น้ำ หรือสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งหากคนทำให้ไม่พอใจก็อาจลงโทษให้เจ็บป่วยได้เช่นกัน

ความเชื่อในเรื่องขวัญ

เชื่อว่าแถนเป็นผู้สร้างให้มนุษย์มาเกิด และมีขวัญแต่ละคนติดตัวมาอยู่ในร่างกายรวม ๓๒ ขวัญ ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวทำงานได้ ขวัญอาจตกหล่นหรือสูญหายได้ง่าย ถ้าตกใจหรือเจ็บป่วยขวัญจะไม่อยู่กับตัว จึงต้องทำพิธีเรียกขวัญ หรือสู่ขวัญ เพื่อให้ขวัญกลับมาอยู่ในร่างกายอย่างปกติสุขตามเดิม

ขับมด
เป็นจารีตในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บของไทดำกล่าวคือ เมื่อมีคนเจ็บป่วยเรื้อรังในครอบครัว รักษาด้วยหมอยาพื้นเมืองแล้วไม่หาย สามีภรรยาหรือญาติของผู้ป่วยจะไปหา "หมอเหยา" มาเสกเป่าเยียวยาแก้ไข ถ้ายังไม่หายก็จะไปเชิญหมอมดมาทำพิธีรักษาหมอมดจะรักษาด้วยการขับมดและเสี่ยงทาย เพื่อให้ทราบสาเหตุของการเจ็บป่วย ถ้าหากถูกผีทำก็จะทำพิธีเลี้ยงผีแก้ไขอาการเจ็บป่วย เดิมการรักษาของหมอมดมีค่าคาย(ขึ้นครู) ๒ บี้ แต่ปัจจุบันใช้เงิน ๑,๐๐๐ กีบ เทียน ๘ คู่ ไข่ ๒ ฟอง กระเทียม ๒-๓ หัว ฝ้าย ๑ มัด เกลือ ๑ ห่อ ข้าวสารใส่กะละมัง หวี และปอยผม ๑ ปอย เพื่อถวายให้ผีมด การรักษาเริ่มด้วยการให้ผู้ช่วยหมอมด ๒ คนช่วยกันเป่าปี่ หมอมดจะทำการขับมดเพื่อเชิญผีมดให้มาช่วยในการวินิจฉัยสาเหตุของการเจ็บป่วย โดยสุ่มถามผีมดว่าถูกผีอะไรทำ เช่น ถามว่าถูกผีเรือนทำใช่ไหม แล้วเสี่ยงทายหาคำตอบด้วยการสาดข้าวสารลงบนพื้น ๓ ครั้ง ให้ได้จำนวนคู่-คี่สลับกัน กล่าวคือ ถ้าครั้งแรกได้จำนวนคู่ ครั้งที่สองจะต้องได้จำนวนคี่ และครั้งที่สามได้จำนวนคู่ แสดงว่าผิดผีเรือน ถ้าเสี่ยงทายไม่ได้จำนวนดังกล่าวก็จะเป่าปี่ขับมดต่อไปอีกจนจบคำขับมด แล้วเสี่ยงทายอีกเช่นนี้จนกระทั่งได้จำนวนคู่สลับคี่ตามที่ต้องการ ดังนั้นการขับมดจึงใช้เวลานานอาจใช้เวลาตั้งแต่ตอนบ่ายจนกระทั่งถึงกลางคืน เมื่อทราบถึงสาเหตุของการเจ็บป่วยว่าถูกผีใดมาทำ หมอมดก็จะให้ญาติผู้ป่วยจัดเตรียมเหล้า อาหาร และสิ่งของสำหรับเซ่นเลี้ยง เพื่อให้เลิกทำแก่ผู้เจ็บป่วย
การรักษาของหมอมดไม่มีข้อห้ามในการรักษาร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบัน แม้ว่าคนป่วยจะนอนอยู่โรงพยาบาล หมอมดทำพิธีรักษาที่บ้านไปด้วยก็ได้ ผู้ร่วมพิธีขับมดได้แก่ ญาติพี่น้องใกล้ชิด เพื่อนบ้านใกล้เคียง รวมทั้งคนในหมู่บ้านจะมาร่วมโดยไม่ต้องบอกกล่าว
ขับมด เป็นการรักษาทางด้านจิตใจ การเชิญหมอมดมารักษาแสดงว่าลูกผัวรักแพง รวมทั้งมีญาติและเพื่อนบ้านมาเยี่ยมเยือนทำให้ผู้ป่วยมีขวัญและกำลังใจดีขึ้น ซึ่งอาจทำให้หายจากการเจ็บป่วย

