วันศุกร์ที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ประวัติศาสตร์ชุมชนลาวในหัวเมืองชั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น.

รายละเอียด
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กับโครงการ “หนังสือชุดประเทศเพื่อนบ้านของไทยความรู้ของไทย…ด้วยคนไทยและเพื่อคนไทย” “พอคนลาวเดินขบวนมาในวันเปิดกีฬาซีเกมส์ไทยเราก็ร้องเฮ้ !! เชียร์กันใหญ่ เพราะรัก ถือว่าเป็นบ้านพี่เมืองน้อง แต่บางทีไทยก็ชอบพูดดูถูก เวลาคนทำอะไรเชยๆ ว่าไอ้นี้มันเป็นลาว ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และเราน่าจะรู้จักเพื่อนบ้านของเราให้ดีขึ้นกว่านี้” ข้างต้นคือคำปรารภของ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการชั้นนำด้านเอเชียอาคเนย์ศึกษาของไทย ในโอกาสที่ฝ่ายความสัมพันธ์ข้ามชาติและทางเลือกในการพัฒนา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้ให้ทุนสนับสนุนการผลิตหนังสือ “ชุดประเทศเพื่อนบ้านไทย” อันจะเป็นการเปิดมิติใหม่แห่งการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ ด้วยการคัดเลือกวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านของไทยมาตีพิมพ์เป็นชุดหนังสือวิชาการ ดร.ชาญวิทย์ ได้ให้สัม ภาษณ์เกี่ยวกับโครงการนี้ว่า ความเป็นมา งานจัดทำหนังสือชุดประเทศเพื่อนบ้านนี้เริ่มมาได้สักปีเศษ สืบเนื่องมาจากผมได้ทำบรรณานุกรมเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกียวโต และธรรมศาสตร์ จึงมีการผลักดันความคิดที่จะขยายการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้กว้างขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะระหว่าง 2 ประเทศ คือ ไทยกับญี่ปุ่นเท่านั้น แต่เป็นไทย ญี่ปุ่น และประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย โดยที่ Professor Hayao fukui จากมหาวิทยาลัยเกียวโต รวมทั้ง Profes-sor Yoneo Ishii จากมหาวิทยาลัยโซเฟีย เป็นผู้ริเริ่มและผลักดันให้เกิดขึ้น ผมจึงได้จัดทำบรรณานุกรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดย สกว. เป็นผู้จัดพิมพ์จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาโครงการหนังสือชุด ประเ ทศเพื่อนบ้านซึ่งคัดเลือกวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของคนไทยจำนวน 100 กว่าเล่ม มาเหลือประมาณ 20 กว่าเล่ม โดยท่านอาจารย์บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา ผลักดันโครงการและให้ผมเป็นหัวหน้าโครงการทำงานนี้ โดยผมนำนักวิชาการมาเป็นทีม มี อ.กาญจนี ละอองศรี, อ.สีดา สอนสี อ.ชาคริต ชุ่มวัฒนะ, อ.ธีระ นุชเปี่ยม, อ.สุเนตร ชุติทรานนท์ และ อ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
ปลุกเร้าองค์ความรู้ไทย สร้างสันติและความเข้าใจ เราเน้นการสร้างองค์ความรู้ของคนไทย ที่ผ่านมามีแต่การแปลหนังสือและงานวิชาการที่เขียนโดยชาวต่างประเทศ ซึ่งเป็นความสนับสนุนองค์ความรู้ไทย ที่ง่ายและเห็นเป็นกอบเป็นกำคือบรรดาวิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่มีอยู่ ที่จุฬาฯ , ศิลปากรฯ,ประสานมิตร ฯลฯ ซึ่งเราจะได้ความรู้ที่สะท้อนมาจากความคิดของคนไทยเป็นการปลุกเร้าความสนใจทางด้านนี้เพราะผมว่าฐานความสนใจมีอยู่เดิมแล้วเช่น ไทยสนใจฟิลิปปินส์ เพราะคนไทยไปลงทุนมาก โดยมากเป็นธุรกิจโรงแรมและบริการ เราจึงควรสนใจมีอยู่เดิมแล้วเช่นไทยสนใจฟิลิปปินส์ เพราะคนไทยไปลงทุนมาก โดยมากเป็นธุรกิจโรงแรมและบริการ เราจึงควรสนใจรอบๆ บ้านของเรา การพังทลายของสหภาพโซเวียตความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม ทำให้เราเพิ่มความอยากรู้เกี่ยวกับเพื่อนบ้านมากขึ้น ความรู้เดิมของเรามีอคติเป็นความเข้าใจผิดเยอะ ในอดีตมองในแง่ปัญหาความมั่นคงเป็นหลัก ความปลอดภัยทางชายแดนและสิทธิ ซึ่งปัจจุบันมันเปลี่ยนไป เราจึงต้องการองค์ความรู้ใหม่ โครงการนี้คือจุดเริ่มต้นของการสร้างความรู้ที่มองโดยสายตาคนไทยทางด้านวิชาการ ซึ่งโครงการนี้ต่อไปจะเป็นโครงการใหญ่อื่น ๆ ได้ ไทยเราไม่มีศูนย์การศึกษาเรื่องเกี่ยวกับต่างประเทศที่เข้มแข็ง ทำให้เราจำเป็นต้องใช้เอกสารที่ผลิตจากต่างประเทศอยู่ เพื่ออ้างอิงและใช้เป็นเอกสารซึ่งเป็นเอกสารที่มีระดับ แต่การใช้เอกสารอ้างอิงต่างประเทศ ก็ต้องใช้สายตาและมุมมองของไทย แนวคิดวิเทศคดีศึกษาเกิดจากความรู้เพื่อใช้ประโยชน์การปกครองของตะวันตกที่ปกครองอาณานิคมของตน ในระยะหลังก็เป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจวิเทศคดีจึงบูมบทบาทช่วง ค.ศ. 1980 การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเราเองก็มีความคิดคล้ายเจ้าอาณานิคม และเพื่อประโยชน์ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ แต่ผมคิดว่าความต้องการความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นการสร้างให้เราเข้าใจและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ขจัดความเข้าใจผิดเช่นกรณีพม่ากับไทย หากไม่รู้จักกันให้ดีจะเป็นปัญหาใหญ่มาก แม้แรงผลักดันมาจากเศรษฐกิจ แต่ผมคิดว่าการศึกษาไม่ได้อยู่แค่ตรงนั้น จะข้ามไปถึงการเข้าสู่ความรู้ที่ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นความรู้ผิดๆ การติดต่อของไทยกับเพื่อนบ้านในอดีต เป็นการติดต่อผ่านเจ้าอาณานิคม ไม่ใช่ตัวคนชาตินั้นๆ เช่นในกรณีของรัชกาลที่ 5 ที่ท่านโปรดชวามากจนกระทั่งได้พระพุทธรูปจากบรมพุทโธจากชวามาเมืองไทยอยู่ในวัดพระแก้ว เพื่อนนักวิชาการชาวอินโดนีเซียของผมเคยกระเซ้าว่าอินโดนีเซียจะขอทวงคืนจากไทย เหมือนไทยไปทวงทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ เพราะเค้าถือว่าของที่เราได้มานั้นเป็นของที่ฮอลันดามาปล้นแล้วเอามาให้เรา วิเทศคดีศึกษา ศาสตร์ที่ควรสนับสนุน กรอบความคิดของคนไทยส่วนใหญ่นั้น มักคิดว่าโลกของตัวเองนั้นคือโลกของเมืองไทย ถ้านอกโลกของเมืองไทยนั้นคือ อเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น มันมองข้ามไปเลยจากกรุงเทพฯ ไปโตเกียว ไม่เห็นเวียงจันทร์ ไม่เห็นฮานอย วิวัฒนาการทางภูมิปัญญา ยังไม่มีพื้นที่ให้ประเทศเพื่อนบ้านผมคิดว่ามันเป็นกรอบความคิดที่แคบ โดยมากคนจะคิดว่าวิเทศคดีศึกษาเป็นศาสตร์ “จับฉ่าย” เป็น interdisciplinary แต่ที่มาเลเซียยอมรับและให้ปริญญากันแล้ว เมืองไทยยังไม่มี ยังไม่ได้รับการยอมรับ ผมคิดว่ามันอาจเป็นเหตุผลทางวิชาการว่า เศรษฐศาสตร์คือ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ คือ รัฐศาสตร์ ไม่มองวิเคราะห์เป็นองค์รวมไม่มองว่าประเทศเป็นองค์รวม มีการพูดถึงเยอะว่าเราต้องมีการรวมสาขาวิชา เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม แต่พอปฏิบัติจริง มันทำไม่ได้ ผมจึงว่าวิเทศคดีศึกษาในประเทศเรานั้น ควรมีการสนับสนุนมากกว่านี้