การแต่งกายของลาวโซ่ง
การแต่งกายผู้ชายนุ่งกางเกงขาสั้น ปลายแคบเรียวยาวปิดเข่า นุ่งแบบกางเกงจีน เรียกว่า “ส้วงขาเต้น” หรือ “ส้วมก้อม” แปลว่า กางเกงขาสั้น ตัวเสื้อเป็นเสื้อแขนยาวทรงกระบอก ปลายแขนปล่อยกว้างขนาดข้อมือผ่าหน้าตลอด ติดกระดุมเงินยอดแหลมมีลวดลาย เรียงกันถี่ประมาณ 10-19 เม็ด ตัวสั้นเลยเอวไปนิดหน่อย ตัวเสื้อเย็บเข้ารูปทรงกระสอบ หน้าอกผาย คอตั้ง ด้านข้างตอนปลายผ่าทั้ง 2 ข้าง ใช้เศษผ้า 2-3 ชิ้นตัดขนาดรอยผ่าเย็บติดไปกับรอยผ่า เรียกว่า เสื้อชอน ส่วนผู้หญิงในชีวิตประจำวันจะนุ่งผ้าถุงพื้นดำ ประกอบด้วยผ้า 3 ชิ้น ชิ้นที่ 1 เป็นสีดำ ไม่มีลวดลายกว้างประมาณ 12 นิ้ว เป็นซิ่นทั้งผืน ชิ้นที่ 2 เป็นซิ่นสีดำสลับลายสีขาว ชิ้นที่ 3 กว้างประมาณ 1 ฟุต มีลวดลายสีขาวสองสามริ้ว เย็บติดเป็นตีนซิ่น ถ้าสามีตายต้องเลาะตีนซิ่นนี้ออก เพื่อไว้ทุกข์ ส่วนเสื้อใช้แขนยาวทรงกระบอก ตัวเสื้อเย็บเข้าตัว คอตั้งผ่าอกตลอด ติดกระดุม เงินถี่ 10 เม็ด เรียกว่า เสื้อก้อม บางทีจะใช้ผ้าคาดอกเรียกว่าผ้าเบี่ยว ปักลวดลายไว้ที่ชายทั้งสอง ชายหญิงที่แต่งงานแล้วจะใช้ ผ้าเบี่ยวสีดำหรือครามแก่

ในโอกาสพิเศษ เช่น พิธีแต่งงาน ลาวโซ่งจะแต่งชุดใหญ่ เรียกว่า เสื้อฮี ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายย้อมคราม มี 2 ด้าน เสื้อฮีของ ชายยาวคลุมสะโพก คอกลม กุ้นรอบคอด้วยผ้าไหมสีแดง แล้วเดินด้วยเส้นทับด้วยผ้าไหมสีอื่น ตรงคอด้านข้างติดกระดุมแบบ คล้อง 1 เม็ด ผ่าตลอดตั้งแต่กระดุมป้ายทบมาทางด้านข้าง แขนเสื้อเป็นแขนกระบอกยาวปลายแคบ ชายเสื้อจะปักด้วยผ้าไหมสี ต่าง ๆ พร้อมติดกระจกชิ้นเล็ก ๆ ด้านข้างผ่าตั้งแต่ปลายเสื้อจนถึงเอว ปักตกแต่งอย่างงดงาม ส่วนของผู้หญิงตัวเสื้อใหญ่และ ยาวกว่ามาก คอแหลมลึก ไม่ผ่าหน้า แขนเสื้อแคบเป็นแขนกระบอก ใส่นุ่งกับผ้าถุง (สมทรง 2524, น.13-15)
ทรงผมของลาวโซ่ง สมัยก่อนเด็กหญิงและชายจะถูกกร้อนผม พอเริ่มเป็นหนุ่มสาว ผู้ชายจะตัดผมทรงดอกกระทุ่ม หรือทรงสูง ส่วนผู้หญิงเริ่มไว้ผมยาว สำหรับหญิงที่สามีตาย ต้องปล่อยผมสยาย ไม่เกล้าผม และห้ามใช้เครื่องประดับทุก ชนิดระหว่างที่ไว้ทุกข์ 1 ปี ต้องทำผมแบบปั้นเกล้าตก คือให้กลุ่มผมอยู่ข้างหลัง เมื่อออกทุกข์แล้วจึงทำผมเกล้าแบบเดิมได้

ประเพณีวัยหนุ่ม
การศึกษาอบรม พ่อจะสอนลูกชายให้รู้จักการทำไร่ไถนา จักสาน เช่น สานกะเหล็บ กระบุง ข้อง ไซ และภาชนะต่าง ๆ ส่วนแม่จะสอนลูกสาวให้รู้จักเวียกเหย้าการเรือน ปั่นฝ้าย เลี้ยงไหม สาวไหม ทอผ้า และการประดิษฐ์ลวดลายต่าง ๆ บนผืนผ้า
เลือกคู่ครอง เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยหนุ่มวัยสาว ผู้สาวจะชวนเพื่อน ๆ ไปลงข่วงปั่นฝ้ายเป็นกลุ่ม ๆ ในยามค่ำคืนของฤดูหนาว ส่วนผู้บ่าวก็จะชวนกันไปเกี้ยวสาวปั่นฝ้าย โดยเป่าปี่แล้วขับไทดำวนเวียนไปมาตามข่วงโน้นบ้างข่วงนี้บ้าง มีการขับโต้ตอบกันไปมาระหว่างหนุ่มสาวจนดึกดื่นจึงกลับขึ้นเรือนโดยมีผู้บ่าวที่ชอบพอกันติดตามไปส่ง กระทำเช่นนี้เป็นกิจวัตรประจำจนเกิดความรักซึ่งกันและกัน ฝ่ายชายจะเล่าให้พ่อแม่ฟังเกี่ยวกับเรื่องที่ตนไปรักมักผู้สาวแล้วอยากได้เป็นภรรยา หลังจากนั้นพ่อแม่ก็จะไปหารือ
บรรดาลุงป้าน้าอาที่นับถือ แล้วแต่ง"พ่อใช้"ไปถามผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง ๒-๓ ครั้ง โดยปกติการไปถามครั้งแรกหรือครั้งที่สองพ่อแม่ฝ่ายหญิงจะยังไม่ตอบตกลงหรืออาจบอกปัดก็ได้ ดังนั้นจึงไปถามอีกเป็นครั้งที่สามเรียกว่า ถามขาด เมื่อพ่อแม่ฝ่ายหญิงตอบรับก็เป็นอันว่าตกลงให้แต่งงานกันได้ หลังจากนั้นจะเตรียมพิธีกินดองน้อย

กินดองน้อย เป็นพิธีสู่ขอเรียกว่า "ไปส่อง" ฝ่ายชายจะจัดเตรียมพาข้าวหรือขันหมากสู่ขอ โดยฆ่าไก่ ๔ ตัว แยกเป็น ๔ ห่อ สิ่งของประกอบพิธีสู่ขอจะทำเป็นห่ออย่างละ ๔ ห่อ ได้แก่ ปลาปิ้ง ๔ ห่อ หนังหาด ๔ ห่อ (เปลือกไม้ใช้เคี้ยวกับหมาก) พลู ๔ ห่อ เหล้า ๔ ขวด จัดใส่สำรับมอบให้เฒ่าแก่ญาติฝ่ายเจ้าสาว แล้วมอบตัวเป็นเขยกว้านในวันนั้น เพื่อเตรียมพิธีกินดองใหญ่(แต่งงาน)ต่อไป เขยกว้านจะอาศัยอยู่ที่บ้านเจ้าสาวเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่พิธีกินดอง โดยใช้เวลา ๒ เดือน ถึง ๑ ปี บางรายอาจใช้เวลา ๓-๔ ปี และยังไม่มีสิทธิ์อยู่กินกันฉันสามีภรรยา เพราะผิดผีเรือน จะต้องนอนอยู่ทางกว้าน (ปลายเท้าของพ่อตาแม่ยาย) หลังจากพิธีส่อง ฝ่ายหญิงยังมีสิทธิเสรีในการพูดคุยกับผู้บ่าวคนอื่นที่มาเกี้ยวพาราสี โดยว่าที่สามีจะต้องทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นและไม่โกรธ ทั้งนี้เพื่อทดสอบความอดทน อดกลั้นในอารมณ์