ยกระดับนักวิชาการไทย ผลผลิตของสถาบันไทย โครงการหนังสือนี้ สร้างองค์ความรู้ที่มีรากเหง้าจากความเป็นไทย เรามีการสนับสนุนคนระดับสูง เป็น ดร.จบจากเมืองนอกมากแล้ว แต่ตอนนี้เราสนับสนุนคนที่เป็นผลิตผลในไทย ให้เป็นการกระตุ้นและจุดประกายให้คนเหล่านี้ และหวังว่าจะเป็นการยกระดับให้งานวิชาการไทยให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน อย่างไรก็ตามโครงการนี้เป็นการทดลองและนำร่องหรือ pilot project ก่อน แต่ถ้าเราจะออกทีละเล่มก็ไม่มีผลอะไร จึงจะออกมาเป็นชุดใหญ่เลย เนื้อหาจะหนักไปทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผมคิดว่าดี เราเริ่มต้นตรงที่ฐานของอดีตก่อน แล้วก้าวไปสู่สิ่งอื่น งานนี้ขึ้นกับกลุ่มทีมงานว่าจะให้มันสืบสานยาวนานโดยตลอดหรือไม่ ไม่ใช่บูมทีเดียวแล้วหาย ผมหวังว่า คนกลุ่มนี้จะทำต่อไป หาทุนต่อ ริเริ่มสิ่งดี ๆ ต่อไปโดย สกว. ก็ได้เริ่มสิ่งนี้ให้แล้ว ซึ่งผมคิดว่ามีคุณค่าและเป็นประโยชน์มหาศาลแก่สังคมไทยต่อไป ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ได้ทิ้งท้ายว่าโครงการ “หนังสือชุดประเทศเพื่อนบ้านของไทย” นี้ เป็นความหวังอันใหม่ ในอันที่จะสร้างบรรยากาศให้กลุ่มต่างๆ ในระดับอุดมศึกษาของไทย หันมาสนใจวิเทศคดีศึกษามากขึ้น และผลสำเร็จในอนาคตที่ไม่ไกลนักนี้จะเป็นสมบัติทางความคิดและทรัพยากรทางความรู้ที่เป็นของไทย ด้วยคนไทย และเพื่อนคนไทยอย่างแท้จริง ผลการประเมินเพื่อเลือกสรรวิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ที่ให้แก้ไขรูปแบบจากวิทยานิพนธ์เป็นหนังสือ (15 เรื่อง) 1.ชวลีย์ ณ ถลาง. การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างความสัมพันธ์ของหัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้กับรัฐบาลไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.จฬ.2521. 2.ระยับ กาญจนะวงศ์. บทบาทเจ้าเมืองพระตะบองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2547-2499 มศก. 2322. 3.สุพัฒศรี วรสายัณห์. ปัญหามณฑลบูรพา ระหว่างปี พ.ศ. 2435-2449. มศว. 2520 4.บังอร ปิยะพันธุ์. ประวัติศาสตร์ชุมชนลาวในหัวเมืองชั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. มศก.2529 5.นคร พันธุ์ณรงค์. การเจรจาและข้อตกลงระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษเกี่ยวกับหัวเมืองชายแดนลานนาไทยและพม่า สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. มศว. 2516. 6.เสาวภาคย์ เตชะสาย. นโยบายต่อกลุ่มประเทศดินโดจีนในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน. มธ. 2534. 7.อรอนงค์ น้อยวงศ์. นโยบายต่างประเทศไทยต่อปัญหากัมพูชาสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์. จฬ. 2535 8.ทวีเกียรติ เจนประจักษ์. ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับข้อพิพาทเขตแดนไทย – ลาว. มธ. 2523. 9.ชนิดา ตั้งถาวรสิริกุล. ลวดลายผ้า สื่อสัญญาลักษณ์ของลาวเวียง(จันท์)มธ. 2536. 10.สมพิศ ศิริประชัย. สังคมชาวนาเวียดนามสมัยจารีตตั้งแต่กบฏไตเซินถึงรัชกาลจักรพรรดิมินห์หม่าง ค.ศ. 1771 – 1840. มศก. 2532. 11.กรรณิการ์ จุฬามาศ สุมาลี. ชาวยะวาในกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2445 – 2492. จฬ. 2527. 12.กรรณิการ์ สาตรปรุง. โลกทัศน์ทางการเมืองของชนชั้นนำในสมัยรัชกาลที่ 1 ศึกษาจากเรื่องราชาธิราช สามก๊ก และไซฮั่น. จฬ.2535. 13.ศิริพร สมัครสโมสร. การตกเป็นอาณานิคมอังกฤษของบรูไนในคริสตศตวรรษที่19. มศก. 2529. 14.ณัชชา เลาะศิรินาถ. การสลายตัวของรัฐแบบจารีตในลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง สิบสองพันนา พ.ศ. 2369-2437. จฬ. 2526. 15.ประทุม น้อยวัน. บทบาทและอิทธิพลของลัทธิขงจื๊อที่มีต่อพัฒนาการทางเมือง และวัฒนธรรมของเวียดนามในสมัยจารีต. มศก.2529. นอกจากนี้ ยังมีวิทยานิพนธ์ที่ให้แก้ทั้งรูปแบบและเนื้อหา จำนวน 11 เรื่อง และวิทยานิพนธ์ที่ให้มี reader พิจารณาอีก 11 เรื่อง

๔ ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ອາຈານຂຽນເອງ ຫລືວ່າກັອບປີ້ມາຈາກເວັບອື່ນ? ໃຫ້ຄວາມກະຈ່າງແຈ້ງດ້ວຍ.
John

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

http://gmsrc.la.ubu.ac.th/search/new/list_all.asp?Data_Base=1&PageLen=10&S_Target=1000&S_Type=0&pageNo=63&Find_ALL=&S_Key=Lao#

ບໍ່ໄດ້ຂຽນເອງ ກ໊ອປ ຈກາທີ່ອື່ນມາເພາະບລ໊ອກນີ້ ແມ່ນໃຊ້ໄວ້ເພື່ອຮີບໂຮມເອົາບົດຂຽນທີ່ມີປະໂຫຍດ ແລະກ໋ຽວກັບລາວໄວ້ ເພື່ອງ່າຍຕໍ່ການສຶກສາ ແຕ່ບາງຄັ້ງກໍບອກທີ່ມາ ບາງຄັ້ງກໍບໍ່ໄດ້ບອກທີ່ມາ ຂອບໃຈທີ່ຖາມ

Unknown กล่าวว่า...

ได้ข้อมูลหลายจั่ซี้กะนับว่าเป็นขอประเสริฐล้วครับ
ขอยกย่อง

Unknown กล่าวว่า...

ขออนุญาตอีกครับ ขอแก้ไขอักษรครับ
จั่ แก้เป็น จั่ง ขอ แก้เป็น ของ นอกนั้น โอเคครับข้าน้อย