พิธีแต่งดองหรือกินดองใหญ่
เป็นพิธีแต่งงานของไทดำ มีกำหนด ๓ วัน บางครั้งจะจัดพิธีพร้อมกับการ"เสนเรือน" วันแรกฝ่ายชายจะทำพิธีเซ่นผีเรือนที่บ้านเจ้าสาว โดยฆ่าหมู ๑ ตัว ไก่ ๘ ตัว ปลาปิ้ง ๘ ห่อ หาด ๘ ห่อ พลู ๘ ห่อ เหล้าไห ๒ ไห พร้อมกับเงินสินเลี้ยงหรือค่าน้ำนม ๕ หมัน ๒ บี้ ฆ่าควาย ๑ ตัว เลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน วันที่สองสะใภ้ใหม่จะไปหยามเรือนพ่อปู่แม่ย่า คือ ไปเยี่ยมพ่อแม่ของสามีตั้งแต่ตอนเช้าเพื่อแสดงความเคารพ สะใภ้จะต้องมีของไปฝาก เช่น ผ้าเปียว (ผ้าคลุมศีรษะของสตรีเผ่าไทดำ) ผ้าปู ที่นอน ซิ่นไหม เสื้อ ถุงย่าม ที่ทำจากฝีมือของตนเอง ส่วนพ่อปู่แม่ย่าจะให้เงินรับไหว้จำนวน ๕-๑๐ หมัน หรือให้สิ่งของตอบแทนตามสมควรแก่ฐานะ หลังจากนั้นก็จะไปนบไหว้ญาติผู้ใหญ่ของสามี จนกระทั่งถึงตอนบ่ายจึงเดินทางกลับไปรับประทานอาหารเรียกว่า กินงายหัว ส่วนวันที่สามของพิธีแต่งดองเป็นวันสรุปเพื่อเก็บของที่ยืมมาจัดงานส่ง ทำอาหารเลี้ยงผู้ที่อยู่ช่วยงาน ส่วนมากจะเป็นญาติพี่น้องเพื่อนสนิทและเพื่อนบ้านใกล้เคียง
ธรรมเนียมดั้งเดิมของไทดำ ผู้เป็นเขยจะต้องอยู่ที่บ้านของพ่อตาแม่ยาย มีกำหนดนานถึง ๑๒ ปี จึงจะมีสิทธิ์กลับคืนไปอยู่กับพ่อแม่ฝ่ายสามีหรือปลูกเรือนใหญ่อยู่ใกล้ ๆ กับพ่อแม่และญาติฝ่ายสามี ต่อมาลดลงเหลือ ๘ ปี ปัจจุบันลดลงเหลือ ๔ ปี

"มานทาง" หญิงใดมีท้องนอกสมรสเรียกว่า "มานทาง" จะถูกสังคมลงโทษ โดยถูกอำนาจการปกครองของหมู่บ้านปรับไหมทั้งชายและหญิงเป็นเงิน ๑ หมัน ๕ บี้ เรียกว่า "เงินล้างน้ำล้างท่า" แล้วให้อยู่กินเป็นสามี-ภรรยากัน ถ้าหากฝ่ายชายไม่ยอมรับเป็นภรรยาจะต้องเสียค่าปรับไหมให้แก่ฝ่ายหญิงเป็นเงิน ๓๐ หมัน ในกรณีที่หญิงนั้นตายจะถูกชาวบ้านปรับไหมเรียกว่า "เฮียวซาว" โดยให้ฆ่าควาย ๑ ตัวเพื่อเลี้ยงผู้มาช่วยงานศพแล้วมอบความรับผิดชอบการจัดงานศพให้ฝ่ายชายรับภาระทั้งหมด
การแต่งงานของลาวโซ่ง การแต่งงาน จะเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับฝ่ายหญิง การเลือกคู่ครองเป็นอิสระ เห็นได้ในประเพณีลงข่วงเล่น คอนบนลานกว้าง ซึ่งเป็นลานนวดข้าว ตกกลางคืนหลังจากทำไร่นามาแล้ว หญิงสาวจะมานั่งทำงานในลานข่วง เช่น ปั่นฝ้าย กรอไหม เย็บปักถักร้อย ตำข้าว ฯลฯ ลานนี้เปิดโอกาสให้หนุ่มสาวพบปะกัน หนุ่มสาวจะนัดเจอกันหลังลงข่วงเสร็จแล้ว ระหว่างคุยกันห้ามชายแตะต้องตัวหญิงสาว ถ้าแตะต้องตัวถือว่าผิดผี ผู้ชายต้องเอาดอกไม้ ธูปเทียน เหล้า หมากพลูและเงิน จำนวนหนึ่งมาขอขมาผีเรือนและพ่อแม่ฝ่ายหญิง เมื่อชายหญิงตกลงใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว ฝ่ายชายต้องไปสู่ขอหญิง มีการหมั้นและเรียกสินสอด หลังแต่งงาน หนุ่มสาวต้องแยกครัวเรือนจากพ่อตาแม่ยายทันที การแต่งงานต้องแต่งในเดือน คู่เท่านั้น (สมทรง 2524, น.19-20)

ประเพณีการตาย
ประเพณีไทดำเมื่อมีคนตายในหมู่บ้านจะมีการยิงปืนขึ้นฟ้า ๓ นัด เพื่อเป็นสัญญาณบอกกล่าวแก่ชาวบ้าน ซึ่งทุกคนจะหยุดทำงานจนกว่าจะนำศพไปฝัง ภายหลังตายบรรดาญาติพี่น้องจะช่วยกันอาบน้ำศพ จากนั้นก็แต่งตัวด้วยชุดเสื้อผ้าของเผ่าไทดำ นำผ้าแพรสีขาวมาเย็บเป็นถุงบรรจุศพแล้วใช้ไหมเย็บติดให้เรียบร้อย บรรจุลงในโลงศพโดยใช้ผ้าคลุมหน้าศพไว้ผืนหนึ่ง กรณีเด็กน้อยตายจะไม่ประกอบพิธีกรรมตายวันไหนให้นำไปฝังในวันนั้น ส่วนคนหนุ่มสาวถ้าตายตอนกลางคืนในเช้าวันรุ่งขึ้นให้ฆ่าหมูหรือวัว ควาย ๑ ตัว ทำอาหารจัดสำรับทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย กินเรียกว่า "เฮ็ดงาย" พอถึงตอนเย็นก็นำไปฝัง ส่วนคนวัยกลางคนหรือผู้สูงอายุตายเก็บศพไว้ ๑-๒ คืน แล้วจึงนำไปฝัง และฆ่าหมูหรือวัวควาย ๑ ตัว เฮ็ดงายให้ผู้ตายในเช้าของวันที่จะนำไปฝัง การทำพิธีฝังฆ่าหมู ๑ ตัว อุทิศให้เรียกว่า หมูเข้าขุม หลังจากนั้นอีก ๓ วัน จะทำพิธีเฮ็ดเฮียว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ โดยนำเครื่องเฮียวไปส่งให้ที่ป่าช้า
เมื่อเสร็จพิธีฝังศพ ผู้ไปร่วมพิธีศพทุกคนจะลงไปอาบน้ำชำระร่างกายและสระผมในแม่น้ำ เพื่อชำระสิ่งอัปมงคลทั้งหลายออกจากร่างกาย พอถึงตอนเย็นหมอขวัญจะทำพิธีสู่ขวัญให้แก่ครอบครัวของผู้ตายและผู้ที่ไปส่งศพ เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ทุกคน หลังจากนั้นครอบครัวของผู้ตายจะจัดสำรับอาหารไปทานอุทิศให้ที่หลุมฝังศพผู้ตายเป็นเวลา ๗ วัน พอครบวันที่เจ็ด เขยกก จะทำพิธีเชิญขวัญหรือวิญญาณของผู้ตายขึ้นไปเป็นผีเรือน โดยนำไปไว้ด้านในสุดของเรือนเรียกว่า "กะลอหอง" เพื่อปกป้องคุ้มครองลูกหลานและสมาชิกในครอบครัวให้อยู่ดีมีสุขตลอดไป หลังจากนั้นเมื่อครบรอบวันตายทุก ๆ ๑๐ วัน จะจัดพาข้าวเป็นสำรับเล็ก ๆ ทำพิธีเซ่นผีเรือนเรียกว่า "เสนเทวดาปาดตง" หรือ "มื้อปาดตง" นำไปวางไว้ที่ห้องผีเรือน โดยใช้อาหารจากที่สมาชิกในครอบครัวรับประทานในชีวิตประจำวัน ส่วนการ "เสนปาดตง" พิเศษจะทำในช่วงเวลาที่ได้ผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวข้าว ทำพิธีเสนปาดตงเพื่อทานข้าวใหม่ให้ผีเรือนกินก่อนสมาชิกของครอบครัว เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ครอบครัวและลูกหลาน


พิธีศพ

(ข้อมูลเพิ่มเติมจากhttp://www1.mod.go.th/heritage/nation/oldcity/samutsakhon8.htm) จะเชิญหมอเสนมาประกอบพิธี เริ่มตั้งแต่การเอาผีลงเรือน และการเอาผีขึ้นเรือน
การเอาผีลงเรือน ถ้าผู้ตายถึงแก่กรรมในบ้านเรือน และตั้งศพไว้ในบ้านก่อนจะเคลื่อนย้ายไปประกอบพิธีต่อที่วัด เจ้าภาพจะเชิญหมอเสนมาทำพิธีเรียกขวัญ (ช้อนขวัญ) คนในบ้านก่อนไม่ให้ติดตามผู้ตายไปอยู่ที่อื่น
การช้อนขวัญ เริ่มด้วยหมอเสนถือสวิงเดินนำหน้าขบวนและทำท่าช้อนไปรอบ ๆ บริเวณที่ตั้งโลงศพของผู้ตาย ตามด้วยเจ้าภาพ ซึ่งเป็นเจ้าของบ้าน เดินถือเสื้อผ้าของคนในบ้านหนึ่งชุด บรรดาญาติพี่น้อง และบุตรหลานทั้งหมดเดินตามหลัง เมื่อวนสามรอบแล้วต้องเข้าไปในห้องผีเรือน เพื่อไหว้ผีเรือนให้ช่วยคุ้มครองอันตราย หรือเคราะห์ร้ายทั้งปวง และให้ขวัญของแต่ละคนกลับมาอยู่กับตนเอง
หลังจากนั้นจึงทำพิธีเคลื่อนย้ายศพจากเรือนไปวัด โดยจัดขบวนแห่ให้สวยงาม เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ตายมีการตกแต่งด้วยธง
การเอาผีขึ้นเรือน จะทำเมื่อบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ในบ้านตายเท่านั้น เป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้ตาย มิให้วิญญาณของผู้ตายต้องเร่ร่อน เป็นการเชื้อเชิญวิญญาณของผู้ตายให้เข้าไปอยู่ร่วมกับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว เพื่อจะได้คุ้มครองบุตรหลาน
หมอเสน จะเป็นผู้กำหนดวันเอาผีขึ้นเรือนและเตรียมพิธี หลังจากเผาศพผู้ตายเรียบร้อยแล้ว วันรุ่งขึ้นหมอเสนจะเก็บอัฐิของผู้ตายบรรจุโกศส่วนหนึ่ง เพื่อให้บุตรหลานนำไปบูชา ณ ห้องผีเรือน ส่วนอัฐิที่เหลือจะใส่ไหนำไปฝังยังสถานที่ที่เตรียมไว้ในป่าช้า และนำบ้านเล็ก ๆ ทำด้วยตอกไม้ไผ่เรียกว่า หอแก้ว ปลูกคร่อมบนบริเวณที่ฝังไหอัฐิไว้ หากผู้ตายเป็นชายเช่น บิดา ปู่ ตา ฯลฯ จะตกแต่งหอแก้วให้สวยงามด้วยธงไม้ไผ่สูงประมาณ ห้าวา เรียกว่า ลำกาว พร้อมทั้งนำผ้าดิบสีขาวขลิบรอบ ๆ ขอบผ้าด้วยผ้าสีต่าง ๆ สลับกันสามสีคือ แดง เหลือง ดำ ผูกติดกับยอดไม้ไผ่ให้มีความยาวพอเหมาะกับลำกาว ปลายยอดลำกาวติดรูปหงส์ตัวเล็ก ๆ ทำด้วยไม้งิ้วแกะสลักงดงาม เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพาหนะพาผู้ตายกลับไปเมืองแถน หลังจากนั้นจะนำอาหารมาเซ่นไหว้ผู้ตาย ทุกเช้าจนครบสามวัน แล้วหมอเสนจะรื้อหอแก้ว และลำกาวทิ้งหมดด้วยเชื่อว่าจะได้ไม่มีการตายเกิดขึ้นในครอบครัวนี้อีก และนัดกำหนดวันเอาผีขึ้นเรือนตามความพร้อมของเจ้าภาพ
เมื่อถึงวันกำหนดเอาผีขึ้นเรือน หมอเสนจะเป็นผู้กล่าวเชิญวิญญาณของผู้ตายและทำพิธีเซ่นไหว้ในห้องผีเรือน โดยทำพิธีคล้ายการเสนผีเรือน เริ่มด้วยหมอเสนจะกล่าวเชิญวิญญาณของผู้ตายให้มารับอาหารที่เตรียมไว้ก่อน แล้วจึงเชิญบรรพบุรุษตามลำดับรายชื่อที่จดไว้ในสมุดผีเรือน ให้มารับอาหารจนครบทุกชื่อ เสร็จแล้วจึงทำพิธีกู้เผือนคือ การนำอาหารที่เหลือออกจากปานเผือน ทั้งหมด
หลังจากเสร็จพิธีเอาผีเรือนขึ้นเรือนเรียบร้อยแล้ว หมอเสนต้องทำพิธีสู่ขวัญ หรือเรียกขวัญญาติพี่น้องบุตรหลานในครอบครัวผู้ตาย
เสนเรือน
พิธีเสนเรือน เป็นพิธีเซ่นไหว้ผีเรือนของชนเผ่าไทดำซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ตามปกติพิธีเสนเรือนจะปฏิบัติกันทุกครอบครัวเป็นประจำ ๒-๓ ปีต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะและความพร้อมของครอบครัว เพื่อคุ้มครองบุตรหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินเจริญก้าวหน้า ผู้ประกอบพิธีกรรมคือ "หมอเสน" ส่วนผู้ร่วมพิธีได้แก่บรรดาลูกหลานและญาติ ๆ รวมทั้งแขกเชิญ ในกรณีที่เจ้าบ้านหรือสมาชิกในครอบครัวเป็นพนักงานของรัฐมีตำแหน่งสำคัญจะเชิญแขกจำนวนมาก บางครั้งแขกมาร่วมงาน ๒๐๐-๓๐๐ คน ญาติที่มาร่วมงาน แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือญาติสืบสายโลหิตจะแต่งกายแบบธรรมดา และญาติจากการแต่งงานได้แก่ฝ่ายเขยหรือสะใภ้ จะแต่งกายพิเศษด้วยชุด "เสื้อฮี" หรือเสื้อยาวเพื่อเป็นการเคารพผีเรือนและเป็นที่สังเกตให้ผู้มาร่วมงานรู้ว่าเป็นเขยหรือสะใภ้
ก่อนทำพิธีเสนเรือนจะจัดเตรียมสิ่งของที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ได้แก่ เหล้า หมู ๑ ตัว ตามปกติจะเตรียมต้มเหล้าไว้ล่วงหน้าใส่ไหฝังดินไว้ ๖ เดือน ถึง ๑ ปี เพื่อให้ได้เหล้าที่มีคุณภาพดี ส่วนหมูจะเตรียมเลี้ยงไว้ล่วงหน้าเป็นเวลา ๑ ปี


พิธีเสนเรือน เริ่มตั้งแต่ในตอนเช้า โดยมีหมอเสนเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมในห้อง ผีเรือน ผู้เข้าร่วมพิธีได้แก่ญาติที่อยู่ในสิงหรือตระกูลผีเดียวกัน พิธีกรรมเริ่มจากเจ้าบ้านยกสำรับเครื่องเซ่นถวายผีเรือน จากนั้นหมอเสนจะเริ่มประกอบพิธีโดยกล่าวเชิญผีเรือนให้มารับเครื่องเซ่น โดยเรียกชื่อผีเรือนจาก"ปั๊บ"รายชื่อผีเรือน ให้มากินเครื่องเซ่นทีละคน ขณะที่เรียกชื่อผีเรือนหมอเสนจะใช้ไม้ทู (ตะเกียบ) คีบอาหารและเครื่องเซ่นป้อนให้ผีเรือนกิน โดยหย่อนลงทางช่องเล็ก ๆลงไปใต้ถุนบ้านแล้วหยอดน้ำตามลงไป จนกระทั่งเรียกชื่อผีเรือนครบทุกคน พิธีเซ่นให้ผีกินอาหารเช่นนี้จะทำ ๒ ครั้ง คือมื้อเช้าและกลางวัน หลังจากนั้นจะเสนเหล้าหลวง โดยใช้เหล้า ๑ ขวด และกับแกล้มเป็นเครื่องเซ่น หมอเสนจะทำพิธีเรียกผีบรรพบุรุษมากินตามรายชื่อในปั๊บผีเรือนจนครบทุกคนเป็นเสร็จพิธี
ข้อมูลเพิ่มเติมจากhttp://www1.mod.go.th/heritage/nation/oldcity/samutsakhon8.htm พิธีเสนเรือน เป็นพิธีสำคัญของลาวโซ่ง ซึ่งจะขาดหรือละเลยไม่ได้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการกระทำที่เพิ่มความเป็นสวัสดิมงคลแก่ครอบครัว จะต้องจัดปีละครั้งเป็นอย่างน้อย คำว่า เสน แปลว่า เซ่น หรือสังเวย เสนเรือน หมายถึงการเซ่นไหว้ผีเรือน ได้แก่ การเซ่นไหว้ ปู่ย่า ตายาย รวมทั้งบรรพบุรุษทุกคน

การทำพิธีเสนเรือน เจ้าภาพจะเชิญหมอเสน มาเป็นผู้ประกอบพิธีพร้อมกับแจ้งญาติพี่น้องให้ทราบ กำหนดวันทำพิธี และจัดเตรียมเครื่องใช้ในการทำพิธีให้เรียบร้อย เช่น เสื้อฮี - ส้วงฮี สำหรับเจ้าภาพสวมใส่ในขณะทำพิธี ปานเผือน (ภาชนะคล้ายกระจาดขนาดใหญ่ใช้บรรจุอาหารและเครื่องเซ่นผีเรือน) ปานข้าว (ภาชนะใส่อาหารในหม้อเสน) ตั่งก๋า (เก้าอี้หรือม้านั่งสำหรับหมอเสนนั่งทำพิธีในห้องผีเรือน) และอาหารที่เป็นเครื่องเซ่นต่าง ๆ หมูจุ๊บ (เนื้อหมู เครื่องในหมูยำ) แกงไก่กับหน่อไม้เปรี้ยว เนื้อหมูดิบ ซึ่โครงหมู ไส้หมู ข้าต้มผัด มันเทศต้ม เผือกต้ม อ้อย ขนมและผลไม้ต่าง ๆ ตามฤดูกาล ข้าวเหนียวนึ่งเจ็ดห่อ ตะเกียบเจ็ดคู่ หมากพลู บุหรี่และเหล้า เป็นต้น เมื่อได้เวลาเซ่นไหว้ผีเรือน เจ้าภาพจะจัดเครื่องเซ่นต่าง ๆ บรรจุลงในปานเผือนที่เตรียมไว้ และยกเข้าไปวางไว้ในห้องผีเรือนที่เรียกว่า กะล่อห่อง ซึ่งเป็นสถานที่ทำพิธี หมอเสนจะเริ่มพิธีด้วยการกล่าวเชิญบรรดาผีเรือนที่เป็นบรรพบุรุษของเจ้าภาพ โดยเรียกชื่อบรรพบุรุษตามบัญชีรายชื่อที่เจ้าภาพจดไว้ในสมุดผีเรือน เรียกว่า ปั๊บผีเรือน จนครบทุกชื่อสามครั้ง เมื่อครบแต่ละครั้ง หมอเสนจะใช้ตะเกียบคืบหมูกับขนมทิ้งลงไปในช่องเล็ก ๆ ด้านขวาของห้องผีเรือนแล้วเซ่นเหล้าแก่ผีเรือนอีกสองครั้ง
หลังจากเซ่นไหว้ผีเรืนเรียบร้อยแล้ว หมอเสนจะทำพิธีเสี่ยงทายให้แก่เจ้าภาพเรียกว่า ส่องไก่ ด้วยการพิจารณาลักษณะของตีนไก่ในแกงหน่อไม้เปรี้ยวที่เจ้าภาพนำมาให้ และทำนายตามลักษณะของตีนไก่ จากนั้นเจ้าภาพจะทำพิธีขอบคุณหมอเสน เรียกว่า ฟายหมอ แล้วจึงเลี้ยงอาหารแขกที่มาช่วยงานเป็นอันเสร็จพิธี

ດ້ຈາກ
http://www.thaisongdumphet.is.in.th/?md=content&ma=show&id=3